เตือนทำอวัยวะเพศชายขาวมีอันตราย


เพิ่มเพื่อน    

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเตือนเลเซอร์อวัยวะเพศชายให้ขาวอันตราย ได้ไม่คุ้มเสีย เจ็บทั้งตัว เสียทั้งเงิน พร้อมประสานพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาการโฆษณา ชี้แม้ไม่ได้โฆษณาเอง แต่ปล่อยให้ผู้อื่นโฆษณาก็ผิดเช่นกัน
    จากกรณีหญิงสาวรายหนึ่งโพสต์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กถึงการใช้เทคนิคเลเซอร์ลดการสร้างเม็ดสีผิวบริเวณอวัยวะเพศชายให้ขาวขึ้น หรือเลเซอร์ปิกาจู ของโรงพยาบาลศัลยกรรมชื่อดังแห่งหนึ่งใน จ.นนทบุรีนั้น
    เมื่อวันที่ 4 มกราคม นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า การใช้เลเซอร์เพื่อทำให้ผิวขาวขึ้นนั้น หากนำมาใช้กับอวัยวะเพศชายอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการ ทั้งเกิดอาการเจ็บปวดขณะทำ การระคายเคืองได้ง่ายกว่าก่อนทำ ผิวหนังอักเสบ เกิดรอยแผลเป็น และอาจส่งผลกระทบถึงระบบสืบพันธุ์ และการมีเพศสัมพันธ์ได้ ทั้งนี้ การทำเลเซอร์ไม่ได้ผลถาวร เมื่อหยุดทำผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศชายก็จะกลับมาดำหรืออาจจะเป็นจุดด่างดำดูน่าเกลียด และบริเวณนั้นเป็นส่วนที่บอบบางอยู่แล้ว การทำเลเซอร์ให้ขาวจึงทำให้ผิวอักเสบได้ง่าย มีการแพ้ได้ง่าย เกิดเป็นขุย แห้ง เป็นอันตรายมากกว่า จึงมองว่าการทำเลเซอร์ให้อวัยวะเพศขาวขึ้นนั้นอาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีอีก
    นพ.ธงชัยกล่าวต่อว่า สำหรับในส่วนของการโฆษณาที่มีการใช้ภาพคนไข้ที่อยู่ในอิริยาบถที่ดูแล้วไม่เหมาะสม ส่อไปทางลามกอนาจาร รวมทั้งเป็นการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ กรม สบส.ได้ประสานพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อตรวจสอบเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งแม้สถานพยาบาลดังกล่าวจะไม่ได้เป็นผู้โฆษณาด้วยตนเอง แต่ตามกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ได้กำหนดให้สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่งห้ามปล่อยปละละเลยให้บุคคลอื่นโฆษณาสถานพยาบาลแทนโดยการใช้ข้อความ ภาพ เสียง อาทิ การถ่ายคลิป/ไลฟ์สดผ่านสื่อโซเชียล ไม่ว่าสถานพยาบาลจะมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือไม่ แต่หากมิได้มีการทักท้วงหรือปฏิเสธ ก็จะถือว่าเข้าข่ายรู้เห็น ยินยอมให้มีการโฆษณาสถานพยาบาลแทน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา และหากพบว่าผู้ประกอบวิชาชีพอาจมีการกระทำผิดมาตรฐานจะส่งเรื่องให้สภาวิชาชีพดำเนินการด้านจริยธรรมด้วย
    อย่างไรก็ตาม ในส่วนคนที่กดไลค์ แชร์ และคอมเมนต์ ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาลฯ ไม่ได้ครอบคลุมในการเอาผิดเรื่องนี้ แต่เมื่อเป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมายอาจจะมีความผิดในส่วนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 แทน จึงอยากจะให้ประชาชนระมัดระวังในเรื่องนี้ เพราะอาจทำผิดโดยไม่รู้ตัวได้ ซึ่งการแจ้งข้อมูลเข้ามาก็จะเป็นการช่วยแจ้งเตือนไปยังประชาชนคนอื่นด้วยว่าการโฆษณาแบบนี้ผิดกฎหมายหรือไม่ ประชาชนจะได้รู้เท่าทันการโฆษณาและผลเสียจากการทำศัลยกรรมต่างๆ ด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"