ภาคธุรกิจไทยร่วมฝ่าวิกฤตฝุ่นพิษเสนอมาตรการยกระดับแก้ปัญหา


เพิ่มเพื่อน    

 

 

   แม้สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กPM 2.5 ในกรุงเทพฯและปริมณฑลได้คลี่คลายลง เพราะสภาพอากาศที่เข้าสู่ฤดูร้อนทำให้มีกระแสลม พัดพาฝุ่นพิษให้เคลื่อนตัว  แต่ในพื้นที่ภาคเหนือและอีสานปริมาณฝุ่นพิษเพิ่มมากขึ้นเกินค่ามาตรฐานมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนปัญหาฝุ่นPM2.5 ไม่เพียงทำลายสุขภาพอนามัยของคนไทยแต่ยังพ่นพิษส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยติดต่อกันทุกปี 


       ปีหน้าเชื่อได้ว่า ฝุ่นพิษก็ยังคัมแบ็กห่มคลุมเมืองอีก หากไม่เร่งแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมหรือแก้ที่ต้นเหตุ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน(Thailand Business Council for Sustainable Development : TBCSD ) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย(TEI) จึงร่วมหาแนวทางการบริหารจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กแบบบูรณาการให้เกิดผลเพื่อหยุดภัยคุกคามจากมลพิษที่จะเกิดขึ้นผ่านงานเสวนา”ภาคธุรกิจไทย(TBCSD) กับการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาPM 2.5 “ ณบริษัทไออาร์พีซีจำกัด(มหาชน) อาคารENCO B กรุงเทพฯเมื่อวันก่อน 

       งานเสวนาครั้งนี้มีซีอีโอของกลุ่มบริษัทเอกชนเข้าร่วมแสดงเจตจำนงในการร่วมขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่นขนาดเล็กอาทิฉัตรชัยเลื่อนผลเจริยชัยกลุ่มบริษัทดาวประเทศไทย,พงศธรทวีสินบริษัทปตท. สำรวจและผลิตปิโตเรียมแห่งประเทศไทย,นพดลปิ่นสุภาบริษัทไออาร์พีซีจำกัด(มหาชน) , เกวลินหวังพิชญสุขบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัดตลอดจนผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อกับการสู้ฝุ่นพิษมาบอกเล่าสถานการณ์และความท้าทายในการหยุดปัญหาฝุ่นPM 2.5 

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 

     ประเสริฐ บุญสัมพันธ์  ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน(TBCSD) กล่าวว่าปัญหาฝุ่นขนาดเล็กจะอยู่กับไทยไปอีกนาน และปีหน้าปัญหาก็จะกลับมาอีกครั้ง  องค์กรนี้มี40 บริษัทชั้นนำเป็นสมาชิกในภาคอุตสาหกรรมทั้งกลุ่มธนาคารกลุ่มโรงกลั่นกลุ่มผลิตไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจค้าปลีกกลุ่มพลังงานฯลฯ  ภายในกลุ่มบริษัทที่เป็นสมาชิกมีแผนลดปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก  ซึ่งต้องติดตามประเมินผลกลุ่มนี้ มีขนาดใหญ่รวมพนักงานกว่าแสนคน  ถือเป็นเครือข่ายที่ใหญ่โต  อีกทั้งกลุ่มค้าปลีกมีลูกค้าเพื่อช่วยร่วมขับเคลื่อนและแก้ปัญหาให้ลดลง   โดยงานเสวนานี้จะมีบทสรุปและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5 นำเสนอรัฐบาลเพื่อเติมเต็มมาตรการของรัฐบาล  เราเห็นว่าการขับเคลื่อนต้องทำต่อเนื่องและมีเป้าหมายไม่ใช่ทำตอนปัญหามาหยุดตอนปัญหาไปแต่ไทยขาดทิศทางแก้ปัญหาภาคเอกชนห่วงมาตรการขอรัฐที่ออกมาโดยไม่คำนึงถึงภาคธุรกิจจะตายหรือไม่การแก้ปัญหาต้องสมดุล

