COVID-19 กับมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ และประชาชน


เพิ่มเพื่อน    

 

 

เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ 

 

สถานการณ์ COVID-19 การระบาดยังคงแพร่กระจายไปสู่ประเทศต่างๆ มากขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยในจีนทรงตัว และกำลังลดลง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังคงมีผู้ป่วยสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐฯ ที่เข้าสู่ภาวะวิกฤตมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วทุกมลรัฐ

รัฐบาลได้ออกมาตรการทางกฎหมายของไทยที่มีเพื่อรับมือมีดังนี้

ประการที่ 1 กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศเรื่อง ชื่อและอาการของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 โดยกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ปี 2558 ผลของประกาศดังกล่าวทำให้ พนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจในการสั่งให้แยกกัก กักกัน หรือคุมตัวไว้สอบสวน ดังนี้ เมื่อมีคำสั่งให้ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีความเสี่ยงต้องทำการกักตัวเองในเคหสถาน 14 วัน หากไม่ดำเนินการ ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 51 พ.ร.บ.โรคติดต่อ ปี 2558 มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท

ประการที่ 2 กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศเรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคอันตราย กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 ปี 2563 มีการกำหนดให้สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน (รวมถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊าและเขตบริหารพิเศษฮ่องกง) สาธารณรัฐอิตาลี และสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย โดยเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจในการดำเนินการตามกฎหมายได้ทันที เช่น นำผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อมารับการตรวจหรือกักกัน ณ สถานที่ที่กำหนด รวมถึงดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่มีหน้าที่ต้องแจ้งเมื่อพบผู้ที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อ แต่ไม่ยอมแจ้งหรือไม่แจ้งภายในเวลาที่กำหนด

ประการที่ 3 กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศเรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยกำหนดให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาลตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.สถานพยาบาล ปี 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) ปี 2559 กำหนดให้สถานพยาบาลมีหน้าที่ต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ และหากมีความจำเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยต้องการจะไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลอื่น สถานพยาบาลนั้นต้องจัดให้มีการส่งตัวไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากมาตรการต่างๆที่ทะยอยออกมาเรื่อยๆทำให้ทุกคนต้องอยู่แต่ในบ้าน สถานบริการที่มีนับตั้งแต่ร้านค้าถีงห้างสรรพสินค้าต้องปิดตัวลง ให้เหลือเฉพาะด้าน อาหาร ยา และสิ่งอุปโภคเท่านั้น มีผลทำให้ บริษัท ร้านค้า ร้านบริการต่างๆต้องปิดตัวลง ส่งผลให้ แรงงานตกงาน บริษัทให้ลดเวลาทำงาน ลดเงินเดือน หรือเลิกจ้าง มีผลต่อประชาชนส่วนรวมเป็นอย่างมาก

ทางรัฐบาลก็ได้ออก พรก.ดูแลและเยียวยา ระยะที่ 1, 2 และ3 ออกมา ก็ต้องให้กำลังใจรัฐบาลในการพยายามจัดการปัญหา covid 19 ซึ่งกำลังถาโถมมาเป็นระลอกคลื่น และสิ่งที่จะช่วยธุรกิจให้อยู่รอดต่อไป ก็ขอเสนอแนะ ปัจจัยต่างๆที่เอื้อหนุนให้ผ่านพ้นไปได้ คือ

