มติ ครม.กับการรับมือวิกฤติโควิด-19 เราอยู่บนทางสองแพร่ง


เพิ่มเพื่อน    

              การประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 24 มีนาคม ที่มีข่าวจะใช้รูปแบบการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ อยู่ในความสนใจของประชาชนหลายภาคส่วน ว่าสุดท้ายที่ประชุม ครม.จะมีมติ ครม.หรือแนวทางการรับมือกับวิกฤติโควิด-19 ที่สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วงอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางด้านสาธารณสุข-มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและรายได้ จากวิกฤติโควิด-19 โดยเฉพาะประชาชนผู้มีรายได้น้อย หาเช้ากินค่ำ ผู้ใช้แรงงาน ที่ประสบปัญหา ว่างงานฉับพลัน-ขาดรายได้ จากหลายมาตรการที่ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ นำมาใช้ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่สั่งปิดกิจการ-สถานที่หลายแห่ง ที่ทำให้มีคนว่างงาน ต้องหยุดการทำงาน หยุดการทำมาหากินจำนวนมาก โดยหากสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ไม่ดีขึ้น แล้วต้องมีการใช้มาตรการดังกล่าวอยู่และอาจแรงมากขึ้น แน่นอนว่า แม้ชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่การป้องกันและแก้ปัญหาก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบในด้านต่างๆ ด้วยเช่นกัน

                ต้องรอดูว่า ผลการประชุม ครม.24 มีนาคมนี้ รัฐบาลจะมีการใช้มาตรการใดๆ ออกมาอีก ซึ่งถึงตอนนี้ประชาชนจำนวนมากเริ่มทำใจและยอมรับสภาพกันแล้ว แต่ทุกคนก็มุ่งหวังในแบบเดียวกันว่า เจ็บได้ แต่ขอให้รอด และจบเร็ว โดยหลายคนก็หวังว่า อย่างน้อยภาครัฐจะต้องดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง ทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ และต้องทำโดยเร็ว ก่อนที่จะมีผลกระทบในวงกว้างมากกว่านี้

หลังก่อนหน้านี้ หน่วยงานรัฐมีการออกมาตรการเร่งด่วนมาบ้างแล้ว เช่น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคลอด 3 มาตรการดูแลตลาดเงิน-ตลาดทุน โดยจะตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่อง 1 ล้านล้านบาท หลายภาคส่วน ก็อยากเห็นมีการช่วยเหลือเยียวยากับประชาชนในระดับกว้าง กลุ่มผู้ใช้แรงงาน-ผู้มีรายได้น้อย-ธุรกิจขนาดเล็ก-คนหาเช้ากินค่ำ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 อย่างรวดเร็ว เหมือนกับที่ ธปท.เร่งออกมาตรการข้างต้นเพื่อพยุงตลาดเงิน ตลาดทุน ที่แน่นอนว่าแม้จะเป็นการดูแลภาพรวมการเงิน-ตลาดทุนทั้งระบบของประเทศ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังไงต้องมีเสียงวิจารณ์ที่มองว่าเป็นการช่วย ”คนรวย” ที่ทำอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ประชาชน คนธรรมดา ก็ต้องได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วเช่นกัน

                ทั้งนี้          ก่อนหน้าจะถึงการประชุม ครม.วันอังคาร ก็ปรากฏว่าเมื่อวันจันทร์ 23 มี.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทำเนียบรัฐบาล   โดยใช้เวลาประชุมยาวนานเกือบ 4 ชั่วโมง

มีข่าวบางกระแสว่า ในวงประชุม พล.อ.ประยุทธ์ได้ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีการเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มที่ติดเชื้อจากสนามมวย ซึ่งแม้จะครบกำหนดการกักตัว 14 วันแล้ว ก็ยังต้องติดตามคนกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการหารือกันในเรื่องของการยกระดับความเข้มข้นในการควบคุมการแพร่เชื้อ อย่างที่มีบางฝ่ายเสนอให้ใช้ยาแรงมากขึ้น เช่น การพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่จะมีการให้ทหารเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมวิกฤติโควิด-19 ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวก็ต้องยอมรับว่า หากรัฐบาลถึงขั้นใช้วิธีการนี้ จะมีผลทางการเมืองตามมาอย่างมากแน่นอน เพราะจะถูกมองว่ารัฐบาลกลางเอาไม่อยู่ ถึงขั้นต้องให้ทหารออกมาช่วย โดยมีรายงานข่าวว่า พลเอกประยุทธ์ นายกฯ และ รมว.กลาโหม แจ้งต่อที่ประชุมว่า กล้าตัดสินใจใช้มาตรการที่เข้มข้นเพื่อควบคุมวิกฤติครั้งนี้ แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา

                มีความเห็น-ทัศนะที่น่าสนใจ ผ่านการแถลงอย่างเป็นทางการจาก นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ร่วมแถลงข่าวประจำวันของกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า มีคนตั้งคำถามว่า เมื่อตัวเลขก้าวกระโดดขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป เราไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่มีโควิด ขอให้ศึกษาจากประเทศที่เข้าสู่ 100 ราย จากนั้นตัวเลขจะวิ่งค่อนข้างรวดเร็ว วันนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนทั้งประเทศต้องช่วยกันตัดสินใจ ประเทศที่ถึง 100 รายก่อนเราแล้วเดินหน้าไปคือ อิตาลี อิหร่าน ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึงหลักหมื่น มากจนระบบสาธารณสุขรองรับไม่ทัน ตัวเลขผู้เสียชีวิตจึงเป็นสิ่งที่น่าตกใจ ตรงกันข้าม ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ในช่วงแรกตัวเลขขึ้นไปมาก แต่เขาสามารถควบคุมได้อย่างรวดเร็ว

                "วันนี้ผู้ติดเชื้อของเราอยู่ที่ 721 ราย เรายังอยู่ในช่วงเวลาทอง ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติตัวให้มีวินัยอย่างเคร่งครัด อยู่บ้านหยุดเชื้อ เราจะเดินไปเหมือนยุโรป อีกไม่กี่วันเราจะทะลุพัน และหลายๆ พัน ซึ่งเมื่อไปถึงจุดนั้นไม่แน่ใจว่าระบบสาธารณสุขจะรองรับได้แค่ไหน ท่านจะเลือกช่วยกันให้ผู้ติดเชื้อค่อยๆ เพิ่มแล้วลดน้อยลง หรือจะทำให้พุ่งโด่งไปเหมือนยุโรปและสหรัฐอเมริกา เรายังไม่อยากไปถึงขั้นบังคับล็อกดาวน์ให้อยู่แต่ในบ้าน ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของทุกคนว่า อยากให้ไทยเป็นเหมือนยุโรปหรือไม่ เราอยู่บนทางสองแพร่ง จะไปซ้ายหรือขวา ประชาชนเป็นผู้เลือก"

                เป็นทางสองแพร่ง ที่สุดท้ายไม่ว่าจะอยู่บนเส้นทางไหน แต่ระหว่างทาง ต้องมีผู้เจ็บปวด ผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งชีวิต-สุขภาพ-การดำเนินชีวิต-ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่คนไทยทุกคนได้แต่หวังว่า สงครามสู้ศึกโรคร้ายโควิด-19 รอบนี้ จะยุติโดยเร็วเสียที.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"