"สุวิทย์"ชงโครงการ 1ตำบล 1มหา'ลัย ลั่นเป็นการปฎิรูปประเทศแท้จริง จิ๊กซอว์สำคัญรวมไทยสร้างชาติ


เพิ่มเพื่อน    


9 ก.ค.63-ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดการประชุมปรึกษาหารือกรอบและแนวทางการขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย โดยนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กล่าวถึงกรอบนโยบายการขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตอนหนึ่งว่า หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 นั้น ครั้งนี้ถือเป็นอีกครั้งที่ประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตเชิงซ้อน ทั้งเรื่องสุขภาพและเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งในวิกฤตตนมองว่ามีโอกาสเสมอ และหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศจะต้องจะดำเนินต่อไป โดยเฉพาะพลังของเยาวชน ประชาชน ซึ่งตนมีความเชื่ออยู่เสมอว่านิสิต นักศึกษา บัณฑิตของพวกเรา เป็นผู้ที่กำหนดอนาคตของประเทศ จะขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ดังนั้นสิ่งที่สำคัญหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ การสร้างความเข้มแข็งจากภายในประเทศ ผ่านเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงกำลังหลักในการขับเคลื่อนครั้งนี้ ด้วยพลังของคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักศึกษา จะเป็นพลังที่ขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าอย่างแท้จริง

นายสุวิทย์ กล่าวต่อว่า จากนี้ อว.จะต้องทำให้มหาวิทยาลัยสามารถตอบโจทย์ประเทศและตอบโจทย์พื้นทีควบคู่กันไปในเวลาเดียวกัน ใช้พลังของมหาวิทยาลัยผ่าน พรก.เงินกู้ 4 แสนล้าน โดยโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จะนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า ทั้งนี้จากการที่ตนได้รายงานให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทราบถึงโครงการดังกล่าว นายกฯ ก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะโครงการนี้เป็นการจ้างงานนิสิต นักศึกษา บัณฑิตในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้ใช้พลัง ปัญญา ศักยภาพ ให้ลงไปสู่พื้นที่และคนกลุ่มนี้จะได้ใช้ความรู้ ความสามารถที่เรียนมาพัฒนาพื้นที่บ้านเกิดของตนเอง และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป้าหมายของตำบลควรจะเป็นอย่างไร อว.ได้มีการกำหนด 16 เป้าหมายที่จะตอบโจทย์ตำบลที่ยั่งยืนในอนาคต ว่า ควรจะมีหน้าตาอย่างไร และการที่จะสร้างตำบลให้มีความยั่งยืนได้ ก็ควรที่จะเข้าถึงปัญหาอย่าง
แท้จริงว่าคืออะไร โอกาสของชุมชนคืออะไร เพื่อที่จะสร้างแนวทางในการขับเคลื่อนชุมชน อว.จึงได้มีการระดมนักศึกษาและบัณฑิต จัดทำระบบข้อมูลพื้นฐานของชุมชน และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ครอบคลุม 7,900 ตำบล ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นเหมือนการถักทอทุน 4 ทุน เข้าด้วยกัน คือ ทุนมนุษย์ คือ บัณฑิต นักศึกษาสร้างพลังติดถิ่น ทุนสังคม คือ การทำงานร่วมมือสร้างเครือข่าย ทุนกายภาพ คือ ดูข้อจำกัดและโอกาสในแต่ละชุมชนที่แตกต่างกัน และทุนข้อมูล ที่จะเป็นพลังในการบ่งชี้การจัดสรรทรัพยากร ทิศทางการพัฒนาชุมชนในอนาคต

“โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เป็นจิ๊กซอร์ตัวสำคัญของรวมไทยสร้างชาติ ที่จะขับเคลื่อนงานภายใต้ความปกติใหม่ (New Normal) ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของ อว.ที่เราต้องเชื่อในศักยภาพของบัณฑิต และดึงออกมาใช้ในตอบโจทย์กับพื้นที่บ้านเกิดอย่างเต็มกำลัง และผมต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยทุกแห่ง เพราะเชื่อว่าทุกมหาวิทยาลัยต้องเหนื่อยกับการขับเคลื่อนโครงการนี้อย่างแน่นอน ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่อาจารย์จะได้ทำงานวิจัยบนโลกแห่งความเป็นจริง และจะเกิดคุณค่ามหาศาลครั้งใหญ่ของประเทศ และภารกิจของ อว.ขณะนี้คือการสร้างคน สร้างองค์ความรู้ที่จับต้องได้ เป็นองค์ความรู้ในระดับชุมชนอย่างแท้จริง การสร้างนวัตกรรมต่างๆ ก็จะต้องตาบโจทย์ชุมชน การแก้จน และผมเชื่อว่าโครงการนี้เป็นการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง”รมว.อว.กล่าว
 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"