"ซีพี"เผยต้นทุนผลิตหน้ากากอนามัย สูงเกินราคารัฐบาลกำหนด เหตุแผ่นกรองชั้นกลางราคาพุ่ง25-30เท่า  ยัน1พ.ค.ผลิตครบ3 ล้านชิ้น ส่งถึงมือบุคลากรทางการแพทย์แน่ 


เพิ่มเพื่อน    


20 เม.ย.63- นายประโยชน์ เพ็ญสุต  รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าภาย ได้เดินทางเยี่ยมชมโรงงานซีพีหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อคนไทย อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี  เพื่อแจกฟรีให้แก่ แพทย์พยาบาลบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชน การเยี่ยมชม ได้ดูสายการผลิต โดยมีนายนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรเครือเจริญโภคภัณฑ์ ชี้แจงถึงการดำเนินการของโรงงานซีพีหน้ากากอนามัย

นายประโยชน์ เพ็ญสุต กล่าวว่า  การตรวจเยี่ยมโรงงานซีพีหน้ากากอนามัยครั้งนี้เพื่อชมสายการผลิตและจำนวนหน้ากากอนามัยที่ผลิตขึ้นมา  พบว่า ระบบการผลิตได้มาตรฐาน ปลอดเชื้อโรค และมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากหน้ากากอนามัยทางแพทย์เป็นสินค้าควบคุม ทุกวันเจ้าหน้าที่ของกรมการค้าภายในจะมาตรวจสอบสต็อกหน้ากากอนามัยด้วยตนเอง ซึ่งหน้ากากอนามัยที่ผลิตจากโรงงานแห่งนี้ส่งมอบให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทั้งหมด ไม่มีการจำหน่าย  ปัจจุบันมีโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ (Surgical mask ) 11 แห่ง รวมโรงงานซีพีหน้ากากอนามัย แม้ทุกโรงงานจะผลิตรวมกันแล้วได้ 2.5 – 2.6 ล้านชิ้นต่อวันก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของคนไทย70 ล้านคน   อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกำหนดจัดสรรให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มเสี่ยงแพร่ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับหน้ากากอนามัยก่อน สำหรับประชาชนทั่วไปขอให้ใช้หน้ากากทางเลือกเพื่อลดการขาดแคลนหน้ากากอนามัย  รวมถึงดูแลสุขอนามัยกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ช่วยลดการติดเชื้อและแพร่เชื้อ เป็นการช่วยชาติ

 นายนพปฎล เดชอุดม

 นายนพปฎล เดชอุดม กล่าวว่า  โรงงานซีพีหน้ากากอนามัยเปิดสายการผลิตวันแรกเมื่อวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นที่เรียบร้อย   ในสัปดาห์แรกของการผลิตต้องปรับจูนเครื่องจักรทั้ง 3 เครื่อง   และพบว่า ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นทุกวัน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายผลิตหน้ากากอนามัยได้ 1 แสนชิ้นต่อวัน หรือ 3 ล้านชิ้นต่อเดือน   โดยจะถึงเป้าหมาย 3 ล้านชิ้นในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้  และมีความตั้งใจจะปรับประสิทธิภาพการผลิตให้มากยิ่งขึ้น เพราะมีความต้องการของบุคลากรทางแพทย์   

นายนพปฏล กล่าวว่า ตามเป้าหมายจะผลิตให้ได้เดือนละ 3 ล้านชิ้น แต่ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดไปทั่วโลก ทำให้มีความต้องการวัตถุดิบในการผลิตหน้ากากอนามัย โครงสร้างหน้ากากอนามัยมี 3 ชั้น  ชั้นที่สำคัญที่สุด คือ ชั้นกลาง หรือ เมลท์โบรน  ซึ่งถือเป็นชั้นที่มีความสำคัญในการกรองเชื้อโรค   ซึ่งประเทศไทยต้องนำเข้าชั้นเมลท์โบรนจากต่างประเทศ  ซึ่งปัจจุบันวัตถุดิบชนิดนี้หายากในโลก และมีความต้องการสูงมากๆ ส่งผลให้ราคาเมลท์โบรนสูงกว่าภาวะปกติ 25-30 เท่า ซึ่งซีพี ต้องประมูลราคาแข่งขันกับรัฐบาลประเทศอื่นๆ ที่เดือดร้อนจากโควิด ทำให้ต้นทุนในการผลิตหน้ากากสูงกว่า  ราคาที่รัฐกำหนดให้จำหน่ายหน้ากากอนามัยไม่เกิน 2.50 บาทต่อชิ้น  แค่ชิ้นกลางชิ้นเดียวของหน้ากากก็ซื้อไม่ได้แล้ว  


"เราสร้างเสื้อเกราะให้นักรบทีมแพทย์พยาบาล ชั้นกลางจะปกป้องชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ แต่ซีพียืนยันยึดการผลิตหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน  อย่างไรก็ตาม  มีโครงการวิจัยคิดค้นวัสดุที่ใช้ทดแทนเมลท์โบรนจากต่างประเทศ ซึ่งเมื่อทดสอบแล้วต้องมีประสิทธิภาพหรือคุณสมบัติการกรองเชื้อโรคสูงเทียบเท่ากัน   “นายนพปฎล กล่าว


นายนพปฎล  กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางแจกจ่ายหน้ากากอนามัยถึงประชาชน จะแจกจ่ายผ่าน รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  หลังจากที่หมอและพยาบาลทั่วประเทศได้รับหน้ากากอนามัยเพียงพอแล้ว โดยล่าสุดสภากาชาดไทยได้ขอให้เหล่ากาชาดจังหวัดประสานงานคณะกรรมการโรคติดต่อ ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ได้สำรวจและประมาณความต้องการใช้หน้ากากอนามัยของโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลประจำชุมชน  รวมไปถึงอาสาสมัครมูลนิธิ  ขอให้ประมาณการจำนวนหน้ากากอนามัยที่ต้องการ ซึ่งในการส่งมอบให้แต่ละจังหวัด ซีพีจะดำเนินการขนส่งหน้ากากเหล่านั้นไปส่งยังพื้นที่แต่ละจุดโดยตรง  

  

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"