อลังการ! 13 ศิลปินแห่งชาติสรรค์สร้างประติมากรรมดอกบัว 100 ปีเมืองปทุมธานี แลนด์มาร์คใหม่เสร็จปลายปีนี้


เพิ่มเพื่อน    

10 ก.ค.63 - ที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายพินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้จัดเสวนา สืบสานงานศิลป์ถิ่นบัวหลวงปทุมธานี  ประติมากรรมดอกบัวปทุมธานี 100 ปี The Art Treasure of PathumThani:The Land of Royal Lotus โดยมีนายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นายชาญ พวงเพ็ชร์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายจรูญศักดิ์ สิงหเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พล.ต.ต.ชยุต มารยาทตร์ ผบก.จว.ปทุมธานี นายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน ปลัดจังหวัดปทุมธานี นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการ และศิลปินแห่งชาติ เข้าร่วมเสวนา 

ประติมากรรมดอกบัวปทุมธานี 100 ปี จัดขึ้นเพื่อน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อพสกนิกร จังหวัดปทุมรานีและต้องการสร้างอัตลักษณ์และสัญลักษณ์ที่โดดเด่น เพื่อสื่อถึงสภาพสังคม ศิลปวัฒนรรรมและประวัติศาสตร์ของจังหวัดปทุมธานี และเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี โดยจะติดตั้งไว้ ณ สวนเทพปทุมเฉลิมพระเกียรติ ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ประติมากรรมดอกบัวและลูกแก้วจำนวน 12 ลูกบนโครงสร้างเสาขนาดใหญ่รวมฐาน สูง 10เมตร คือฝีไม้ลายมืออาจารย์ศราวุธ ดวงจำปา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม)ประจำปี 2560 และ 12 ศิลปินแห่งชาติ นำโดย 1.ทวี รัชนีกร 2.อินสนธิ์ วงศ์สาม 3.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ 4.ธงชัย รักปทุม 5.กมล ทัศนาญชลี 6.เดชา วราชุน 7.วิชัย สิทธิรัตน์ 8.เข็มรัตน์ กองสุข 9.ปรีชา เถาทอง 10.อิทธิพล ตั้งโฉลก 11.ปัญญา วิจินธนสาร 12.วิโชค มุกดามณี ร่วมกันสรรค์สร้าง ประติมากรรมดอกบัว 100 ปีเมืองปทุมธานี

จังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทยติดกับเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งอารยธรรมทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เก่าแก่ ปัจจุบันเป็นเมืองอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมไฮเทคและเมืองตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ แต่บรรยากาศทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมก็ยังดำรงอยู่  โดย ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี มุ่งหมายจะพัฒนาเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมควบคู่กันไป

นายพินิจ เปิดเผยว่า ประติมากรรมดอกบัว100 ปีเมืองปทุมธานี ก่อกำเนิดขึ้น จากความต้องการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะโดดเด่น เป็นสื่อสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม และเป็นแลนด์มาร์คของจังหวัดปทุมธานี โดยพยายามกำหนดคุณค่าและสัญลักษณ์สำคัญ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาต่อไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเมืองในลักษณะนี้ จะทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม มีสถานที่ที่ทุกคนเป็นเจ้าของ เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของชุมชน ให้มีความเจริญก้าวหน้า มีอนาคตที่สดใสเบ่งบานร่วมกัน

การสร้างแลนด์มาร์คและยังเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับแนวทางการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมและการพัฒนาเมืองอีกด้วย ตามความเชื่อในวัฒนธรรมของชาวไทยที่ฝังรากลึกมาแต่โบราณกาลนั้น ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี ความสะอาด บริสุทธิ์ มีคุณค่า เจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ โชคดี สามัคคี ปลอดภัย และเป็นสิ่งอันเป็นมงคล เพราะดอกบัวมีรูปลักษณ์งดงาม มีกลิ่นหอม สะอาดผุดผ่องกลางน้ำใส แม้จะแทงยอดขึ้นจากโคลนตม เติบโตชูก้านดอกเหนือผิวน้ำ แต่ดอกบัวก็ไม่เปื้อนดิน ไม่เปียกน้ำ หรือไม่แปดเปื้อนมลทินใดๆ

