ความช่วยเหลือทางทหารช่วงโควิด-19 “สหรัฐ-จีน”และความหวังวัคซีนสู่ไทย


เพิ่มเพื่อน    

 

    การวางน้ำหนักของประเทศไทยต่อสัมพันธภาพระหว่างจีนกับสหรัฐ ที่ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป และใช้วิธีการแบ่งลูกกันเล่นในวิกฤติช้างชนช้างของพี่เบิ้มสองประเทศเป็นยุทธศาสตร์ของไทย ได้นำมาใช้นานนับศตวรรษแล้ว

                ไม่ว่าภัยคุกคามในโลกจะเปลี่ยนรูปแบบไปแค่ไหนก็ตาม   แต่ไทยยังเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคที่จีนและสหรัฐต้องยึดโยงเชื่อมต่อความสัมพันธ์เอาไว้อย่างแน่นหนา และไม่ยอมปล่อยมือไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

                การใช้กลไกทางทหารในการสานสัมพันธ์ ผ่านกิจกรรมด้านต่างๆ ทำให้ความใกล้ชิดระหว่างไทยกับทั้งสองชาติใช้ช่องทางอย่างไม่เป็นทางการในการสื่อสาร และสร้างความร่วมมือในหลายมิติ เมื่อเกิดปัญหาในประเทศการส่งต่อความช่วยเหลือให้กับไทยก็จะอยู่ในลำดับต้นๆ

                ในสถานการณ์โควิด-19 องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) สำนักงานภาคพื้นเอเชีย ได้มอบวัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (พีพีอี) พร้อมอุปกรณ์การแพทย์อีกหลายรายการ ให้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สู้โควิด-19 ในช่วงต้นๆ ของสถานการณ์แพร่ระบาดที่ไทยยังประสบปัญหาขาดแคลน  นอกจากนั้นสถานทูตสหรัฐ โดยเอกอัครราชทูตสหรัฐคนใหม่ ได้มอบอุปกรณ์การแพทย์ให้กับ กรมแพทย์ทหารบก ผ่านทาง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)

                ส่วนหนึ่งเป็นความร่วมมือทางด้านการทหารของ ทบ.ไทย กับหน่วยแพทย์ทหารบกสหรัฐ ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (USAMC-AFRIMS) มีภารกิจในการดำเนินงานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์เพื่อการพัฒนาการตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยยาและวัคซีนสำหรับโรคติดต่อที่มีความสำคัญทางทหาร USAMC-AFRIMS เดิมก่อตั้งเป็นห้องปฏิบัติการของ SEATO หลังเกิดอหิวาตกโรคระบาดในช่วงปี พ.ศ.2499-2501 ปัจจุบัน USAMC-AFRIMS เป็นหน่วยงานหนึ่งของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และตั้งอยู่ที่ศูนย์แพทย์ทหารบกของประเทศไทย

                ในกรุงเทพมหานคร AFRIMS เป็นกิจกรรมต่างประเทศพิเศษของสถาบันวิจัย Walter Reed ของกองทัพบก และเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยบัญชาการการวิจัยทางการแพทย์เพื่อการทหารและการพัฒนายุทธภัณฑ์ AFRIMS เป็นหนึ่งในหน่วยงานขนาดใหญ่ที่สุดในเครือข่ายห้องปฏิบัติการการวิจัยและค้นคว้าทางการแพทย์ในต่างประเทศของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ  ซึ่งมีตั้งอยู่ตามประเทศต่างๆ ดังนี้ คือ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย, กรุงลิมา ประเทศเปรู, กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ USAMC-AFRIMS มีเจ้าหน้าที่เกือบ 300 คน (ไทยและสหรัฐ) และมีงบประมาณสำหรับงานวิจัยประมาณ 5-7 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

