นับถอยหลังเลือก'เนติบัณฑิตยสภา' ส่องวิสัยทัศน์ผู้สมัครตัวเต็ง


เพิ่มเพื่อน    

    การเลือกตั้ง “คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภา” ชุดใหม่ พ.ศ.2563 แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่จะหมดวาระลงในวันที่ 11 ก.ย.2563 เริ่มขึ้นมากว่า 1 เดือนแล้ว ตั้งแต่การส่งบัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์ให้สมาชิกเนติฯ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา โดยกำหนดส่งบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนคืนกลับมายังเนติบัณฑิตยสภา ภายในวันที่ 28 ส.ค.2563 ก่อนเวลา 16.30 น. และกำหนดตรวจนับคะแนนวันที่ 29 ส.ค.2563 คือ นับจากนี้อีกประมาณ 1 เดือนเศษคงได้ทราบว่าใครบ้างจะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภาชุดใหม่

                “เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์” เป็นองค์การอิสระที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ถือเป็นสถาบันสำคัญที่มีบทบาทส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยด้านวิชาการของการประกอบอาชีพทางกฎหมาย รวมทั้งจัดหาทุน ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก รวมถึงมีการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สำหรับคณะกรรมการ 23 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นนายกเนติบัณฑิตยสภา ประธานศาลอุทธรณ์เป็นอุปนายกคนที่ 1 และอัยการสูงสุดเป็นอุปนายกคนที่ 2 คณะกรรมการที่เหลือ 20 คนมาจากการเลือกตั้ง ทั้งจากสายตุลาการ อัยการ ทนายความ และบุคคลอื่น สายละ 5 คน โดยกรรมการมีวาระ 4 ปี

            บัตรเลือกตั้งกรรมการเนติฯ จะมี 4 ประเภท ดังนี้ 1.สีฟ้า ประเภทข้าราชการตุลาการ 2.สีชมพู ประเภทข้าราชการอัยการ 3.สีเหลือง ประเภททนายความ 4.สีเขียว ประเภทบุคคลอื่น โดยภายในซองบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทจะประกอบด้วยบัญชีรายชื่อสามัญสมาชิกผู้มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเนติฯ และส่งไปรษณีย์สำหรับใส่บัตรเลือกตั้ง เพื่อส่งกลับมายังเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งสามารถเลือกตั้งกรรมการเนติฯ จากบุคคลในประเภทของตนจำนวนไม่เกิน 5 คน

            ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประเภทผู้สมัครรับเลือกตั้งที่คาดกันว่าจะมีการแข่งขันอย่างดุเดือดคือ สายข้าราชการอัยการ เนื่องจากตำแหน่งเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา และเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปีนี้กำหนดต้องมาจากสายอัยการตามธรรมเนียม ที่จะเวียนสลับกับสายตุลาการและสายทนายความไปตามวาระ โดยในสายอัยการ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน เปิดเผยนโยบาย วิสัยทัศน์ อาทิ

                “ศักดา ช่วงรังสี” รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และรองเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เสนอเน้นการสานต่อนโยบายและหลักเกณฑ์ ตามที่คณะกรรมการเนติฯ ทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาวางไว้ กับย้ำการสอดแทรกจริยธรรม คุณธรรมของนักกฎหมาย และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นเครื่องมือในการให้นักศึกษาเข้าถึงการเรียนการสอนของเนติฯ ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และปรับตัวให้ทันกับปัญญาประดิษฐ์ที่จะถูกนำมาใช้ในวิชาชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พร้อมทั้งอยากจะผลักดันให้ข้าราชการอัยการเข้าไปมีบทบาทในภารกิจของเนติฯ และสำนักอบรมฯ ให้มากยิ่งขึ้น เช่น ในเรื่องการคุมสอบและการตรวจข้อสอบ เป็นต้น

            ขณะที่ “พฤฒิพร เนติโพธิ์” อธิบดีอัยการสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย อาจารย์ผู้บรรยายวิชาทรัพย์-ที่ดิน เนติฯ เสนอนโยบายส่งเสริมบทบาทของพนักงานอัยการให้เข้ามาทำงานร่วมกับเนติฯ มากขึ้น ให้นักกฎหมายรอบรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ พร้อมสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนทางออนไลน์, การอบรมกฎหมายพิเศษต่างๆ, เพิ่มการพัฒนาภาษาต่างประเทศ, เพิ่มจำนวนทุนสงเคราะห์นักศึกษา รวมถึงไม่คิดค่าลงทะเบียนสำหรับนักศึกษาที่ขัดสนทางการเงิน และการให้ความรู้ทางกฎหมาย

            อีกด้าน ผู้สมัครสายทนายความที่ให้สัมภาษณ์ มีอาทิ “ว่าที่พันตรี ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง” นายกสภาทนายความฯ กล่าวถึงผลงานที่ผ่านมา ที่โดดเด่นในด้านการช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย และการทำงานประสานกับทุกสายวิชาชีพได้เป็นอย่างดี เน้นหนักในการสนับสนุน ส่งเสริมด้านทักษะ วิชาการ เทคโนโลยี เพื่อยกระดับวิชาชีพทนายความและนักกฎหมายไทย มีความมุ่งมั่นตั้งใจ เสนอตัวขออาสาพี่น้องทนายความเป็นผู้แทนของวิชาชีพ ทำงานให้กับทนายความทั่วประเทศ เพื่อเป็นเสียงของทนายความในเนติฯ ไปทำประโยชน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทนายความเพื่อนร่วมวิชาชีพ

            ส่วน “ชาลี ทัพภวิมล” อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ที่มาลงสมัครในสายทนายความ ได้เสนอนโยบายการตั้งวิทยาลัยวิชาชีพทนายความชั้นสูง ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะทนายความ คล้ายกับหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) ของศาลยุติธรรม ที่เน้นภาคปฏิบัติ โดยสังกัดกับเนติฯ

            ในฝั่งของผู้สมัครสายบุคคลอื่นก็ไม่น้อยหน้า มีบิ๊กเนมอย่าง “อรรถพล ใหญ่สว่าง” ประธานคณะกรรมการอัยการ อดีตอัยการสูงสุด ซึ่งเกษียณจากข้าราชการอัยการแล้ว จึงลงสมัครในสายบุคคลอื่น เปิดเผยถึงประสบการณ์ในอาชีพที่ผ่านมา ทั้งในฐานะอัยการและอดีตกรรมการเนติฯ หลายสมัย ปัจจุบันเป็นประธานอนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศของเนติฯ หากได้เข้าไปเป็นกรรมการจะสานต่อเรื่องการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยการบริหารและการสอน

            อีกคนคือ “สราวุธ เบญจกุล” เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งถือเป็นตำแหน่งฝ่ายธุรการของศาลยุติธรรม จึงลงสมัครในสายบุคคลอื่นเช่นกัน ได้เผยถึงประสบการณ์ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการเนติฯ มาแล้ว 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 ปี ทั้งเหรัญญิก นายทะเบียน และเลขาธิการสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติฯ เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณายกระดับเพิ่มพูนความรู้ เพิ่มศักยภาพ เสนอย้ำถึงนโยบายจะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน และการอบรมเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย

                ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของผู้สมัครรับเลือกตั้งกรรมการเนติฯ ที่พร้อมทำงานเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ คุณธรรมของนักกฎหมายไทยทุกสาขา เหลือเวลาอีกเพียง 1 เดือนเท่านั้น ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการเนติฯ จะตัดสินใจเลือกคนที่รักในวงการนักกฎหมายไปทำงานยังเนติบัณฑิตยสภา มุ่งพัฒนานักกฎหมายทั่วประเทศไทย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"