จุฬาฯ เล็งย้าย 'ศาลเจ้า' ทั้งหลังไปยังพื้นที่ใหม่ ยันไม่ทุบ-คุยผู้ดูแลลงตัว อย่าเชื่อคนปล่อยข่าวเท็จ


เพิ่มเพื่อน    

26 มิ.ย.63 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตประธานสภานิสิตจุฬาฯ ได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการรื้อย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสร้างกระแสในโลกโซเชียลด้วยการติดแฮชแท็ก #Saveศาลเจ้าแม่ทับทิม หลังจากนั้นก็มีนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ร่วมสนับสนุนนายเนติวิทย์ด้วยเช่นกัน

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก PMCU - Property Management of Chulalongkorn University สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ ได้ออกมาชี้แจงอีกครั้งถึงความคืบหน้าการย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่บริเวณอุทยาน 100 ปี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ตั้งศาลเดิม โดยมีเนื้อหาดังนี้ จุฬาฯ ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามสู่สังคม ชุมชนยั่งยืน สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬา ฯ (PMCU) ได้มีการวางแผนงานย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมมาประมาณ 2 ปีกว่าและประสานงานกับผู้ดูแลศาลเจ้ามาโดยตลอด โดยมีขั้นตอนการย้ายศาลเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการทำงานของทีมอนุรักษ์สถาปัตย์สำรวจ ศึกษาความเป็นไปได้ในการย้ายศาลเจ้าทั้งหลังไปที่แห่งใหม่ ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ และยังสนับสนุนด้านการศึกษาของคณะสถาปัตย์ โดยให้โอกาสแก่นิสิตเข้าร่วมสำรวจศาลเจ้าอีกด้วย

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ มีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์ศาลเจ้าแม่ทับทิม เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมให้มากที่สุด โดยยังคงส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามแก่ชุมชนและมีการจัดการที่ดีในทุกด้าน จึงได้ดำเนินงานมาอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อตอบคำถามที่เกิดขึ้นในภาคส่วนต่างๆ ดังนี้

1.จะทุบศาลทิ้งจริงหรือ?
"ไม่จริง" PMCU ตระหนักและให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของศาล โดยการปรับปรุงและย้ายศาลอยู่ในการดูแลของนักอนุรักษ์และทีมก่อสร้างเชิงอนุรักษ์นิยมที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ หลักการดำเนินงานคำนึงถึงเอกลักษณ์ดั้งเดิม พร้อมรักษาสถาปัตยกรรมร่วมสมัยโดยมีที่ปรึกษาเป็นคณาจารย์ที่มีความรู้ที่ได้ศึกษาประวัติเจ้าแม่ทับทิมและสถาปัตยกรรมศาลเจ้าจีนโดยเฉพาะ

2.ศิลปะและสิ่งทรงคุณค่าจะถูกทำลายหรือไม่?
"ไม่ถูกทำลายอย่างแน่นอน" ขั้นตอนการทำงานของทีมอนุรักษ์คือ การสำรวจพื้นที่ของศาลเจ้าทั้งหมดซึ่งมีรายละเอียด และมีความละเอียดอ่อนเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการ "ยกศาลเจ้าทั้งหลังไปยังพื้นที่แห่งใหม่" หรือหาแนวทางนำไปยังพื้นที่ใหม่ โดยยังคงความเป็นอกลักษณ์ดั้งเดิมให้มากที่สุด ซึ่งทีมวางแผนเข้าสำรวจพื้นที่ในวันที่ 19 มิถุนายน 2563 จึงมีการนำนั่งร้านไปเตรียมการลอกลายและสำรวจพื้นที่ ดังที่ปรากฏในข่าว ทั้งนี้มีการแจ้งผู้ดูแลศาลเจ้าล่วงหน้าไว้แล้ว

