พอช.ร่วมกับภาคีเครือข่าย ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ หนุนช่วยรัฐสู้ภัย COVID-19’ ขณะที่เครือข่ายกองทุนสวัสดิการฯ ร่วมกับ รพ.สต.-อสม. เฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยง


เพิ่มเพื่อน    

 

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ / พอช.ร่วมกับภาคีเครือข่าย ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้  หนุนช่วยรัฐสู้ภัย COVID-19’       โดยใช้เครือข่ายและขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศร่วมขับเคลื่อนผ่านแผนพัฒนาตำบล  เศรษฐกิจชุมชน  บ้านพอเพียงชนบท ฯลฯ  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ  ขณะที่เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ร่วมใจต้านภัย COVID-19  โดยช่วยกันผลิตหน้ากากอนามัย  ให้ความรู้ด้านสุขภาพ  และเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยง      

 

จากสถานการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 เริ่มแพร่กระจายไปทั่วประเทศไทย  ทำให้หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อไวรัสเกิดความขาดแคลน  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช.จึงร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชนและภาคีเครือข่ายต่างๆ  ทั่วประเทศ  ผลิตหน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน  ขณะที่กรุงเทพมหานคร  และจังหวัดปริมณฑล  เริ่มมีมาตรการปิดห้างร้าน  ทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวเดินทางกลับภูมิลำเนา  กระทรวง มหาดไทยจึงมีคำสั่งให้จังหวัดต่างๆ  เฝ้าระวังการแพร่เชื้อ  รวมทั้งหน่วยงานด้านสุขภาพต่างๆ  ได้ร่วมมือกันต่อสู้กับวิกฤตครั้งนี้

             

ล่าสุดวันนี้ (24 มีนาคม) มีการประชุมหารือ มาตรการหนุนช่วยรัฐสู้ภัย COVID-19’ ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จังหวัดนนทบุรี  โดยมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม  เช่น  กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เครือข่ายหมออนามัย 7 องค์กร   สช.  ฯลฯ  โดยมี นพ.สำเริง แหยงกระโทก  ผู้ช่วย รมว.สธ. เป็นประธาน  เพื่อกำหนดมาตรการร่วมกันของหน่วยงานด้านสุขภาพและด้านสังคมในส่วนกลาง  และเครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่   เพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตัวเอง  ครอบครัว และหนุนช่วยมาตรการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อต่อสู้กับไวรัส COVID-19

 

 การประชุม มาตรการหนุนช่วยรัฐสู้ภัย COVID-19’

             

นพ.สำเริง แหยงกระโทก  ผู้ช่วย รมว.สธ. กล่าวว่า  สถานการณ์วิกฤตของประเทศจากภัยดังกล่าว  หน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ  เช่น  สช.  สปสช. สสส. สวรส. สรพ. สพฉ.  และด้านสังคม  เช่น  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ThaiPBS  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ต่างเห็นพ้องกันว่าทุกหน่วยงานจะต้องรวมพลังเป็นเอกภาพร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ สถาบันวิชาการ  ธุรกิจเอกชน  และภาคประชาสังคมในพื้นที่  จับมือรวมพลังแสดงบทบาทร่วมรับผิดชอบและหนุนช่วยมาตรการต่างๆ ของรัฐอย่างเป็นระบบและเป็นเอกภาพ   เพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสนี้  

 

“โดยทุกหน่วยงานจะต้องบูรณาการภารกิจ  เครื่องมือ  ทรัพยากรและงบประมาณของแต่ละองค์กรเข้าด้วยกันเพื่อไปสนับสนุนบทบาทของภาคีเครือข่ายในพื้นที่   และหนุนช่วยหน่วยงานภาครัฐและองค์กรชุมชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน  เพื่อ  ร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน  เปลี่ยนจากประชาชนที่ตื่นกลัว  เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ในการดูแลตนเอง  ครอบครัว  สังคม  และมีส่วนร่วมกำหนดมาตรการต่างๆ ของชุมชนพื้นที่ในการสู้ภัย COVID-19  เพราะการรับรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญสุดที่จะช่วยประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้”  นพ.สำเริงกล่าว และว่า  การขับเคลื่อนร่วมกันในครั้งนี้เป็นไปภายในหลักการ  ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้  หนุนช่วยรัฐสู้ภัย COVID-19’

 

นพ.ประทีป  ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)  กล่าวถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์  ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้  หนุนช่วยรัฐสู้ภัย COVID-19’ ว่า  จะมีแนวทางและมาตรการต่างๆ ดังนี้  คือ  1. เครือข่ายหน่วยงานส่วนกลาง  ร่วมกันกำหนดแผนงาน  และแนวทางดำเนินการร่วมกัน  เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายและหน่วยงานในพื้นที่   และจัดตั้งศูนย์ประสานงานสนับสนุนการสู้ภัย COVID-19  โดยมีสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)  และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นหน่วยงานประสานงานกลาง
 