จึงเป็นที่มาของชื่อปทุมธานี ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ พระราชทานเมื่อคราวที่เสด็จฯ ไปรับบัวจากชาวมอญ ในเทศกาลประเพณีรับบัวที่สามโคก ซึ่งจัดขึ้นในเดือน 11 จ.ศ.1177 อันเป็นช่วงเวลาที่บัวออกดอกเป็นจำนวนมาก จึงได้พระราชทานนามให้สมกับเป็นแหล่งบัวชุกชุม และประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ดอกบัวจึงเป็นสัญลักษณ์ของปัญญา เป็นตัวแทนของความดี บัวเพียงดอกเดียวก็ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยได้หลายรูปแบบ  ประติมากรรมดอกบัวที่ยิ่งใหญ่อลังการ และงามสง่าคล้ายดอกบัวธรรมชาติ นี่คืองานประติมากรรม ที่บ่งบอกถึงความสุนทรีย์ของชาวปทุมธานี

เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของประติมากรรม ที่ต้องการให้สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของประชาชนอนาคต ที่นี่จะเป็นสถานที่ของความรื่นรมย์ มีชีวิตชีวา ที่สะท้อนถึงรากทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของชาวปทุมธานี ซึ่งแสดงออกในรูปศิลปะสมัยใหม่ สร้างความภาคภูมิใจ และความรู้สึกมีส่วนร่วมได้อย่างลงตัวและนักท่องเที่ยวทั่วไปจะได้มีสถานที่ ที่น่าสนใจในการมาเยี่ยมเยือนจังหวัดปทุมธานีตลอดจนเป็นสถานที่สร้างจินตนาการด้านศิลปะให้ผู้คนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ รับรู้ถึงความละเอียดอ่อนลึกซึ้งของงานประติมากรรม

อาจารย์ศราวุธ ดวงจำปา กล่าวว่า ได้คุยกับอาจารย์วิโชค มุกดามณี (ก่อนที่อาจารย์วิโชคจะถึงแก่กรรม)อาจารย์วิชัย สิทธิรัตน์ และ ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าฯปทุมธานี จะสร้างงานศิลปะ 100 ปีเมืองปทุมธานี ศิลปินก็ตื่นเต้น โดยมีศิลปินแห่งชาติรับเชิญมาหลายท่าน โดยตนเองอาจจะว่างหน่อยเลยได้มีโอกาสดูแลเกือบทั้งหมด โดยใช้ดอกบัวเป็นตัวหลักและลูกแก้วทั้ง 12 ลูกให้ศิลปินแห่งชาติท่านได้สร้างสรรค์ศิลปะตามจินตนาการของแต่ละท่านโดยมีเนื้อหาของความเป็นเมืองปทุมธานี ครบรอบ 100 ปี เป็นดอกบัวตูมกำลังจะผลิบาน

โดยลูกแก้วทั้ง12ลูกเปรียบเสมือนกาลเวลาเป็นนาฬิกาบอกความเป็นมาของเมืองปทุมธานี และมีปลาตะเพียน เงินตะเพียนทอง อยู่รอบๆประติมากรรมชิ้นนี้ด้วย โดยท่านผู้ว่าปทุมธานีได้ร่วมสร้างปลาตะเพียนชิ้นนี้ด้วย ประติมากรรมดอกบัวนี้ประกอบด้วยลูกแก้วเหล็กจำนวน 12 ลูกขนาดลูกละ2.50 เมตรบนโครงสร้างเสาดอกบัวเหล็กขนาดใหญ่สูง10เมตรกว้าง 20 เมตร ผมถือว่าเป็นงานประติมากรรมชิ้นแรกของประเทศไทย ที่เป็นงานโมเดิร์นอาร์ท ที่ร่วมจินตนาการและประวัติศาสตร์ ผ่านศิลปินแห่งชาติ

ทั้งนี้ หลังจากเสร็จการเสวนา ศิลปินแห่งชาติได้ร่วมกันวาดภาพเพื่อนำไปประมูลเพื่อหารายได้สบทบทุนในการสร้างสรรค์ ประติมากรรมดอกบัว 100 ปีเมืองปทุมธานี 

ในการจัดสร้างประติมากรรมดอกบัว 100 ปีเมืองปทุมธานีในครั้งนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และทุกภาคส่วนในจังหวัดปทุมธานีได้ร่วมกันสนับสนุนการก่อสร้างประติมากรรมเพื่อเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดปทุมธานี คาดแล้วเสร็จปลายปีนี้ โดย "ประติมากรรมดอกบัวปทุมธานี 100 ปี" นี้จะเป็นประติมากรรมชิ้นแรกของประเทศไทยที่ร่วมดำเนินการโดย 13 ศิลปินแห่งชาติและก่อเกิดขึ้น ณ จังหวัดปทุมธานี แห่งนี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"