ฉลองเทศกาลสงกรานต์กับสว. เตรียมสุขภาพให้พร้อมเดินทาง


เพิ่มเพื่อน    

(ขณะแวะปั๊มพักรถ แนะนำว่าให้ผู้สูงอายุลงมาเดินยืดเส้นยืดสาย เพื่อป้องกันการปวดเมื่อยตามร่างกาย สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไกล)

    ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะการเดินทางหลั่งไหลกลับต่างจังหวัด เพื่อไปเยี่ยมญาติหรือไปท่องเที่ยว คือข้อควรปฏิบัติในการดูแลสุขภาพระหว่างทาง โดยเฉพาะคุณตาคุณยายที่ต้องโดยสารทั้งรถประจำทางและรถส่วนตัว ในสภาพการจราจรมักติดขัด อีกทั้งการที่ผู้สูงอายุต้องนั่งอยู่ในรถนานๆ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้มากกว่าวัยอื่นๆ ไม่ว่าจะอาการของโรคประจำตัวกำเริบ หรืออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการเป็นลมหน้ามืด เนื่องจากอากาศในช่วงเดือนเมษายนค่อนข้างร้อนจัด

 

(นพ.เอกกิตติ์ สุรการ)


    ในงาน “Trauma Day 2018 : ป้องกันและเตรียมรับมือช่วง 7 วันอันตรายก่อนสงกรานต์” นพ.เอกกิตติ์ สุรการ ผู้อำนวยการอาวุโสแผนกฉุกเฉินและศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติตัว ขณะเดินทางของผู้สูงอายุในช่วงวันปีใหม่ไทยไว้น่าสนใจว่า “ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องนั่งรถกลับบ้านในช่วงสงกรานต์ หลักๆ แล้วประกอบด้วย “การป้องตัวเอง” เพราะอย่าลืมว่าปัญหาหนึ่งของคุณตาคุณยายคือการเคลื่อนไหว้ที่ช้าลง รวมถึงการก้าวเดินที่จะไม่ค่อยมั่นคง ดังนั้นการขึ้น-ลงรถขอให้ทำอย่างช้าๆ ที่สำคัญก็ควรจะมีลูกหลานคอยประคองด้วย นอกจากนี้ การป้องกันตัวเองเกี่ยวกับระบบปัญหากระดูกและมวลเนื้อเยื่อที่ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ “กระดูกหักง่าย” และยังส่งผลให้อวัยวะภายในอาจเกิดการชอกช้ำหรือมีการแตกหัก และมีเลือดออกภายใน โอกาสรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหากต้องโดยสารรถยนต์ส่วนตัว หรือรถประจำทาง อาจจำเป็นต้องนั่งในที่นั่งที่มีเข็มขัดนิรภัยและต้องคาดด้วย บางครั้งผู้สูงอายุอาจจะไม่คุ้นเคยหรือไม่สบายตัว แต่ขอให้คิดอยู่เสมอถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ การใส่อุปกรณ์ป้องกันจะช่วยลดการสูญเสียและการบาดเจ็บได้เป็นอย่างมาก 

(การเดินทางในช่วงวันหยุดปีใหม่ไทย ผู้สูงอายุควรพกยาประจำตัวไปด้วยทุกครั้ง)


    ในรายของคุณตาคุณยายที่มีอายุมาก มักจะมีปัญหา “เรื่องของโรคประจำตัว” และจำเป็นต้องยาใช้ต่อเนื่อง หมอแนะนำว่า 1.ให้พกยาประจำตัวไปด้วย 2.จดหรือทำบันทึกเล่มเล็กๆ ว่าผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวอะไร และต้องกินยาอะไรต่อเนื่อง เมื่อเกิดการบาดเจ็บ คุณหมอจะได้ให้การรักษาเบื้องต้นจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และโรคประจำตัวไปด้วยเช่นกัน เพราะว่าโรคเรื้อรังบางชนิดค่อนข้างมีความอันตรายสูง เช่น โรคสมอง หัวใจ ปอด เบาหวานที่มีอาการรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเสียชีวิต และการหายของแผลได้ จึงจำเป็นต้องรู้ประวัติของผู้ป่วย

 

(ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ผู้สูงอายุที่ต้องเดินทางกลับต่างจังหวัดหรือไปเยี่ยมญาติ ควรมีลูกหลานคอยประคองขณะขึ้น-ลงรถ เพราะผู้สูงวัยมักจะมีปัญหาเรื่องกระดูกที่เสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย)


    ทั้งนี้ อาการที่เกิดได้ในช่วงสภาพอากาศร้อน และต้องโดยสารบนรถที่ค่อนข้างแออัด อย่าง “อาการวูบ-อ่อนเพลีย” ถ้าต้องเดินทางไกลๆ อันที่จริงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุหมอแนะนำให้ลูกหลานที่ดูแลหมั่นจอดรถเพื่อให้ท่านได้พักบ่อยๆ ที่สำคัญยังทำให้คนขับได้พัก ได้สดชื่น นอกจากนี้ก็อย่าให้ผู้สูงอายุนั่งติดต่อกันนานๆ โดยขณะที่จอดพักรถก็ให้พาท่านลงมาเดินเพื่อยืดเส้นยืดสาย และอีกหนึ่งข้อปฏิบัติที่ลืมไม่ได้นั้น แนะนำว่าต้องการกินน้ำและอาหารให้มาก เพื่อป้องกันการหิวหรือขาดอาหารขณะเดินทาง เรื่องสำคัญอีกเรื่อง จะต้องระวังรูปแบบการขับรถ โดยห้ามขับขี่ในลักษณะกระตุกไปมา เพราะจะทำให้กระเทือนและรู้สึกเวียนหัว  หน้ามืด เป็นลม ในช่วงการจราจรหนาแน่นครับ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"