2. กระทรวงสาธารณสุข  และกรมการปกครอง   จะสนับสนุนให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของทุกอำเภอภายใต้งบประมาณสนับสนุนเดิมของ สสส. ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่  เพื่อกำหนดเรื่องการสู้ภัย COVID-19  เป็นประเด็นสำคัญของอำเภอ  และให้มีการสร้างทีมวิทยากรพี่เลี้ยงอำเภอที่ประกอบด้วยสาธารณสุขอำเภอ และแกนนำภาคประชาสังคมในพื้นที่  ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการในตำบลและชุมชนหมู่บ้าน  โดยมีเครือข่ายหมออนามัย 7 องค์กรเป็นแกนประสานงาน

 

 กองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนตำบลเมืองแก  อ.ท่าตูม  จ.สุรินทร์  นำหน้ากากอนามัยแจกประชาชน

 

3. ทีมวิทยากรพี่เลี้ยงอำเภอ  ภายใต้การสนับสนุนวิชาการและงบประมาณเพิ่มเติมจาก สสส. สปสช. และ สช. ดำเนินการและสนับสนุนให้ รพ.สอ. ร่วมกับ อบต./เทศบาล  สภาองค์กรชุมชน  ภาคประชาสังคม  อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และอาสาสมัครอื่นๆ  ร่วมกันจัดเวทีขับเคลื่อนให้เกิดข้อตกลงร่วมของประชาชนหรือธรรมนูญประชาชนสู้ภัย COVID-19   ของแต่ละตำบลและชุมชนหมู่บ้าน  โดยการสนับสนุนงบประมาณจากหมวดบริหารของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต./เทศบาล

 

4. ข้อตกลงร่วมของประชาชนหรือธรรมนูญประชาชนสู้ภัย COVID-19   ที่เกิดจากฉันทมติของหน่วยงานและประชาชนของแต่ละตำบลและชุมชนหมู่บ้าน  จะประกอบด้วยมาตรการทั่วไปที่ทุกพื้นที่ควรมี และมาตรการเสริมเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่  โดยแต่ละมาตรการจะกำหนดบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงาน  กลุ่มประชาชน  ครอบครัว และประชาชนเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนเป็นสัญญาประชาคมที่ง่ายในการปฏิบัติ

 

5. หน่วยงานต่างๆ แกนนำองค์กรชุมชน  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  และกลุ่มประชาชนในพื้นที่  ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมตามมาตรการต่างๆ ที่เป็นสัญญาประชาคมเพื่อสู้ภัย COVID-19 ในพื้นที่ของตน  โดยการสนับสนุนงบประมาณจากหมวดป้องกันโรคระบาดหรือภัยพิบัติของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต./เทศบาล  หรือกองทุนอื่นๆ ในพื้นที่

 

6. สนับสนุนให้ทุกตำบลและชุมชนหมู่บ้าน   มีการสรุปบทเรียนของประชาชนอย่างต่อเนื่อง  และพัฒนายกระดับเป็นข้อตกลงร่วมของประชาชนหรือธรรมนูญตำบล และชุมชนหมู่บ้านสู้ภัยพิบัติ  และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น

 

ทั้งนี้การขับเคลื่อนให้เกิดข้อตกลงร่วมของประชาชนหรือธรรมนูญประชาชนสู้ภัย COVID-19   ทุกตำบล  ชุมชนหมู่บ้าน   จะเริ่มภายในเดือนเมษายนนี้   และในกรุงเทพมหานครอาจดำเนินการนำร่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่  เพื่อเป็นตัวอย่างในบางชุมชน  พื้นที่  หรือบางเขต

 

นายปฏิภาณ  จุมผา  รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  กล่าวว่า  จากสถานการณ์การแพร่กระจายของไวรัส COVID-19  พอช.ซึ่งทำงานในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ  มีเครือข่ายต่างๆ  เช่น  กองทุนสวัสดิการชุมชนที่จัดตั้งทั่วประเทศแล้ว  จำนวน  5,997 กองทุน  มีเงินกองทุนรวมกันประมาณ  15,000 ล้านบาท  เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศ  จำนวน  7,789  แห่ง   และเครือข่ายบ้านมั่นคง  1,133  โครงการ/พื้นที่  ฯลฯ  จึงได้มีการประชุมผู้แทนเครือข่ายเหล่านี้ในการรับมือกับภัย COVID  ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

 

นายปฏิภาณ  จุมผา  รอง ผอ.พอช.