    ด้าน ดร.วิจารณ์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และเลขาธิการTBCSD กล่าวว่ารวมกลุ่มบริษัทที่สนใจและดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนดูแลสังคมและใส่ใจสิ่งแวดล้อม มีพันธกิจส่งเสริมภคธุรกิจไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ปัจจุบันมี38 บริษัททำธุรกิจเกี่ยวข้องกับพลังงานและกิจกรรมต่อเนื่องก่อกำเนิดฝุ่นขนาดเล็กปัญหาสำคัญของประเทศจะบูรณาการความยั่งยืน  กับธุรกิจนอกจากฝุ่นที่ร่วมตัวแก้ไข ยังมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกตามเป้าหมาย ซึ่งภาคพลังงานมีส่วนสำคัญ รวมถึงการปรับตัวอยู่กับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อมโยงกับปัญหาฝุ่น เมื่อสภาวะอากาศแล้งจัดยิ่งเพิ่มปัญหาฝุ่นอีกประเด็นขับเคลื่อนคือการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนและการจัดการขยะและขยะพลาสติกครบวงจร 

ดร.วิจารย์ สิมะฉายา

 

    ที่ผ่านมาสมาชิกมีการประชุมเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนมาตรการรับมือฝุ่นขนาดเล็กโดยมีการดำเนินการเองโดยสมัครใจทั้งตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องยนต์ประสิทธิภาพการบรรทุกพฤติกรรมการขับขี่เลี่ยงการขับขี่เข้าพื้นที่เมืองนอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือจากสมาชิกใช้เชื้อเพลิงและรถที่ระบายฝุ่นต่ำกระจายสินค้าอย่างมีประสทธิภาพลดการจราจรในเขตเมืองลดการใช้รถใช้ถนนส่งเสริมทำงานที่บ้านอย่างปตท.สผ. ทำงานที่บ้านผ่านระบบไอที    หรือบริษัทไออาร์พีซีมุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์วัตถุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

    ดร.วิจารณ์ กล่าวต่อว่า ได้ขอความร่วมมือสมาชิกงดการเผาในที่โล่ง  มองในแง่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อข้าวและอ้อยจะไม่สนับสนุนผลผลิตอ้อยจากการเผา  และสร้างการรับรู้แก่พนักงานองค์กรและประชาชนทั่วไปโดยสร้างการรับรู้ถึงปัญหาผลลชกระทบของฝุ่นพิษแต่ละหน่วยงานภาครัฐมีแผนแต่เกิดผลในทางป้องกันหรือไม่รวมถึงเราจะประชาสัมพันธ์เชิงรุกและใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์TBCSD จะเป็นกลุ่มสร้างแรงขับเคลื่อนในประเทศ 

    “  TBCSD จะวิเคราะห์แผนงานของรัฐในการแก้ปัญหาฝุ่นขนาดเล็กและเติมเต็มช่องว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคมเราจะจัดทำข้อมูล   จากนั้นกำหนดตัวชี้วัดเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและและแถลงผลการดำเนินงานปลายปี2563 นอกจากนี้ได้เปิดการรณรงค์”ช่วยกันลดฝุ่นPM 2.5 เปลี่ยนฟ้าหลัวเป็นฟ้าใสไร้มลพิษกับฟ้าใส” ซึ่งชักชวนฟ้าใส- ปวีณสุดาครูอิ้น  มิสยูนิเวิรสไทยแลนด์  2019 มาเป็นทูตรณรงค์ผ่านวิดีโอคลิปจะเผยแพร่ทางสื่อต่างๆต่อไป“ ดร.วิจารณ์กล่าว 

    ส่วนข้อเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาPM 2.5 จากกลุ่มTBCS นั้นดร.วิจารณ์กล่าวว่าขอให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง และหลักการ 12 มาตรการ แก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5อย่างเป็นรูปธรรม ,สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในการลดการปล่อย PM 2.5 และเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าให้ครบคลุมกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยที่วิเคราะห์ต้นทุนในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยขับเคลื่อนการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กให้เป็นรูปธรรม อีกข้อเสนอสำคัญ คือการพัฒนาเครือข่ายการตรวจวัด PM2.5 ให้เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน และทำการสื่อสารข้อมูลPM2.5 ให้เป็นเอกภาพ พร้อมสร้างแนวร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ อยากให้กระทรวงเกษตรฯมองการแก้ปัญหาอย่างครบวงจรพื้นที่ใด มีการเผาทางการเกษตรต้องงดการช่วยเหลือเทคโนโลยีปัจจุบันระบุพิกัดได้ที่นาที่ไร่ของใครส่วนการเผาอ้อยป้อนผลผลิตให้เพียงพอภาคอุตสาหกรรมกระทรวงเกษตรกระทรวงอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจต้องร่วมขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา 

