เงามืดในอุโมงค์ของอสังหาริมทรัพย์


เพิ่มเพื่อน    

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ทางรัฐบาลได้ออกประกาศที่สร้างความสะเทือนวงการอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, รวมไปถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างมาก นั่นคือการสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง ห้ามการเคลื่อนย้ายคนงานรวมทั้งปิดไซท์งานก่อสร้าง ไม่ให้ดำเนินงานในพื้นที่ดังกล่าวเลยเป็นเวลา 30 วัน  ถึงแม้ว่า เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา จะมีประกาศอีกฉบับผ่อนปรนในบางข้อ และให้มีผลย้อนหลังกลับไป 28 มิถุนายน แต่มันได้ก่อผลกระทบมหาศาลไปทั้งวงการแล้ว รวมทั้งทางออกที่ภาคเอกชน ทั้ง ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้พัฒนาโครงการต่างๆ รวมไปถึงแรงงานต่างๆที่ได้รับผลกระทบจะออกมาเสนอแนะ สอบถามการเยียวยาจากภาครัฐ ทั้งสามสมาคมอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้าง ก็ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน

การเร่งออกมาตรการตัดไฟแต่ต้นลมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ โดวิด-19 ทุกฝ่ายพร้อมจะเข้าใจและสนับสนุน แต่การเร่งออกประกาศตอนดึกของวันหยุดโดยที่ไม่ได้ให้เวลาฝ่ายที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมและไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา ย่อมสร้างปัญหาเป็นโดมิโดร้ายแรงต่อมา  อย่าลืมว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์มีตัวเลขที่เกือบจะ 10% ของ GDP ประเทศไทย  การที่ตัวเลขผลผลิตหายไป 1 เดือน มันสร้างผลกระทบต่อเนื่องไปตั้งแต่การจ้างแรงงาน การผลิตวัสดุก่อสร้างทั้งระบบ การนำเข้าวัตถุดิบ การจ้างงานทั้งแรงงานและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง การรับรู้รายได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะมีทั้งด้านวิศวกรรมก่อสร้าง และด้านการเงินการบริหารงานทั้งส่วนของผู้รับเหมาก่อสร้างและส่วนของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนวิศวกรรมมีผลกระทบต่อความปลอดภัยเช่นการหยุดงานชั้นใต้ดินทันทีจะเสี่ยงกับการทรุดตัวของดินและดินสไลด์ หรือน้ำท่วมจากฝนตก

ส่วนอาคารสูงเช่นงานเทพื้นที่ค้างยังอยู่ งานติดตั้งแผ่น Precast ที่ค้างอยู่ อาจหล่นลงมาได้ หรือหากมีลมกรรโชกแรงๆ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่นไม้แบบในไซท์งานมีโอกาสที่จะปลิวออกมาสร้างความเสียหายกับชุมชนข้างเคียงได้ ส่วนความเสียหายด้านการเงินการบริหารนับเป็นเรื่องใหญ่มาก จากสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างประเมินคร่าวๆว่า การหยุดงานก่อสร้างเพียง 1 เดือน จะสร้างความเสียหายถึง 10,000-12,000 ล้านบาท และหากยังถูกปิดไซท์ต่อไป ตัวเลขก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้อีก อย่าลืมว่าการสร้างโครงการแต่ละโครงการ เจ้าของโครงการส่วนใหญ่ต้องกู้เงินธนาคารมาสร้าง  ภาระดอกเบี้ยจึงเกิดขึ้นทุกเดือน ผู้รับเหมาก่อสร้างก็ต้องกู้เงินธนาคารมาลงทุนก่อสร้าง ใช้เครดิตซื้ออิฐ หิน ปูน ทรายมาใช้ก่อสร้าง กู้มีภาระดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย 

