ใครฉกฉวย-ฉุกเฉิน


เพิ่มเพื่อน    

             ดังกระหึ่มขึ้นมาอีกครั้ง

            กับเสียงเรียกร้องให้เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะมองว่าโควิด-๑๙ ในไทย ไม่ฉุกเฉินแล้ว

            ตัวเลขเป็น ๐ มา ๓๔ วันติด

            พรรคเพื่อไทยโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ให้เหตุผลว่า

            การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป จะกระทบต่อความเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจ

            จะไม่เกิดความโปร่งใสในการบริหารงบประมาณ โดยเฉพาะการกู้เงิน ๔ แสนล้านบาท

            จะมีการควบคุมความคิด การแสดงออกของประชาชน

            ฉะนั้นใช้ พ.ร.บ.โรคระบาด ก็เหลือเฟือแล้ว

            แทนกันได้จริงหรือ? 

            ก่อนจะสรุปว่าเลิกหรือไม่เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ควรกลับไปดูอำนาจหน้าที่ของ ศบค.ก่อน

            คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๗๖/๒๕๖๓ เรื่องจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) กำหนดอำนาจและหน้าที่ของ ศบค.เอาไว้ดังนี้

            ...กำหนดนโยบายและมาตรการเร่งด่วนในการบริหารสถานการณ์ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ  พ.ศ.๒๕๕๘ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ในด้านสาธารณสุข ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน ด้านข้อมูล ด้านการชี้แจงและการรับเรื่องร้องเรียน ด้านการต่างประเทศ ด้านมาตรการป้องกัน และด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา เพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอันเกิดจากแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙)

            สั่งการให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐปฏิบัติภายในขอบเขตหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชน เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่กำหนด...

            มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น ๔๐ ฉบับ

            ถามว่าใช้ พ.ร.บ.โรคระบาด แทนได้หรือไม่?

            คำตอบคือได้

            เมื่อเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ศบค.ก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย

            หน่วยงานราชการทุกหน่วยงานก็กลับไปทำงานในสภาพก่อนหน้ามีโควิด-๑๙

            แต่คำถามคือ การบูรณาการการทำงานขึ้นมาใหม่โดยใช้ พ.ร.บ.โรคระบาด จะสามารถทำได้แค่ไหน รับมือกับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศเป็น ๐ กับส่วนที่กลับจากต่างประเทศยังคงติดเชื้อเป็นระยะ

            และมาสู่คำถามสำคัญ

            อำนาจในการกักตัว          

            สถานที่ที่ใช้ในการกักตัว

            ค่าใช้จ่ายในการกักตัว

            ๓ ประการนี้มีรองรับเอาไว้ในอำนาจหน้าที่ของ ศบค. แต่เมื่อไม่มี ศบค.แล้ว จะอยู่ในอำนาจใคร

            รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะเอาอยู่หรือไม่

            จะทำอย่างไรกับคนไทยที่กลับจากต่างประเทศแล้วพบว่าติดเชื้อโควิด-๑๙

            จะออกค่าใช้จ่าย ค่ารักษาเป็นล้านได้หรือไม่

            ถ้าคนที่เดินทางกลับไม่ยอมกักตัวจะทำอย่างไร และหากมีการฟ้องร้องว่าละเมิดสิทธิในการเดินทางจะทำอย่างไร

             อย่าให้ไทยต้องซ้ำรอยอเมริกา ประธานาธิบดีไปทาง ผู้ว่าการมลรัฐไปทาง ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพเต็มที่ ไม่ยอมใส่หน้ากากอนามัย

            ผลที่ออกมาวันนี้มีผู้ติดเชื้อกว่า ๔ หมื่นคนต่อวัน

            อะไรที่ทำมาดีแล้ว ก็อดทนกันอีกนิด ไม่มีอะไรที่จะได้ทั้งหมดหรือเสียไปทั้งหมด อยู่ที่การชั่งน้ำหนักว่าประโยชน์ของชาติสูงสุดอยู่ตรงไหน

            การระบาดรอบสองอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่หลายประเทศกำลังวุ่นวายเพราะโดนรอบสองไปเต็มๆ  

            หรือเราจะเอาแบบนั้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"