นพดล ปิ่นสุภา

 

    บริษัท ไออาร์พีซี  จำกัด(มหาชน) หนึ่งในสมาชิกองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไออาร์พีซี กล่าวว่า ไออาร์พีซี มุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์วัตถุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงมีแผนปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเป็นมาตรฐานยูโร5 เพื่อลดฝุ่นPM 2.5 ลดมลพิษอากาศและลงทุนสร้างท่อขนส่งน้ำมันทดแทนการขนส่งทางรถและเรือรวมถึงรณรงค์ให้พนักงานทำงานที่บ้านช่วยลดการเดินทางและก่อปัญหาฝุ่นขนาดเลทั้งยังมีความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก 

 

ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา

    ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางอากาศสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยกล่าวว่าปี2562 มีรายงานพื้นที่ห่างจากถนนสายหลักค่าฝุ่นขนาดเล็กอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นข้อมูลจากสถานีของกรมควบคุมมลพิษแต่เมื่อเข้าใกล้พื้นที่ริมถนนค่าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่29 ไมโครกรัมซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานส่วนข้อมูลปัจจุบันจากAIR 4 THAI เวลา12.00 น. (วันที่10มี.ค.) ค่าฝุ่นขนาดเล็กในกรุงเทพฯอยู่ในระดับที่ปลอดภัยจากนี้ปัญหาจะคลี่คลายแต่ปัญหาจะไปที่ภาคเหนือมาเร็วและเข้มข้นมากข้อมูลค่าเฉลี่ยย้อนหลัง24 ชั่วโมง (วันที่ 10 มี.ค.)  สูงถึง231 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร  และอยู่ในพื้นที่แนวชายแดนจ.แม่ฮ่องสอนแหล่งที่มาจากการเผาจากพม่าและลาวหลังเดือนพฤษภาคมสถานการณ์ฝุ่นก็จะกลับสู่ภาวะปกติในปี2563 จุดความร้อนสะสม9 จ.ภาคเหนือสูงกว่าปี2562 และมีบางส่วนมาจากประเทศเพื่อนบ้านปลายเดือนมกราคมต่อต้นเดือนกุมภาพันธ์2563 ลำปางตากมีจุดความร้อนสะสมสูงและขยับไปชายแดนเพราะประเทศเพื่อนบ้านเผาโดยรอบ 

    “ หากการแก้ปัญหาฝุ่นไม่เป็นรูปธรรมปัญหาจะวนกลับมาปีนี้วนกลับมาแม้ระดมวิธีการแก้ปัญหาแต่แก้ไม่ได้จริงหากดูตามแผนปฏิบัติการของรัฐบาลในระยะยาวจะสามารถผ่อรคลายปัญหาลงได้เรื่อยๆทั้งเรื่องการเกษตรคุณภาพน้ำมันจะส่งผลให้ค่าเฉลี่ยรายปีลดลงได้แต่มาตรการเหล่านี้ไม่มีผลใน1-2 ปีอย่างการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันมีรถยูโร5,6,7 กว่าจะทดแทนรถเก่าใช้เวลามากกว่า10 ปีและหากภาคเกษตรยังเผาก็ไม่มีทางเพราะรัฐไม่มีมาตรการเข้มๆช่วงวิกฤตต้นปี  “ ดร.สุพัฒน์กล่าว 

    กรณีที่มีการติดตั้งหอคอยฟอกอากาศ2 จุดในเมืองกรุงเทพฯแก้ปัญหาฝุ่นคลุมกทม. ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษกล่าวว่าเทคโนโลยีดังกล่าวพัฒนามานานและกรองฝุ่นได้แต่มีขีดความสามารถจำกัดในการฟอกอากาศกรุงเทพฯมีพื้นที่  1,600 ตารางกิโลเมตรหากจะทำให้ได้ผลเชิงภาพรวมต้องติดตั้งหอคอยจำนวนมหาศาลเพื่อลดฝุ่นขณะที่แหล่งกำเนิดยังปลดปล่อยทุกวันตนเห็นว่าไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน

เกวลิน หวัง

 

 

    ฝุ่นพิษส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่อเนื่องหากภาคธุรกิจไม่รวมพลังแก้วิกฤตจริงจัง เกวลิน  หวัง พิชญสุขผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการปรับพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่นของผู้บริโภคประชาชนงดเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวมีฝุ่นเยอะ  ปรับเปลี่ยนแผนไปเที่ยวที่อื่น  วางแผนออกนอกกรุงเทพฯนอกจากนี้ปรับการซื้อสินค้าลดความถี่ในการออกนอกบ้านเพื่อซื้อสินค้า ซื้อครั้งละมากขึ้น หรือซื้อออนไลน์ รวมถึงปรับการทานอาหารเพื่อรับมือกับฝุ่นละออง โดยเปลี่ยนมาทานร้านอาหารในห้าง สั่งเดลิเวอร์รี่ และซื้อหรือทำอาหารที่บ้าน งดไปตลาดนัดและร้านอาหารในพื้นที่กลางแจ้ง  

    “ ตัวเลขการสูญเสียค่าโอกาสด้านเศรษฐกิจจากฝุ่นPM2.5 ในกรุงเทพฯและปริมณลช่วงสองเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่    3.2-6.0 พันล้านบาท  โดยในส่วนนี้2-3 พันล้านบาทเป็นค่ารักษาพยาบาลและการป้องกันตัวเองซื้อหน้ากากอนามัยและเครื่องฟอกอากศถ้าปัญหาฝุ่นนี้เรื้อรังยังรอมาตรการของรัฐจริงจังแก้ปัญหามูลค่าการเสียโอกาสด้านเศรษฐกิจจะสะสมมากขึ้นมีแนวโน้มจะยกระดับสู่หลักหมื่นล้านบาทได้“ เกวลินกล่าว 

    ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทยฯ ระบุว่าแผนระยะสั้นเฉพาะหน้าระยะกลางถึงระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาต้องกำหนดเป้าหมายเป็นระยะและทุกแผนมีทั้งผลบวกและผลกระทบตัวอย่างแนวทางแก้ปัญหาเช่นซื้อเครื่องจักรตัดอ้อยทดแทนการเผาเพราะขาดแคลนแรงงานขณะเดียวกันก็เป็นการปรับประสิทธิภาพการผลิตด้วยเกษตรกรอาจขาดแคลนแรงงานจึงเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยวเพราะตัดได้ง่ายและปริมาณมากกว่าตัดอ้อยสดส่งผลเกิดฝุ่นพิษPM 2.5 ถ้ามีเครื่องจักรตัดอ้อยเบื้องต้นอาจใช้เงินลงทุนประมาณ15,000-20,000 ล้านบาทเพื่อซื้อเครื่องจักรที่ยังขาดอยู่3,500 -4,000 เครื่องเมื่อเทียบกับผลผลิตอ้อยต่อปีขณะที่ราคาเครื่องจักรอยู่ที่10 ล้านบาทต่อเครื่องแนวทางอาจรวมกลุ่มหรือรวมครัวเรือนโดยโรงงานน้ำตาลลงทุนช่วยเกษตรกรสนับสนุนเงินตั้งต้นกำหนดกี่ครัวเรือนต่อเครื่องจักรหนึ่งเครื่องหรือทยอยทำเป็นเฟสก็ได้นอกจากช่วยลดฝุ่นPM 2.5 ช่วยยกระดับการผลิตภาคเกษตรให้มีคุณภาพแทนที่การเผา 

    อีกแนวทางเยียวยา  เธอกล่าวว่าเปลี่ยนรถเก่าเช่นอายุ16-20 ปีขึ้นไปเป็นรถใหม่ที่มาตรฐานควบคุมมลพิษที่ดีกว่าเดิมซึ่งการเปลี่ยนรถใหม่เป็นภาระของประชาชนภาครัฐต้องเสนอเงื่อนไขที่จูงใจหรือให้เงินอุดหนุนช่วยเหลือควบคู่กับเงื่อนไขด้านภาษีและอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรนหากไปถึงรถอีวีได้ยิ่งดีสอดคล้องกับแผนส่งเสริมของรัฐบาล   