แน่นอนว่าการที่ต้องหยุดงาน 1 เดือน แต่ทางธนาคารไม่ได้หยุดคิดดอกเบี้ยไปด้วย  แปลว่ารายรับหายไปแต่รายจ่ายมีแต่เท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมอีก รวมทั้งภาระก้อนใหญ่ที่สุด คือการดูแลอาหารการกินและความเป็นอยู่ของคนงานในแคมป์ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  ลำพังแค่ค่าอาหารต่อหัว ทุกมื้อทุกวันนี่ก็นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นก้อนใหญ่แล้ว เพราะคนงานรายวันโดนสั่งหยุดงานก็ไม่มีรายได้อยู่แล้ว  การที่รัฐประกาศว่าจะดูแลค่าใช้จ่ายให้ส่วนหนึ่ง คือ 50% แต่ไม่เกิน 7,500 บาท ต่อหัว แปลว่าภาระที่เหลือต้องตกอยู่กับผู้รับเหมาก่อสร้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ยังไงก็ต้องช่วยดูแลเรื่องอาหาร ยังไงก็ต้องมีออกเงินล่วงหน้าให้  อย่าลืมว่าไม่ใช่ 7,500 บาทต่อคนจะอยู่รอดได้ เพราะปกติ คนงานมีภาระต้องเลี้ยงดู พ่อแม่ ลูกๆกันต่อเป็นทอดๆอีก 

ความล่าช้าและขั้นตอนการเบิกจ่ายที่ไม่ชัดเจนและล่าช้าจะยิ่งตอกย้ำปัญหาเพิ่มขึ้นอีก กระทรวงแรงงานประกาศว่าจะช่วยจ่ายเงินค่าแรงคนงานตามระบบประกันสังคมทุก 5 วัน อยากให้ลองจับตาดูว่าถึงเวลาจริงๆ การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือในส่วนนี้จะใช้เวลาเดินทางมาถึงมือคนงานจริงๆ ในเวลากี่วันนับจากวันประกาศ  ค่าใช้จ่ายที่ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องแบกภาระเพิ่มยังรวมไปถึง ค่าเช่าที่ดินปลูกบ้านพักคนงาน ค่าเช่าที่ดินทำสำนักงานสนาม ค่าไฟฟ้าบ้านพักคนงานที่แต่ละเดือนมหาศาล ค่าน้ำประปาที่ยิ่งคนงานไม่ได้ทำงาน อัตราการใช้น้ำจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ค่าเช่าเครื่องจักรเช่น ทาวเวอร์เครน รถเครน รถตักทั้งหลายที่จอดแน่นิ่งอยู่ในไซท์ไม่ได้ทำงาน แต่ต้องจ่ายค่าเช่า รวมไปถึง การที่เดือนนี้ไม่ได้ทำงานก็จะไม่มีผลงานไปเบิกเงิน  เงินจะหายจากในระบบไปเลย 1 เดือนที่จะส้รางผลกระทบกับกระแสเงินสดอย่างมาก  

 หากรัฐบาลคิดไตร่ตรองผลกระทบต่อเนื่องให้ดีก่อน ก็คงไม่น่าจะมีประกาศฉบับนี้ออกมา แต่ตอนนี้ไม่ทันแล้วเมื่อประกาศออกมามีผลบังคับใช้แล้วอยากจะเสนอให้รัฐบาลคิดต่อให้เป็นระบบในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเป็นแหล่งแพร่เชื้อจากแคมป์คนงานที่รัฐบาลตั้งข้อหาให้ โดยขอให้รีบถือโอกาสนี้ในการเข้าตรวจเชิงรุก แคมป์คนงาน คัดกรองคนงานที่ติดและไม่ติด รวมถึงแคมป์ที่ไม่มีปัญหาการแพร่เชื้อ ให้รีบกลับมาทำงานต่อได้โดยเร็วที่สุดโดยให้มีข้อบังคับด้านสาธารณสุขที่เข้มงวดกับแคมป์และไซท์งานให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันโรคติดต่อ ไซท์ไหนทำไม่ได้ก็สมควรโดนปิด แต่หากไซท์ไหนที่ดูแลอย่างดีแล้วก็ไม่ควรได้รับผลกระทบแบบเหมาเข่งแบบนี้

ที่สำคัญคือควรเร่งจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพไปฉีดให้แก่คนงานก่อสร้างกลุ่มนี้โดยเร่งด่วนที่สุด  ถ้าภาครัฐยังไม่คิดวิธีแก้ไขและป้องกันปัญหาอย่างเป็นระบบในทุกๆมิติสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว  ตังเลข GDP และตัวเลขเศรษฐกิจของไตรมาสสามที่จะถึงนี้ คงต้องทำใจเตรียมเห็นตัวเลขติดลบอีกรอบได้เลย

โอภาส ถิรปัญญาเลิศ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"