บิ๊กปชป.หวั่นเงินกู้ช่วยเกษตรกร 4 แสนล้านเสียของ กลายสภาพเป็นแค่ซื้อปุ๋ย-เมล็ดพันธุ์


เพิ่มเพื่อน    

5 พ.ค.63-นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงมาตรการการใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลออกเป็นพระราชกำหนด ในส่วนของการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท ซึ่งพุ่งตรงการใช้จ่ายไปยังภาคการเกษตรเพื่อรองรับเกษตรกรชนบท และแรงงานคืนถิ่น ว่าความล้มเหลวของหลายโครงการจากรัฐบาลที่ผ่านๆ มานั้น คือการไม่เปลี่ยนความคิดและการกระทำของประชาชน มอบแต่เงินลงไป กับแรงของข้าราชการ ดังนั้น เมื่อเงินหมด โครงการหยุด ข้าราชการกลับ ชาวบ้านก็กลับไปยากจนเหมือนเดิม

"การฝากความหวังไว้ที่ทีมของข้าราชการที่ขาดกระบวนการด้านการสร้างความสัมพันธ์ ทักษะในด้านการอดทนรอคอย และมิติของความใส่ใจย่อมเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด และการดำเนินชีวิตของชาวบ้านได้ เพราะนี่เป็นโจทย์ที่ใหญ่มากๆ สำหรับโครงการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งรัฐบาลต้องยอมให้ประเทศเป็นหนี้มหาศาล เพื่อสร้างงานและผลิตภาพให้กับภาคการเกษตรของท้องถิ่น ถ้าทำกันแบบเดิมๆ ผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะเป็นแบบเดิมๆ คือ โครงการเงินกู้หนี้ก็จะกลายสภาพเป็นโครงการกู้เพื่อซื้อปุ๋ย ซื้อเมล็ดพันธุ์ ซื้อกล้าไม้ แล้วนำไปแจกจ่ายให้ประชาชน โดยไม่ได้สร้างรายได้ ความภาคภูมิใจ หรือทักษะอะไรให้กับชาวบ้านเลย ทุกอย่างสูญเปล่าไปกับหนี้ที่เพิ่มขึ้นมากมายที่คนไทยทุกคนต้องแบกรับ" นายกนก กล่าว

​นายกนก กล่าวอีกว่า ขอเสนอแนวทางในการบริหารจัดการโครงการที่จะเกิดขึ้นนี้ ให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่างบประมาณที่จะลงไป อย่างเช่นการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตลอด 7-8 ปีที่ผ่านมา ดังนี้ 1.ต้องทำความเข้าใจต่อความคิดและพฤติกรรมการผลิตของเกษตรกร เพราะในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาประชาชนถูกทำให้เคยชินกับการร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล ดังนั้น การแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้าน กระบวนการแรกที่สำคัญ คือการทำให้ชาวบ้านกลับมาคิดได้ว่า ปัญหาความยากจนจะลดลง และสามารถหมดไปได้ ก็ต่อเมื่อพวกเขาลุกขึ้นมาทำงานด้วยตนเอง ไม่รอ ไม่ขอ ความช่วยเหลือจากใครทั้งสิ้น 

นายกนก กล่าวต่อว่า 2.การต้องสำรวจสภาพความเป็นจริงทางกายภาพ และสังคมของพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิสังคมที่จะเป็นหัวใจหลักของโครงการแก้ไขความยากจนที่จะเกิดขึ้น และในการทำข้อมูลภูมิสังคมนั้น ชาวบ้านในพื้นที่ควรเป็นทีมที่รับผิดชอบ โดยมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัย (องค์ความรู้) เป็นพี่เลี้ยงทางเทคนิค

นายกนก กล่าวต่อว่า 3.ชาวบ้านต้องเป็นคนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้จะเป็นการประสานระหว่างทีมอาจารย์หรือนักวิชาการที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาประกอบกลไกทางการเกษตรแบบเดิมๆ ของชาวบ้าน ด้วยการลงมือปฏิบัติร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ ถ่ายทอดทักษะและความรู้ใหม่ๆ ให้พวกเขาได้ทดลองเพื่อให้เกิดความมั่นใจ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"