    “ ค่าเสียโอกาสที่ประเมินเป็นการประเมินระยะสั้นแต่เชิงผลกระทบระยะยาวเป็นเรื่องสุขภาพร่างกายซึ่งประเมินค่าไม่ได้ฝุ่นสะสมในร่างกายก่อให้เกิดโรคต่างๆยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยง  หากประเมินด้านทรัพยากรเป็นความสูญเสียด้านแรงงานและเสียโอกาสการเป็นฮับด้านการท่องเที่ยวฮับด้านการแพทย์เป็นความสูญเสียที่ประเมินได้ลำบาก“ เกวลินย้ำผลกระทบในทุกมิติ 

เถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ

 

 

     เถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่าปี62 คณะรัฐมนตรีประกาศให้ปัญหาฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติเกิดแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองคลอด3 มาตรการมีแนวทางแก้ปัญหาจราจรน่าจะประสบผลสำเร็จมากขึ้นคาดว่า ค่าเฉลี่ยฝุ่นขนาดเล็กเฉลี่ยรายปี63 ในกรุงเทพฯและปริมณฑลจะน้อยกว่าปี2562 เพราะหลายหน่วยงานให้ความร่วมมือส่วนภาคเหนือเอาไม่อยู่เพราะที่เชียงรายและแม่ฮ่องสอนผลกระทบจากเพื่อนบ้านสำหรับจุดสะสมความร้อนก่อนช่วงรัฐบาลประกาศห้ามเผามาจากชาวบ้านชิงเผาก่อนเกิดปัญหาหมอกควัน  อย่างไรก็ตามสนับสนุนให้ท้องถิ่นติดเครื่องตรวจวัดอากาศก่อนรายงานสู่ส่วนกลาง 

    สำหรับมาตรฐานเชิงรุก รองอธิบดี คพ. กล่าวว่า มีโครงการจะปรับลดค่าเฉลี่ยค่าฝุ่น PM2.5 รายวันเป็น35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรรวมถึงลดค่าฝุ่นรายปีแต่จะปรับค่าลงได้ต้องให้ทุกภาคส่วนร่วมมืองดกิจกรรมจากแหล่งกำเนิดในช่วงมลพิษสูงต้องมีมาตรการผลักดันลดจากแหล่งกำเนิดขณะนี้มีแล้วสถานการณ์จะดีขึ้นเรื่อยๆหากค่าเฉลี่ยรายปีลดลงเรื่อยต่อไปไทยจะปรับลดค่าเฉลี่ยเท่ามาตรฐานระดับโลกได้ 

    การแก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนเถลิงศักกดิ์กล่าวว่ามีการดำเนินการผ่านกลไกคณะกรรมการชายแดนแจ้งเตือนประเทศเพื่อนบ้านเมื่อไทยได้รับผลกระทบเช่นพม่าส่วนในระดับจังหวัดผู้ว่าราชการจังหวัดมีการประสานกับผู้นำของรัฐนั้นเพื่อส่งอุปกรณ์เข้าไปช่วยเหลือแก้ปัญหาหมอกควันจากข้อตกลงอาเซียนแต่ละประเทศต้องดูแลและจัดการปัญหารวมถึงรายงานเหตุที่ยังเกิดปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนอย่างไรก็ตามไทยจะสนับสนุนการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศและวิเคราะห์ข้อมูลเมื่อเขาแก้ปัญหาในพื้นที่ไทยก็ได้ประโยชน์ด้วยรวมถึงจัดอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ให้เจ้าหน้าที่และจัดกิจกรรมสร้างความร่วมมือและจิตสำนึกบริเวณชายแดนเพื่อนบ้านยกให้ไทยเป็นผู้นำในการแก้หมอกควัน 

    ดร.ชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร  กล่าวว่า แหล่งกำเนิดฝุ่นขนาดเล็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมาจากการขนส่งร้อยละ 72 ซึ่งเมืองใหญ่ในต่างประเทศก็เผชิญปัญหาฝุ่นและใช้มาตรการยาแรงแก้ไขไทยจะเอาแบบนี้มั้ยสเปนเกาหลีใต้จำกัดการใช้รถยนต์จำกัดที่จอดรถภายในเมืองสวีเดนอังกฤษฟินแลนด์เก็บค่าธรรมเนียมเข้าเมืองยกเลิกใช้รถยนต์ดีเซลมีที่สวีเดนอังกฤษฟินแลนด์บราซิลสิงค์โปรรถใหม่ที่ขายมาตรฐานยูโรกลับมาที่ไทยมีการประชุมแผนปฏิบัติงานชัดเจนในส่วนภาคคมนาคม 