1.มาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและ SMEs
-โดยให้เยียวยาธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ขยายระยะเวลาการชำระภาษีเงินได้ประจำปี 2563 ออกไปอย่างน้อย 3 เดือน 
-ให้ บสย.เป็นผู้ค้ำประกัน 80% ถึง 100% ของสินเชื่อที่ให้กับธุรกิจ SMEs เพื่อให้ SMEs ได้รับประโยชน์มากขึ้น
-อนุญาตให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
-สนับสนุน SMEs ที่เป็นธุรกิจส่งออกและขาดสภาพคล่อง
-ช่วยเหลือภาคธุรกิจให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยไม่มีการคิดอัตราดอกเบี้ย เป็นเวลา 1 ปี
-สนับสนุนค่าจ้างแก่ SMEs เป็นจำนวนเงิน 50% ของค่าใช้จ่ายพนักงาน เป็นระยะเวลา 6 เดือน 
-การให้ความช่วยเหลือต่อธุรกิจ ทุกบริษัทที่เข้ามาช่วยประเทศแก้ไขปัญหาประเทศ เช่น บริษัทที่ปรับไลน์การผลิตโดยใช้กําลังการผลิตที่มีมาผลิตสินค้าทางการแพทย์ที่ขาดแคลน 
-การให้เงินสนับสนุนต่อ สินค้าที่ผลิตมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ ตู้อบฆาเชื้อ อุโมงค์ฆ่าเชื้อ และให้สถาบันการศึกษา สนับสนุนห้องแลป นักวิจัยร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์
-ตั้งกองทุน “Covid Fund” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนและวิธีการรักษา Covid-19-อย่าปิดโรงงานที่ผลิตสินค้าที่จำเป็นต่างๆ ควรมีการควบคุม กำกับที่ดีมาทดแทน

2) มาตรการดูแลประชาชน ครัวเรือนและการจ้างงาน
-การปรับลดภาษีรายได้ส่วนบุคคล
 -ผ่อนปรนการชำระค่างวดผ่อนบ้าน งวดรถและไม่มีการรายงานข้อมูลไปที่ศูนย์ข้อมูลเครดิต (ควรยกเลิกศูนย์นี้) 
-ให้เงินช่วยเหลือบุคคลและครอบครัวที่มีบุตร  โดยไม่ต้องตรวจสอบเนื่องจากเป็นการช่วยคนที่ปฎิบัติตาม กฏระเบียบของรัฐ (เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ เป็นอันตรายต่อชีวิต)
-สินเชื่อบุคคล ที่เข้าถึงง่าย โดยไม่มีดอกเบี้ย เพื่อให้ทุกคนเข้าได้อย่างทั่วถึง
-สนับสนุนการจ้างงานเพื่ออุปโภค บริโภค ไม่ควรเอาเงินงบประมาณจ้างคนไปสร้างถนน ขุดลอกต่างๆที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป
-ให้เงินช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบแบบถาวร และแบบชั่วคราว (permanent, self-employed) ที่ได้รับผลกระทบ 
-ให้ประชาชนสามารถกู้เงินฉุกเฉินได้คนละ 10,000 – 30,000 บาท โดยไม่มีการคิดอัตราดอกเบี้ย
-คืนเงินอาหารกลางวันให้ผู้ปกครองภายหลังการปิดโรงเรียน จนถึงเดือนกรกฎาคม และดูแลธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
-ให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ว่างงานคนละ 10,000 บาทต่อเดือน โดยจ่ายทุก 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน
-อนุญาตให้ถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อการเกษียณอายุได้ก่อนกำหนด
-สนับสนุนเงินทุนใน โครงการ จ้างงานเพื่อพัฒนาบุคลากรและสนับสนุนการจ้างงานใน SMEs โดยเน้นในธุรกิจสนับสนุน สินค้าที่ขาดแคลนและที่ใช้ในทางการแพทย์เท่านั้น

สิ่งสำคัญต่อจากนี้ไปคือ “การสร้างงาน ต้าน covid” รัฐบาลต้องกล้าที่จะคิดและหาหนทางใหม่ๆ เพื่อช่วยประชาชน ไม่ใช่ใช้วิธีเดิมๆที่ ยุคสมัยก่อนใช้แก้ไขได้ นำมาใช้ในปัจจุบัน ซึ่งบริบทได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ต้องนำคนรุ่นใหม่ๆมาช่วยงานจำนวนมากๆ ให้โอกาสและเน้นความคิดสร้างสรรค์ จะนำประเทศก้าวข้าม คำกล่าวที่ว่าเป็น”ประเทศทันสมัยแต่ไม่พัฒนา” 
เชื่อมั่นประเทศไทย คนไทยทำได้ (อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ)

ดร.ภก.ณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ
อนุกรรมาธิการและเลขานุการ 
คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง วุฒิสภา
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"