ลดบาดเจ็บช่วง 7 วันอตร. ต้องรู้รักษาอย่างทันท่วงที


เพิ่มเพื่อน    

(ภาพจำลองการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์แบบทันท่วงทีจากทีมสหสาขาวิชาชีพ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก รพ.กรุงเทพ)


“อุบัติเหตุ” นำมาซึ่งการบาดเจ็บ การสูญเสียชีวิต หรือความพิการ ผู้บาดเจ็บควรได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและเคลื่อนย้ายนำผู้ป่วยส่งถึงโรงพยาบาลอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิต และลดความพิการของผู้บาดเจ็บ โรงพยาบาลกรุงเทพให้ความสำคัญ และร่วมรณรงค์เนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยการเตรียมความพร้อมของทีมแพทย์ พยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพ และเทคโนโลยีในการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ทันสมัย เพื่อรับมือกับอุบัติเหตุฉุกเฉินทุกรูปแบบ พร้อมแนะวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างถูกวิธี ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความสูญเสียในช่วง 7 วันอันตราย โดยเฉพาะอุบัติเหตุฉุกเฉิน กระดูกหักหลายจุด เช่น กระดูกมือ กระดูกขากรรไกรและใบหน้า

 

(นพ.เอกกิตติ์ สุรการ)


นพ.เอกกิตติ์ สุรการ ผู้อำนวยการอาวุโสแผนกฉุกเฉิน และศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า “สำหรับรายงานสถิติอุบัติเหตุทางถนนระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.-3 ม.ค.2561 หรือช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา ของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) พบว่า เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 423 ราย ผู้บาดเจ็บ 4,005 คน ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ รองลงมาคือรถปิกอัพ การเข้าช่วยชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บ และการเข้าถึงจุดเกิดเหตุด้วยความรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแต่ละนาทีที่ผ่านไป สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บคือช่วงเวลาระหว่างความเป็นความตาย สิ่งสำคัญสิ่งเดียวที่จะลดโอกาสความสูญเสียในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ได้คือ การดูแลรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที

 

(นพ.วัชระ พิภพมงคล)


ขณะที่ นพ.วัชระ พิภพมงคล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ กล่าวว่า “ในกรณีเกิดการบาดเจ็บที่เห็นได้ชัด เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน การช่วยเหลือคือพยายามไม่ให้มีการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์นอกจากจะพบกระดูกหักแล้วยังพบความเสียหายของเยื่อหุ้มกระดูก เส้นเลือดและเนื้อเยื่อโดยรอบถูกทำลาย กระดูกเกยกัน หรือโค้งงอ ทำให้เจ็บปวดอย่างมากและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่หลายครั้งคนที่อยู่ใกล้เคียงเห็นคนไข้กระดูกหักงออย่างชัดเจน แล้วหวังดีจับดัดให้เข้าที่โดยขาดความรู้ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติมกับเส้นเลือด เส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนของกระดูกที่หัก ฉะนั้นสิ่งที่ควรทำคือ ประคองให้อยู่นิ่งที่สุด หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ขอให้ประคองส่วนที่หัก หรือให้มีการเคลื่อนตัวน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่ม หากคนเจ็บสามารถตอบคำถามได้ ก่อนขยับขอให้สอบถามก่อนว่ามีอาการปวดคอหรือปวดที่ส่วนหลัง ส่วนเอวหรือไม่ หรือหากไม่แน่ใจ การเคลื่อนย้ายขอให้รอทีมช่วยเหลือ เช่น หน่วยกู้ชีพหรือทีมแพทย์และพยาบาลจะปลอดภัยกว่า”

 

(นพ.ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม)


