"ห้องแยกโรคความดันลบ"คืออะไร? ทีมวิศวะฯ สจล.แจกแจงให้ฟัง


เพิ่มเพื่อน    


8เม.ย.63-ห้องความดันลบ (Negative pressure room) เป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด -19  ซึ่งเป็นเชื้อโรคอุบัติใหม่ที่สามารถแพร่กระจายได้ในอากาศได้ดี   และเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยได้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงสภาวการณ์เช่นนี้    เพื่อตอบรับกับสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้่าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ได้ประดิษฐ์ นวัตกรรมห้องความดันลบ เพื่อผู้ป่วยโควิด ขึ้นมา 


รศ. ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวถึง ห้องความดันลบ  ที่ควบคุมปริมาณการกระจายของโรค   เพราะมีคุณสมบัติ ปรับความดันอากาศภายในห้องต่ำให้เป็น Negative หรือมีแรงดันต่ำกว่าอากาศภายนอกห้อง เพื่อไม่ให้อากาศภายในห้องที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนไหลออกสู่ภายนอกห้อง ห้องดังกล่าวจึงมีความพิเศษ ในแง่ที่


1.มีระบบควบคุมความดันห้องเป็นลบ การปรับความดันภายในห้องให้เป็น Negative หรือมีแรงดันต่ำกว่าภายนอกห้อง เพื่อไม่ให้อากาศภายในห้องที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนไหลออกมาสู่ภายนอก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ชื้อโรคอยู่ภายในห้องไม่ให้แพร่กระจายออกไปสู่ภายนอก


2.มีเครื่องดูดอากาศเสียให้เป็นอากาศดี คือ ระบบมอเตอร์จะดูดอากาศที่อาจเชื้อโรคเจือปนผ่านเครื่องกรองอากาศฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูงในการกรองอนุภาคขนาดเล็ก เพื่อกรองเชื้อไวรัสและปล่อยออกมาเป็นอากาศดีสู่ภายนอกอาคาร


3. เป็นห้องกักเชื้อชั้นยอด จากประสิทธิภาพการควบคุมการไหลเวียนของอากาศ จึงสามารถจำกัดบริเวณการเคลื่อนของเชื้อโรคให้อยู่ในบริเวณที่ควบคุมเท่านั้น จึงทำให้จุดต่างๆ ของโรงพยาบาลมีความปลอดภัย เพราะสามารถ “กักกันเชื้อโรค” ในบริเวณจำกัด

    "ห้องความดันลบ ที่สจล.ผลิตจะช่วยลดต้นทุนในการผลิต ประกอบกับดีมานด์หรือความต้องการใช้งานที่สูงขึ้น แต่ปริมาณห้องมีไม่เพียงพอต่อกับความต้องการ  การมีห้องความดันลบมากๆ ยังช่วยรองรับกับมาตรการการป้องกันและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19      จากทำการวิจัยและพัฒนา เรายังปรับเปลี่ยนและหันมาใช้วัสดุทดแทนที่หาได้ภายในประเทศ อาทิ พัดลมอัดอากาศ และระบบกรองอากาศฆ่าเชื้อโรคแบบกรองอนุภาคขนาดเล็ก เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับวัสดุที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ ทำให้ทุนในการผลิตลดลงเหลือราว 150,000 - 200,000 บาทต่อห้อง จากปกติที่ต้องใช้เงินในการผลิตห้องละ 1 ล้านบาท นอกจากนี้ทีมคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ยังเตรียมดัดแปลงห้องแยกโรคความดันลบ  ในรูปแบบเคลื่อนที่ได้ (Movable room) เพื่อความสะดวกในการขนย้าย และสามารถเคลื่อนไปตั้งที่จุดคัดกรองในสถานที่ต่างๆ ตามความต้องการใช้งาน"

รศ.ดร. คมสัน กล่าวอีกว่า ในลำดับต่อไป สจล. จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่โรงพยาบาลสิรินธร ในการให้คำแนะนำและจัดสร้างห้องแยกโรคความดันลบ  หรือห้องกักกันเชื้อโรค จำนวน 3 ห้อง ไว้ใช้ในโรงพยาบาล เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด–19  และป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ ออกมาสู่ภายนอก    นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลกลาง  ในการจัดสร้างห้องแยกโรคความดันลบ และ Anti room เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด–19 ที่เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลกลาง  และยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตห้องแยกโรคความดันลบให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ อีก 10 แห่ง 

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. สกุล ห่อวโนทยาน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์  สจล. กล่าวเพิ่มว่า นอกจากห้องแยกโรคความดันลบ   ที่เตรียมเปิดตัวที่โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลสิรินธรแล้ว ยังมีห้องแยกโรคความดันลบ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สจล. และบริษัท NL Development ที่ถูกจัดตั้งเสร็จสมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้ทันที จำนวน 5 ห้องตรวจ ที่วชิรพยาบาล (โรงพยาบาลวิชิระ)  นอกจากนี้ คณะผู้พัฒนาห้องดังกล่าว มีความพร้อมในการแชร์ต้นแบบการสร้างห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ในต้นทุนที่ต่ำ และได้มาตรฐาน ให้แก่โรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่สนใจ เพื่อให้โรงพยาบาลทั่วประเทศมีห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ใช้ได้ทันต่อความต้องการตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"