3.จากย้ายศาลไปไกลจากชุมชนหรือ?
"ไม่ใช่ จะย้ายศาลไปใกล้ชุมชน" ศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่ ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ติดถนนบรรทัดทอง มีความพร้อมในทุกด้านทั้งความปลอดภัย สะดวก สะอาด มีที่จอดรถ สถานที่เข้าถึงได้ง่าย มีพื้นที่รองรับการจัดแสดงประจำปีในบรรยากาศที่ดี รายล้อมด้วยชุมชน ร้านค้า ถือเป็นการสร้างสังคม
ชุมชนและสนับสนุนรายได้ให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ศาลเจ้าแม่เดิมตั้งโดดเดี่ยวอยู่กลางพื้นที่ลานจอดรถห่างออกมาจากตัวชุมชน เดินทางไม่สะดวกเท่าพื้นที่ไหม่ นอกจากนั้นตำแหน่งใหม่ของศาลเจ้ามีฮวงจุ้ยที่ดี โดยได้รับการแนะนำจากซินแสที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือจากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ซึ่งกรุณาเดินทางมาจากฮ่องกง การปรับปรุงและย้ายศาลครั้งนี้จึงเป็นความร่วมมือที่ดีจากผู้ชำนาญหลายภาคส่วนเพื่อให้ศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่มีความเหมาะสมสมบูรณ์ที่สุด

4.จะเอาที่ไปทำคอนโดหรู 1,800 ห้อง ขายหาสตางค์เยอะๆ หรือ?
"ไม่จริง" แผนพัฒนาพื้นที่นี้จัดให้เป็นหอพักสำหรับนิสิต 972 ห้อง รองรับได้ 2,200 กว่าคน และบุคลากรและบุคคลทั่วไป 831 ห้อง เนื่องจากที่พัก
ของจุฬาฯ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถือเป็นการสนับสนุนในด้านการศึกษา เพื่อให้มีการเดินทางในรอบนอกน้อยลงและลดผลกระทบด้านมลภาวะและจราจรที่เกิดขึ้น ส่วนคณะกรรมการดูแลศาลเจ้าแม่ทับทิมนั้นได้ย้ายไปจัดตั้งศาลเจ้าแม่แห่งใหม่นานแล้วตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งศาลเจ้าใหม่อยู่บริเวณอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

PMCU จึงขอชี้แจงข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงเจตนาและความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อมิให้ผู้มีเจตนาไม่ดี แอบแฝงสร้างข่าวอันเป็นเท็จทำให้เกิดความเสียหายและขอเชิญชวนผู้เลื่อมใสศรัทธาเจ้าแม่ทับทิมในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ร่วมกันและสามารถมาสักการะบูชาศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2563 เพื่อความเป็นสริมงคลของชีวิตให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผู้ดูแลศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้แสดงจุดยืนในการคัดค้านการรื้อถอนศาลแต่อย่างใด และพร้อมที่จะย้ายออกจากพื้นที่จุฬาฯ โดยตั้งกล่องรับบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างศาลแห่งใหม่ที่คลอง 7 จังหวัดปทุมธานี ภายหลังเกิดกระแสการรื้อถอนศาลทำให้มีคนเดินทางมาไหว้เจ้าแม่และร่วมบริจาคเงินเป็นจำนวนมาก ก่อนที่ทางผู้ดูแลศาลจะเอาแผ่นกระดาษมาปิดทับคำว่า คลอง 7 เนื่องจากล้มเลิกความคิดที่จะสร้างศาลใหม่ที่คลอง 7 และยอมรับข้อเสนอของทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ

ก่อนหน้านี้ นายเนติวิทย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า นี่คือการแสดงความไม่จริงใจ ไม่เคารพอย่างยิ่ง สำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ได้เข้าไปตั้งกรวย แผงกั้น และขึงเชือกรอบศาลแล้ว ไม่รู้จะเตรียมรื้อถอนหรืออย่างไร ทั้งที่ก่อนหน้าบอกว่าจะเจรจาก่อน กรรมการสภามหาวิทยาลัยของจุฬาฯ ซึ่งเป็นที่รวมผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเคารพเชื่อถือจากสังคมไม่ควรเพิกเฉยให้สำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ มาระรานและทำลายศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและมีความสำคัญของสังคม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"