ส.ส.พรรคก้าวไกลชง 5 แนวทางแก้ปัญหาผู้ใช้บริการรถเมล์ช่วง COVID-19


เพิ่มเพื่อน    

 

12 เมษายน 2563  นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ  ส.ส.พรรคก้าวไกล โพสต์แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ – Surachet Pravinvongvuth เกี่ยวกับเรื่องรถเมล์ทิ้งช่วง  โดยนำเสนอ 5 ข้อเสนอจากพรรค #ก้าวไกล แก้ปัญหารถเมล์ในวิกฤตการณ์ COVID-19 ]

หลังจากมีวิกฤตการณ์ COVID-19 ทำให้ปริมาณการเดินทางโดยรวมลดลง จำนวนผู้ใช้รถเมล์ลดลง ผนวกกับนโยบายเคอร์ฟิว 4 ทุ่มถึงตี 4 ของรัฐบาล ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับเวลาการให้บริการ ให้สอดคล้องกับเวลาห้ามออกจากบ้าน โดยรถเมล์วิ่งตั้งแต่ 4:30 ถึง 20:00

นอกจากนั้น มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ยังทำให้รถเมล์แต่ละคันต้องดำเนินการปรับที่นั่งให้เป็นแบบ “เก้าอี้เว้นเก้าอี้” ส่งผลต่อความจุ (Vehicle Capacity) ลดลงกว่าครึ่ง เพราะที่นั่งลดลงครึ่งนึง  ส่วนที่ยืน ซึ่งไม่ควรยอมให้ยืนในช่วงนี้หรือหากยอมก็ควรต้องยืนห่างกันมาก ๆ (1-2 เมตรตามมาตรฐาน) ทำให้ความความจุลดลงกว่าครึ่ง ประมาณการคร่าว ๆ ว่าความจุลดลงจาก 60 คน/คัน เหลือ 20 คน/คัน

นอกเวลาเร่งด่วนมักไม่เป็นปัญหาเพราะคนใช้น้อย แต่ในเวลาเร่งด่วน รถเมล์บางสาย คนยืนอัดกันแน่นดั่งปลากระป๋อง ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและคนขับ

พรรคก้าวไกลห่วงใยพี่น้องประชาชน จึงขอเสนอมาตรการเพิ่มเติมจากที่รัฐบาลดำเนินการอยู่เพื่อยกระดับความปลอดภัยของผู้โดยสาร ดังต่อไปนี้ 

(1) ขึ้นประตูหน้า-ลงประตูหลัง
วิธีการนี้จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเดินสวนกัน/ชนกันไปมา อีกทั้งเป็นการปรับพฤติกรรมเตรียมไว้ในสำหรับอนาคตเพื่อยกระดับระบบเก็บเงินให้เป็นแบบนานาอารยประเทศ

(2) ให้อำนาจคนขับ
เช่นเดียวกับ กัปตันเครื่องบิน พนักงานขับรถต้องสามารถปฏิเสธไม่ให้คนขึ้นเพิ่มเมื่อรถเต็ม อันจะทำให้ผู้โดยสารจำนวนมากที่ขึ้นมาก่อนไม่ต้องอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย

(3) เพิ่มความถี่ในชั่วโมงเร่งด่วน
เมื่อความจุต่อคันลดลง ก็ต้องเพิ่มความถี่ให้มาบ่อยขึ้น ซึ่งช่วงนี้รถไม่ติด บริหารจัดการเรื่องความถี่ได้ไม่ยาก

(4) รัฐอุดหนุนเงินให้ผู้ประกอบการอยู่ได้
เมื่อความจุต่อคันลดลง ก็ส่งผลต่อรายได้ โดยรัฐบาลต้องเข้าใจว่า การให้บริการรถเมล์เป็นบริการสาธารณะ ขาดทุนได้ รัฐอุดหนุนได้ ยิ่งเป็นมาตรการจากรัฐในการปรับบริการให้เหมาะกับสถานการณ์ COVID-19 เพื่อสุขอนามัยของประชาชน จึงควรอุดหนุนเงินให้ผู้ประกอบการอยู่ได้

(5) เปิดเผยข้อมูล GPS แบบ Real Time
Application “ViaBus” ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยรถเมล์ถือเป็นการลดความเสี่ยงจากการติดไวรัสไปด้วย จึงควรเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ ดูผ่าน website ได้ และเพิ่มรถโดยสารอื่นที่ไม่ใช่แค่ของ ขสมก. นอกจากนั้น ควรทำ Open Data เพื่อเปิดเผยข้อมูล GPS แบบ Real Time ให้นักพัฒนาระบบอื่นสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาต่อยอดได้

อย่าลืมนะครับ มีคนอีกจำนวนมากซึ่งไม่มีรถและรัฐไม่ควรบีบให้เขา (ส่วนมากเป็นกลุ่มคนรายได้น้อย) ต้องกู้หนี้ยืมสินไปซื้อรถ  แม้ช่วงเวลานี้ รัฐบาลจะรณรงค์ให้ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” แต่หลายคนยัง “จำเป็น” ต้องเดินทาง  แม้ถนนจะโล่ง จำนวนผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะโดยรวมจะลดลง แต่ในชั่วโมงเร่งด่วน รถเมล์บางสายยังแน่นอยู่ เป็นปลากระป๋องเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 แบบรมควันกันเลยทีเดียว
พรรคก้าวไกลห่วงใยประชาชน จึงเสนอแนวทางปฏิบัติที่ทำได้จริง ทำได้ทันที 5 ข้อ ให้รัฐบาลรับไปพิจารณาดำเนินการครับ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"