 

“เบื้องต้นเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศได้ร่วมกับภาคีต่างๆ ในจังหวัด  เช่น  พมจ.  รพ.สต. อสม.  อบต.  ร่วมกันผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อไวรัส  เพราะกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ มีกองทุนอยู่แล้ว  ไม่ต้องรองบประมาณจากที่ไหน  ซึ่งขณะนี้ผลิตหน้ากากอนามัยในพื้นที่ 43 จังหวัด  รวม 165  กองทุน  ผลิตได้แล้ว  446,835 ชิ้น  จากเป้าหมายทั้งหมดกว่า 1 ล้านชิ้น  โดยเราจะใช้การผลิตหน้ากากอนามัยนี้เป็นเครื่องมือในการรวมพลังชุมชนเพื่อขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรอื่นๆ ในการต่อสู้กับภัย COVID ต่อไป”  นายปฏิภาณกล่าว

 

รองผู้อำนวยการ พอช. กล่าวด้วยว่า  นอกจากการร่วมกันจัดทำหน้ากากอนามัยดังกล่าวแล้ว  พอช.ยังมีแผนงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับตำบลและท้องถิ่น  รวมทั้งแผนงานการสร้างรายได้ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตในครั้งนี้  โดยจะขับเคลื่อนผ่านแผนกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดเอาไว้ในปี 2563 นี้  เช่น  แผนพัฒนาตำบลในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ  รวม 1,300 ตำบล/สภาองค์กรชุมชน  พื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน  500 ตำบล  พื้นที่รูปธรรม 700 ตำบล  บ้านพอเพียงชนบท  1,175 ตำบล  โดยเฉพาะโครงการบ้านพอเพียงฯ ซึ่งเป็นการซ่อมสร้างบ้านเรือนให้แก่ครัวเรือนที่ยากจนนั้น  สามารถใช้เป็นโครงการจ้างงานให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้ด้วย

 

อย่างไรก็ตาม  นอกจากการประชุมร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางแล้ว  ในระดับภูมิภาค  โดยเฉพาะกองทุนสวัสดิการตำบลในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น  เช่น  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ร่วมกันวางมาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสหลังจากที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑลมีคำสั่งปิดห้างต่างๆ ทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบเดินทางกลับภูมิลำเนา

 

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านส้อง นำ อสม.และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรวจวัดไข้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง

 

นายสุวัฒน์  ดาวเรือง  ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านส้อง  อ.เวียงสระ  จ.สุราษฏร์ธานี  กล่าวว่า  ขณะนี้กรรรมการกองทุนสวัสดิการฯ ร่วมกับกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  และ อสม. ติดตามประชาชนที่เดินทางกลับเข้ามาในตำบล  โดยจะเข้าไปพูดคุย  จดบันทึก  เพื่อส่งรายงานให้กับ รพ.สต.  หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.จะเข้ามาตรวจวัดไข้ประชาชนที่กลับจากพื้นที่เสี่ยง  และให้คำแนะนำการใช้ชีวิต  การดูแลตัวเอง  ฯลฯ  หากพบผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อจะส่งรายงานให้ทางอำเภอดำเนินการต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม  ขณะนี้ในเขตเทศบาลตำบลบ้านส้องยังไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัส  แต่ทุกหน่วยงานได้ร่วมกันป้องกันโดยการให้ความรู้ด้านสุขภาพ  และร่วมกันผลิตหน้ากากอนามัย  มีเป้าหมายทั้งอำเภอประมาณ  80,000 ชิ้น  (แจกจ่ายประชาชนคนละ 2 ชิ้น) ขณะนี้ผลิตได้แล้วประมาณ 50,000 ชิ้น

 

เช่นเดียวกับที่ กองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนตำบลเมืองแก  อ.ท่าตูม  จ.สุรินทร์  คณะกรรมการกองทุนฯ  ร่วมกับ อสม.เข้าไปตรวจเยี่ยมผู้ที่เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ประมาณ 20 คน  โดยการวัดไข้  แต่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ  นอกจากนี้ยังได้มอบหน้ากากอนามัยที่กองทุนฯ ร่วมกับ อสม.ผลิตจำนวน 1,500   ชิ้นให้แก่ประชาชนในตำบลด้วย

 

ที่ตำบลท่าผา  อ.แม่แจ่ม  จ.เชียงใหม่   กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลท่าผา  ได้มอบเงินกองทุนฯ  จำนวน 20,000 บาท  ให้กับ อสม.ตำบลท่าผาทั้ง10หมู่บ้าน  เพื่อไปจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันไวรัส COVID-19  ฯลฯ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"