ก.วัฒนธรรม จ่อเสนอ ครม. ช่วยศิลปินพื้นบ้าน-นักเขียน-นักดนตรี ไม่เข้าเกณฑ์เยียวยา 5,000 บาท


เพิ่มเพื่อน    

 

 

   วันที่ 13 เม.ย. นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดส่วนกลาง และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) ทั่วประเทศ ดำเนินการสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ที่มีต่อเครือข่ายงานด้านศิลปวัฒนธรรมโดยจัดทำเป็นแบบสำรวจผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งการสำรวจดังกล่าวจัดเป็นการหนึ่งในการดำเนินการตามมาตรการเยียวยาของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือในสาขาอาชีพต่างๆ โดยในส่วนของ วธ. ได้รับมอบหมายให้ทำการสำรวจกลุ่มของผู้ทำงานด้านวัฒนธรรมที่ได้รับผลกระทบ แต่ไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์รับเงินลงทะเบียนขอรับการสนับสนุนจากมาตรการเยียวยา "โครงการเราไม่ทิ้งกัน" รายละ 5,000 บาท/เดือน โดยแบบสำรวจออนไลน์ ที่จัดทำขึ้นให้กรอกข้อมูลชื่อ-นามสกุล ที่อยู่อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ ระบุการทำงานแยกเป็นสาขาได้แก่ ศิลปินพื้นบ้านใน 4 ภูมิภาค ศิลปินร่วมสมัย ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ งานเขียน งานออกแบบ ภาพยนตร์ ดนตรี การแสดง และสาขาอื่นๆ พร้อมอธิบายรายละเอียดของอาชีพ ลักษณะของการจ้างงาน อิสระ ลูกจ้างบริษัท เจ้าของบริษัท อื่นๆ

     นายกฤษศญพงษ์ กล่าวว่า สำหรับการกรอกแบบฟอร์มดังกล่าวให้ระบุรายละเอียดว่า ได้ลงทะเบียนโครงการเราไม่ทิ้งกัน เพื่อขอรับการสนับสนุนจากมาตรการเยียวยา รายละ 5,000 บาท/เดือนหรือไม่ เคยลงทะเบียนสำเร็จหรือไม่อยู่ในสถานะใด เช่น ได้รับการสนับสนุนอยู่ระหว่างตรวจสอบคุณสมบัติ หรือ ไม่ได้รับการสนับสนุน หากไม่ได้รับการสนับสนุนให้ระบุเหตุผล รวมถึงความช่วยเหลือที่ต้องการเป็นกรณีเร่งด่วนในช่วง 3 เดือน พร้อมระบุถึงข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการในระยะยาว ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัด และสวจ.ทั่วประเทศดำเนินการสำรวจอย่างครอบคลุมทุกสาขา รวมทั้งมีการสอบทานข้อมูลจากกลุ่มเครือข่ายวัฒนธรรมที่มีอยู่ รวมถึงจากสภาวัฒนธรรมตำบล อำเภอ และจังหวัด คาดว่าการดำเนินการจะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะมีการรวบรวมรายชื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาช่วยเหลือต่อไป

      ด้านนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมการศาสนา (ศน.) กล่าวว่า ได้ดำเนินการสำรวจศาสนสถาน 4 ศาสนาที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 นอกเหนือจากสำรวจข้อมูลวัดทั่วประเทศของสำนักงานพระพุทธศานาแห่งชาติ (พศ.) โดยในส่วนของศาสนสถานทั้ง 4 ศาสนา ได้แก่ อิสลาม คริสต์ พรหมณ์-ฮินดู และซิกข์ มีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 8,000 แห่ง ล่าสุดและได้ดำเนินการจัดส่งรายชื่อศาสนสถานทั้งหมดไปให้แก่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (มท.) แล้ว ขณะเดียวกันยังติดตามมาตรการรับมือของเครือข่ายทุกศาสนาพบว่า มีความเข้มข้นมากขึ้นทั้งการงดจัดพิธีทางศาสนาไม่ให้มีการสัมผัสไป เช่น งดจัดพิธีศีลล้างบาปหรือพิธีศีลจุ่มของศาสนาคริสต์ งดการเจิมหน้าผากของฮินดู ส่วนศาสนาซิกข์ งดจัดการเลี้ยงโรงทานแบบรวมจัดให้มีการทำอาหารกล่องแจกแทน พร้อมกันนี้ ยังจัดทำหนังสือแจ้งไปยังสำนักจุฬาราชมนตรีให้ช่วยกำหนดมาตรการและวิธีปฏิบัติในช่วงเทศกาลรอมฎอนในช่วงปลายเดือน เม.ย.เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก่อนแจ้งให้ศาสนิกได้ถือปฏิบัติต่อไป

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"