     ด้าน นพ.ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม ผู้อำนวยการศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ กล่าวว่า “มือเป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนมาก การทำงานของมือที่สมบูรณ์ ต้องประกอบไปด้วย กระดูกและข้อเล็กๆ เส้นเอ็น เส้นประสาทมือ เส้นเลือด รวมถึงผิวหนัง ปัญหาทางมือที่พบได้บ่อยมีสาเหตุมาจาก 1.อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก เส้นเอ็นขาด เส้นเลือดขาด เส้นประสาทขาด หรือผิวหนังบอบช้ำ โดยกระดูกส่วนที่หักบ่อยคือ กระดูกนิ้วมือและข้อมือ เพราะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย พบได้จากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือ Big Bike รวมไปถึงผู้สูงอายุที่เวลาล้มจะใช้มือยันพื้นป้องกันตัว
2.ปัญหาที่เกิดจากการทำงาน เช่น เส้นเอ็นอักเสบ พังผืดเส้นประสาทที่ข้อมือ นิ้วล็อก (เกิดจากการใช้งานมากไป) การรักษามือจึงมีความซับซ้อนและความละเอียด หลักการรักษาแบ่งออกตามส่วนประกอบสำคัญของมือ คือ “กระดูกและข้อ” ควรทำให้กระดูกแข็งแรง เพื่อให้เคลื่อนไหวได้เร็วที่สุด หากปล่อยไว้นานยิ่งเคลื่อนไหวช้า ข้อนิ้วก็จะยิ่งยึด (ข้อติด) ได้ง่าย แพทย์จะใส่เหล็กเล็กๆ เข้าไปเพื่อทำการยึดกระดูกมือให้ติดกันได้ไวที่สุด ส่วน “เส้นเอ็น” ถ้าเอ็นขาดที่มือ หลักการต่อเส้นเอ็นมือคล้ายกันกับกระดูกคือ ต้องต่อให้แข็งแรง เพื่อให้เคลื่อนไหวได้เร็วที่สุด ถ้ายิ่งรักษาช้าก็จะทำให้เกิดแผลหรือผังพืดเป็นในเส้นเอ็น เนื่องมาจากช่องว่างในนิ้วมือค่อนข้างเล็ก หากเกิดแผลเป็นเส้นเอ็นจะเคลื่อนที่ลำบาก ข้อก็จะยิ่งยึดติดง่ายขึ้น เส้นเอ็นส่วนที่เกิดแผลเป็น ถ้ามีความหนาจากแผลเป็นจะทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่ดี เพราะฉะนั้นการต่อเส้นเอ็นต้องต่อให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดแผลหรือพังผืด”

 

(ทพ.ชัยณรงค์ โกศลศุภศิริชัย)


ปิดท้ายกันที่ ทพ.ชัยณรงค์ โกศลศุภศิริชัย ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกขากรรไกรและใบหน้า กล่าวว่า “ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยมากมักเป็นผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า เช่น รถชน รถล้ม หรือถูกทำร้ายร่างกาย การตกจากที่สูง เป็นต้น ปกติแล้วการรักษากระดูกหักถ้ารีบมาเข้ารับการรักษาโดยเร็ว โอกาสทำแล้วประสบผลสำเร็จและได้ผลดีจะมีมากกว่ากรณีที่มาเข้ารับการรักษาช้า สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ ที่บริเวณใบหน้ามักมีอาการบาดเจ็บของสมองร่วมด้วย ซึ่งทีมแพทย์ได้มีการประสานกับศัลยแพทย์ระบบประสาท เพื่อประเมินสภาวะของสมองว่าเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดหรือไม่
สำหรับการรับมือกับอุบัติเหตุที่ดีที่สุด โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ที่ประชาชนเดินทางคับคั่ง ต้องเพิ่มความไม่ประมาทและลดความเร็วในการขับขี่รถยนต์ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ สิ่งสำคัญต้องคาดเข็มขัดหรือสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยอย่างหมวกกันน็อก ทั้งนี้การเฝ้าระวังเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 7 วันอันตราย ศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ มีทีมแพทย์เฉพาะทางสหสาขาที่มีประสบการณ์ประจำโรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง สามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมงที่เบอร์โทร.1724 ศูนย์แจ้งเหตุฉุกเฉิน BDMS Alarm Center และเบอร์สายด่วน โทร.1669.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"