                ภัยคุกคามด้านโรคติดต่อที่สำคัญต่อทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ โรคมาลาเรียที่ดื้อยา ท้องร่วงและโรคบิด ไข้เลือดออก เอชไอวี ตับอักเสบ และไข้รากสาดใหญ่ โรคเหล่านี้เป็นความเสี่ยงทางสุขภาพของทั้งทหารและพลเรือน ดังนั้นจึงเป็นประเด็นวิจัยที่สำคัญที่ AFRIMS งานวิจัยโดยส่วนใหญ่แล้วคือการวิจัยเชิงประยุกต์ที่มีวัตถุประสงค์ในการค้นหา พัฒนาและทดสอบยาและวัคซีนใหม่ๆ ปัจจุบัน ยาประเภทใหม่ๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาคือยาสำหรับรักษาและป้องกันโรคมาลาเรียที่ดื้อยาหลายประเภท นอกจากนี้ AFRIMS กำลังพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคบิด ไข้เลือดออก ตับอักเสบชนิด E และเอชไอวี ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ AFRIMS ได้ทดสอบภาคสนามหรือพัฒนาแล้ว ได้แก่ วัคซีนสำหรับตับอักเสบชนิด A วัคซีนสำหรับโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อเจอี  (Japanese B encephalitis), การป้องกันโรคมาลาเรียด้วยยาปฏิชีวนะ doxycycline, การป้องกันโรคมาลาเรียด้วยยา mefloquine และการรักษาโรคมาลาเรียด้วยยา halofantrine

                นอกจากนี้ AFRIMS ยังคอยติดตามการเกิดโรคใหม่ๆ เช่น โรคมาลาเรียจากเชื้อ P. falciparum ชนิดที่ดื้อยา, ตัวก่ออาการท้องร่วงอันได้แก่ เชื้อ Campylobacter, เชื้อ Cholera O139, ปรสิต Cyclospora, เชื้อ E coli, เชื้อตับอักเสบชนิด E, เชื้อไวรัส HIV 1 E clade, ไข้รากสาดใหญ่ชนิดที่ดื้อยา, ไข้เลือดออก และไข้หวัดใหญ่ ห้องปฏิบัติการมีที่ทำงานภาคสนามกว่า 30 แห่งในประเทศไทย เนปาล กัมพูชา เวียดนามและบังกลาเทศ AFRIMS ยังมีห้องสมุดด้านการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสถานดูแลสัตว์สำหรับงานวิจัยที่ทันสมัยซึ่งได้การรับรองจากสมาคมเพื่อการประเมินและรับรองมาตรฐานการดูแลสัตว์ทดลองสากล (ที่มา : เว็บไซต์สถานทูตสหรัฐ และสถานกงสุลในประเทศไทย) 

                ขณะที่ความร่วมมือทางทหารของไทยและจีน จะใช้ภาพใหญ่ของกระทรวงกลาโหมเป็นกลไกหลักจากวิกฤติโควิด-19   กระทรวงกลาโหม (กห.) จีน ที่ส่งอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ บรรทุกมาทางเครื่องบินลำเลียงขนาดมหึมา Y-20 มาให้กระทรวงกลาโหมของไทย 18 รายการ รวมมูลค่า 6 ล้านหยวน หรือ 30 ล้านบาทเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผ่านนายหยาง ซิน อุปทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นตัวแทนมอบให้กับ “บิ๊กช้าง” พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย

                พร้อมกันนั้นยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาผ่านการประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มี  พล.อ.รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกระทรวงกลาโหม (ผอ.สนผ.กห.) โดยมี พ.อ.(พิเศษ) ฉวี ฉิน เกิง รองเจ้ากรมแพทย์ทหาร กรมกิจการส่งกำลังบำรุง กรรมาธิการทหารกลาง เป็นประธานการประชุมของแต่ละประเทศ 

                กระนั้น การพัฒนาและวิจัยวัคซีนเพื่อใช้ในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประเทศมหาอำนาจของโลกทั้งสองฟากของโลก กำลังถูกจับตามองว่าจะประสบผลสำเร็จและนำมาใช้กับผู้ป่วยได้อย่างกว้างขวางและปลอดภัยเมื่อไหร่ แต่มีแนวโน้มว่าไทยจะเป็นชาติลำดับต้นๆ ที่ได้รับอานิสงส์จากความใกล้ชิดของสองชาติยักษ์ใหญ่ในการเข้าถึงวัคซีนได้เร็วขึ้น. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"