ใช้ซ้ำ 20 ครั้ง ฝีมือคนไทยสู้โควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

       หลังจากที่รัฐบาลได้มีความพยายามในการจัดหาชุดป้องกัน PPE ให้กับบุคลากรทางการแพทย์มานาน ในที่สุดประเทศไทยก็ได้มีการผลิต PPE “รุ่นเราสู้” ที่สามารถซักนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 20 ครั้งสำเร็จ โดยเป็นการร่วมกันระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงสาธารณสุข สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ผู้ประกอบการกว่า 13 หน่วยงาน โดยความคิดในการผลิตชุดป้องกันดังกล่าวเริ่มจากการจัดหาชุด PPE จากต่างประเทศ โดยแม้จะมีเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันหลายประเทศก็มีการระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงมากขึ้น ต่างฝ่ายต้องการชุด PPE ให้กับบุคลากรของตัวเองเพื่อใช้รักษาคนในประเทศตัวเองทั้งสิ้น จึงมีคำถามตามมาว่าถ้าประเทศที่ไทยกำลังจะไปซื้อชุด PPE เขาไม่ขายขึ้นมาจะทำอย่างไร นี่คือโจทย์ที่ไทยพยายามพึ่งตนเองให้ได้

            เบื้องต้นการใช้ชุด PPE หากคนไข้ที่มีความเสี่ยงน้อยถึงปานกลาง บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้ชุด PPE ชนิดที่กันน้ำเป็นผ้าก็ได้ ซึ่งสถาบันบําราศนราดูรใช้เสื้อกาวน์ที่เป็นผ้ามาก่อนแล้ว โดยการใช้เสื้อกาวน์ชนิดผ้ามีอัตราการใช้อยู่ 50% ของชุด PPE ทั้งหมด อีก 50% ใช้กับคนไข้เสี่ยงสูง โดยในห้องไอซียูต้องใช้แบบชุดหมี

            มาทำความรู้จักชุดป้องกัน PPE “รุ่นเราสู้” ที่นำมาใช้ซ้ำ 20 ครั้ง  คุณสมบัติของผ้าเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์ชนิด 100% เคลือบสาร Polytertrafluorethylene โดยมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ และป้องกันการซึมผ่านของน้ำที่มีแรงดัน การทำความสะอาด ใช้ผงซักฟอก และ Sodium Hypochlorite 0.1% ในอุณหภูมิ 40 องศา นาน 15 นาที แล้วอบแห้งที่อุณหภูมิ 80 องศา นาน 60 นาที ห้ามเติมน้ำยาปรับผ้านุ่ม

            เนื่องด้วยชุดดังกล่าวทำมาจากผ้าโพลีเอสเตอร์ จึงต้องนำเข้าเส้นใยมาจากประเทศไต้หวัน เพราะเส้นใยดังกล่าวจะได้จากการรีไซเคิลขวดพลาสติก 14.5 ขวดต่อ 1 ชุด ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการรีไซเคิลที่ดีพอจึงต้องนำเข้า โดยกำลังในการตัดเย็บชุดของประเทศไทยอยู่ที่ 3 แสนชุดต่อเดือน

            ขณะที่การทดสอบชุด PPE มาตรฐานจะดูอยู่ 3 อย่าง ประกอบด้วย 1.เนื้อผ้า ต้องทนแรงดันน้ำได้ในระดับ 2 ระบายอากาศได้ดีและกันน้ำได้ด้วย ซึ่งได้ทดสอบจนผ่านมาตรฐาน 2.ตะเข็บรอยต่อ ซึ่งได้ทดสอบหลากหลายรูปแบบจนผ่านมาตรฐาน และ 3.การซักฆ่าเชื้อทำความสะอาด และใช้ซ้ำให้ได้ 20 ครั้ง    

            ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมได้จัดซื้อจัดจ้างชุด PPE รุ่นเราสู้ จาก 13 บริษัท รวมทั้งสิ้น 4.4 หมื่นตัว มูลค่า 20 ล้านบาท ตกตัวละ 500 บาท สามารถใช้ซ้ำได้ 20 ครั้ง เท่ากับใช้ครั้งละ 25 บาท เงินไม่รั่วไหล อยู่ในประเทศไทยทั้งหมด ลดเรื่องของขยะติดเชื้อไปได้มาก เกิดการจ้างงาน โดยถ้าเปรียบเทียบจากการซื้อแบบ Coverall ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งไทยนำเข้าจากจีนและเวียดนาม ราคาจากจีนชุดละ 400-600 บาท ส่วนจากเวียดนามชุดละ 140 บาท เมื่อเทียบจำนวน 800,000 ชุดเท่ากัน พบว่าประหยัดงบได้มหาศาล อย่างไรก็ตาม จากปากของทางฝั่งสภาอุตสาหกรรมสิ่งทอได้มีการเปรยว่า ขณะนี้มีหลายประเทศที่แสดงความต้องการให้ไทยผลิตชุดดังกล่าว โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการสั่งซื้อชุด PPE จำนวน 500 ชุด จึงต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการผลิตเส้นใยทางการแพทย์ของอาเซียน สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย

            การผลิตชุด PPE ใช้ได้เองจะทำให้ประหยัดทั้งงบประมาณและแก้ปัญหาขาดแคลน หลังจากผลิตครบ 40,000 ชุด องค์การเภสัชกรรมตั้งเป้าผลิตเพิ่มให้ครบ 100,000 ชุด ภายในสิ้นปี ซึ่งจะสามารถครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้ถึง 10,000 คน ทั้งนี้ ชุด PPE ไม่เพียงใช้แค่บุคลากรในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่การไปเก็บตัวอย่างตรวจหาเชื้อในการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนก็ต้องใส่ชุดแบบนี้เช่นกัน เพราะผู้ติดเชื้ออาจจะซ่อนเร้นอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของชุมชนด้วย เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปตรวจจึงจำเป็นต้องใช้ชุดป้องกันเป็นอย่างมาก

            สำหรับการผลิตขึ้นเองประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจากต่างประเทศได้ถึง 10,000 ล้านบาท เงินที่ประหยัดได้เทียบกับการมีงบประมาณที่จะนำไปสร้างโรงงานผลิตวัคซีน อีกทั้งชุดที่ผลิตขึ้นใช้ซ้ำได้ถึง 20 ครั้ง ถ้าผลิต 10,000 ชุดจะทดแทนการใช้จำนวน 200,000 ชุด

            ในสถานการณ์นี้ทำให้เห็นถึงความตั้งใจของทุกงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะผลิตอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เพื่อให้สามารถดูแลประชาชนไทยได้อย่างทั่วถึง โดยก่อนหน้านี้ได้มีการผลิตเครื่องอบหน้ากาก N95 และชุด PPE มาแล้ว อย่างที่กระทรวงสาธารณสุขได้ขอให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์เชื่อว่าอุปกรณ์ต่างๆ มีเพียงพอ ถ้าไม่พอก็จะจัดหาให้อย่างเพียงพอ

            สุดท้ายอีกสิ่งสำคัญที่สามารถดูได้ว่าอุปกรณ์ป้องกันโรคมีเพียงพอหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชน และบริษัทห้างร้านต่างๆ ที่ต้องสนับสนุนภาครัฐด้วยเหมือนกัน ทั้งเรื่องเว้นระยะห่างทางสังคม การให้ทำงานที่บ้านหรือเหลื่อมเวลาทำงาน การใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือทุกครั้งเวลาออกจากบ้าน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ ประชาชนได้มีการออกไปทำงานมากขึ้น โดยเห็นได้จากการจราจร และการใช้บริการขนส่งสาธารณะที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงการในการติดเชื้อมากขึ้น แม้จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลขณะนี้ลดลงใกล้แตะ 150 คน แต่การผ่อนปรนย่อมมีความเสี่ยง ถ้าผ่อนปรนมากขึ้น คนไทยจะต้องการ์ดไม่ตก เพราะการ์ดตกจะเป็นเหมือนญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ที่มีการผ่อนปรนแล้วกลับมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น ถ้าไทยไปถึงขั้นนั้น การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ก็ย่อมไม่พอต่อความต้องการของแพทย์. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"