'ชาวเนินมะปราง' มึน กมธ.ปลุกผีเขื่อนคลองชมพู หวั่นกระทบแหล่งอาศัยจระเข้น้ำจืดใกล้สูญพันธุ์


เพิ่มเพื่อน    

23 มิ.ย.63 - นายโม คำคูณ ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู ต.ชมภู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 มิถุนายนนี้ คณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางบริหารจัดการกลุ่มลุ่มน้ำ เตรียมลงพื้นที่และรับฟังความเห็นเกี่ยวกับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองชมพู หรือโครงการเขื่อนคลองชมพู ซึ่งเดิมรัฐบาลประกาศยกเลิกโครงการนี้ไปแล้วในปี 2557 ทำให้ชาวบ้านมีความเคลือบแคลงว่าเหตุใดจึงมีการผลักดันการสร้างเขื่อนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเย็นวานนี้ (22 มิ.ย.)ชาวบ้านชุมชนชมภูได้ไปรวมตัวประชุมหารือกันที่วัดชมภู ได้ข้อสรุปว่าจะยืนยันคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนคลองชมพูตามจุดยืนเดิมของชุมชน เนื่องจากหวั่นเกรงผลกระทบต่อผืนป่าลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ที่เป็นแหล่งอาศัยของจระเข้น้ำจืดตามธรรมชาติที่ใกล้สูญพันธุ์ และยังมีความหลากหลายทางนิเวศธรรมชาติที่ไม่เหมือนที่ใด มีพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์เฉพาะถิ่นที่บ่งชี้ความสมบูรณ์ของผืนป่าต้นน้ำ

“ชาวบ้านสรุปกันแล้วว่าจะไม่ยอมให้คณะกรรมาธิการผ่านหมู่บ้านไปยังพื้นที่สร้างเขื่อน เพราะโครงการนี้ถูกประกาศยกเลิกไปหลายครั้งแล้ว แต่กลุ่มอิทธิพลที่ตอนนี้มีตำแหน่งทางการเมืองเข้าไปผลักดันในสภา ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าน่าจะมีผลประโยชน์แอบแฝง เพราะผู้ผลักดันเป็นเครือญาติกับกลุ่มสัมปทานโรงโม่หินที่ถูกชาวบ้านคัดค้านการทำเหมืองหินจนต้องยุติการระเบิดหินและต่อมาหมดสัมปทานไป” นายโม กล่าว

นายโม กล่าวต่อว่า หากมีการก่อสร้างเขื่อนผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการคือกลุ่มสัมปทานโรงโม่หินเก่า ซึ่งอยู่ในเครือข่ายของกลุ่มการเมือง เพราะจากข้อมูลอีไอเอฉบับเดิมการก่อสร้างจะต้องใช้หินจากแนวเทือกเขาผาแดงรังกาย และพื้นที่ในเขตสัมปทานเหมืองแร่ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของกลุ่มนักทำเหมืองหิน นอกจากนี้จะสร้างผลกระทบอย่างหนักทั้งจากการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำ และการทำเหมืองหินอย่างแน่นอน

นายโม กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมากลุ่มอิทธิพลที่ผลักดันเขื่อนได้เข้าไปสร้างมวลชนในพื้นที่กลางน้ำและท้ายน้ำมาโดยตลอด โดยให้ข้อมูลว่าเขื่อนจำทำให้มีน้ำเพิ่มขึ้นในการทำเกษตรโดยเฉพาะในหน้าแล้ง จึงต้องการชี้แจงกับคนท้ายน้ำว่า หากมาดูในพื้นที่ต้นน้ำจะเห็นว่า พื้นที่คลองชมพูเป็นแหล่งบ่อเกลือใต้ขนาดใหญ่ ในหน้าแล้งน้ำในคลองเหลือน้อยจนบางช่วงมีรสกร่อย หากสร้างเขื่อนน้ำจะแช่อยู่บนบ่อเกลือเป็นเวลานานจะมีค่าความเค็มสูง คงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ในภาคเกษตร อีกทั้งผืนป่าขนาดใหญ่จะต้องจมน้ำ นั้นคือการสูญเสียแหล่งต้นน้ำหรือแหล่งผลิตน้ำตามธรรมชาติ ดังนั้่นจึงควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการน้ำ เช่น อาจทำเป็นฝายขนาดเล็กจำนวนในพื้นที่กลางน้ำและปลายน้ำ และเก็บรักษาต้นน้ำไว้ น่าจะเป็ทางออกที่เหมาะสมมากกว่า

ทั้งนี้ โครงการเขื่อนคลองชมพูขนาด 86.26 ล้านลูกบาศก์เมตร ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ถูกประกาศยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2557 ขณะที่กรมชลประทานพยายามผลักดันโครงการเขื่อนหลายแห่งผ่านคณะกรรมาธิการฯโดยอ้างความจำเป็นที่ต้องมีแหล่งน้ำทั้งๆที่ชาวบ้านคัดค้านมาโดยตลอด


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"