    สำหรับมาตรการระยะสั้น 63-64 มีเรื่องบำรุงรักษาเครื่องยนต์รถโดยสารสาธารณะ ขสมก.บขส.รวมถึงเรือโดยสารรถไฟไทย รฟม. อีกมาตรการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันรถโดยสารใช้ไบโอดีเซลบี20 แก้ปัญหารถติดและลดฝุ่นจากการก่อสร้างระยะกลางปี65-69 เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นพลังงงานสะอาดเครื่องEV จะต้องทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงานกระทรวงอุตสาหกรรมระยะยาวปี70-75 จำกัดการใช้รถยนต์  ,เปลี่ยนท่าเรือกรุงเทพจากบริการสินค้าเป็นท่าเรือท่องเที่ยวและเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นพลังงานสะอาดทั้งหมดเราวางมาตรการไว้หมดแล้วเพราะภาคคมนาคมตกเป็นจำเลยของสังคม

    การป้องกันและแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร วิชัย  ไตรสุรัตน์ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่าพื้นที่320 ล้านไร่มี149 ล้านไร่เป็นพื้นที่การเกษตรในจำนวนนี้เป็นพื้นที่อ้อยโรงงาน19 จังหวดรวมพื้นที่81,783 ไร่จากการมอนิเตอร์ปี2562 เป้าหมาย26 จังหวัดส่วนปี2563 เป้าหมายเพิ่มเป็น46 จังหวัดโดยขยายมาที่ภาคอีสานและภาคตะวันตกด้วย  สำหรับสถานการณ์และพื้นที่เสี่ยงเปราะบางมากมีปลูกพืช3 ชนิดที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว3.18 ล้านไร่เป็นข้าวอ้อยและข้าวโพดโดยสร้างความตระหนักลดปริมาณเชื้อเพลิงบังคับใช้กฎหมาย  จัดตั้งชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังอ้อยมีประเด็นมากแม้มีเป้าหมายปี65 จะไม่รับซื้ออ้อยจากการเผาเลยแต่ก็ยากเพราะไทยผลิตน้ำตาลส่งออกเป็นหลักโรงงานน้ำตาลต้องการปริมาณเยอะเกษตรกรลดต้นทุนโดยการเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว วิธีแก้ คือซื้อเครื่องจักรตัดอ้อยแต่เครื่องจักรไม่เพียงพอ  หลายหน่วยงานต้องช่วยกัน ปีนี้เน้นเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีการเผาสูงในภาคเหรือกลางอีสานเตรียมปฏิบัติการฝนหลวง นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ เสนอครม. ปลูกพืช 6 ชนิดที่มีความสามารถในการลดฝุ่นมีผลวิจัยยืนยันลดฝุ่น30-60%  เช่นกระดุมทองคล้านกยูงเศรษฐีเรือนในฯลฯโดยแจกจ่ายหนึ่งล้านต้นให้ประชาชนปลูก

    “ ในการสร้างเกษตรปลอดการเผาเน้นพื้นที่ปลูกอ้อยเช่นเชียงใหม่น่านมีพื้นที่ต้นแบบส่งเสริมอ้อยเป็นอาหารสัตว์และประสานกับธกส. กู้เงินเพื่อซื้อเครื่องจักรสิ่งสำคัญปัจจุบันมีศูนย์เรียนรู้สร้างประสิทธิภาพการตลาด800 กว่าศูนย์ทั่วประเทศ“ วิชัย กล่าว

       นายแพทย์ดนัย ชีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย  กล่าวว่า สภาพแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ของไวรัสฉะนั้น ต้องมองเป็นองค์รวม สำหรับผลกระทบฝุ่นขนาดเล็กระยะสั้นจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเด็ก  ผู้สูงอายุและผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ<span style=".SFUIText";font-
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"