สมาคมรถร่วมขสมก. ยื่นคมนาคมเรียกร้อง 4 ข้อ เยียวยาโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

10 มิ.ย.63-นายวิทยา เปรมจิตร์ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน พร้อมสมาชิก ยื่นหนังสือถึงนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เรื่องขอขยายเวลาแผนปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทางทั้ง 269 เส้นทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลออกไปอีก 3 ปี โดยมีนายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.คมนาคม เป็นผู้รับหนังสือ จากนั้นได้ประชุมร่วมกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ สมาคมต่อ

นายวิทยา เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางเส้นทางหมวด 1 และรถนิบัสที่เดินรถในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือโควิด-19 จึงเสนอข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.ขอขยายระยะเวลายื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร เส้นทางหมวด 1 ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง (ตามแนวทางปฏิรูปช่วงถ่ายโอนการกำกับดูแล) พ.ศ.2562 ที่ประกาศ ณ วันที่ 1 ก.ค.62 ออกไปอีก 3 ปี

2.ขอให้ใช้รถเก่าต่อไปได้อีกอย่างน้อย 3 ปี 3.ขอให้รัฐจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อจัดหาซื้อรโดยสารใหม่ และขอให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากในโครงการปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สำหรับเส้นทางของผู้ประกอบการรถร่วมที่ ขบ. ต้องจัดสรรให้ 54 เส้นทาง และออกใบอนุญาตประกอบการเดินรถแล้ว 48 เส้นทาง แบ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ 31 เส้นทาง และ รายย่อย 17 เส้นทาง ทำให้รายย่อยไม่มีแหล่งทุนลงทุน

และ 4.ขอให้กระทรวงคมนาคมประสานไปยัง ปตท. ให้ขยายระยะเวลาการลดราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด NGV ที่ ปตท. ให้ความช่วยเหลือรถโดยสารสาธารณะจากเดิมราคา 15.65 บาท ต่อกิโลกรัม (ก.ก.) เหลือ 10.67 บาท ต่อ ก.ก.มาตั้งแต่ 1 เม.ย.63 และสิ้นสุด 30 มิ.ย.63 แต่ขณะนี้ไวรัสโควิด-19 ยังระบาดอยู่ จึงขอให้ ปตท. ยังคงลดราคาเชื้อเพลิงสำหรับรถโดยสารสาธารณะลงเหลือราคา 10.67 บาท ต่อ ก.ก. ออกไปอีก 3 เดือน หรือจนกว่าสถานการณ์กลับมาปกติ

“การเรียกร้องครั้งนี้เกรงว่ารถร่วมเดิมที่มี 100 กว่าเส้นทาง แต่เมื่อการปฏิรูปเส้นทางลดเหลือ 54 เส้นทาง ทำให้รถร่วมที่มีกว่า 46 เส้นทาง จำนวนรถ 2,000 กว่าคัน และพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสารต้องตกงานและหายไปจากระบบ ทั้งที่ได้ดำเนินธุรกิจมา 40 กว่าปีแล้ว ดังนั้นจึงคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งที่เรื่องดังกล่าวสามารถประกอบธุรกิจร่วมกันได้ ทั้งนี้หากไม่พิจารณาให้จะไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อไป” นายวิทยากล่าว

ด้านนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดี ขบ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับฟังข้อกังวลของผู้ประกอบการรถร่วมเรื่องแผนฟื้นฟู ขสมก. กรณีปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ที่เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเร็วๆ นี้ ขณะนี้ได้ออกใบอนุญาตประกอบการเดินรถให้เอกชนแล้ว 56 เส้นทาง แต่ที่มีปัญหาเอกชนกว่า 40 เส้นทางที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต เนื่องจากไม่สามารถรวมกลุ่มเป็นนิติบุคคลได้ ตามข้อกำหนดของ ขบ. ระบุว่า 1 เส้นทางต้องมีผู้ประกอบการเพียงรายเดียวเท่านั้น

นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า ส่วนการเสนอ 4 ข้อนั้น ที่ประชุมมอบหมายให้ ขบ. ขสมก. และ ผู้ประกอบการหารือร่วมกันกับแนวทางออกเรื่องดังกล่าวต่อไป คาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้จะได้ข้อสรุป เพราะข้อเรียกขยายระยะเวลาการลดราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด NGV นั้น วันที่ 11 มิ.ย.นี้ จะหารือกับกระทรวงพลังงานต่อไป ส่วนแหล่งเงินทุน ขบ. จะประสานงานไปยังสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อเข้าตามหลักเกณฑ์ ส่วนปัญหาผู้ประกอบการกว่า 40 เส้นทางที่ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบการเดินรถนั้น ได้มอบหมายให้ ขสมก. ไปดำเนินการต่อไป

นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า สำหรับผู้ประกอบการกว่า 40 เส้นทางที่ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบการเดินรถ ขสมก. จะเปิดให้ผุ้ประกอบการรถร่วมเข้ามาประมูลเส้นทางต่อไป โดยผู้ประกอบการที่เข้ามาต้องเป็นภาคสมัครใจเข้ามายื่นประมูล ต้องมีความพร้อม คุณสมบัติตามที่ ขสมก. กำหนด ทั้งมีรถใหม่ เพื่อให้บริการประชาชนได้มีประสิทธิภาพ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"