ฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด “สีบัวทอง” จากพระเมตตา ร.10 สู่ชุมชนเข้มแข็ง-เกื้อกูล


เพิ่มเพื่อน    

 

        นับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่ชาวไทยว่า "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป" ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจไม่ได้ว่างเว้น ทั้งในงานพระราชพิธี การพระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าฯ ครอบคลุมพระราชกรณียกิจทั้งด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การต่างประเทศ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี คู่พระบารมี รัชกาลที่ 10 ทรงงานเคียงข้าง

     ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้มีแรงงานตกงานถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก และต้องกลับไปอยู่ที่ภูมิลำเนา ทำให้ขาดรายได้มาจุนเจือครอบครัว ในหลวงและพระราชินีพระเมตตาแผ่ไพศาล ทรงให้ความสำคัญกับความทุกข์ยากของราษฎรทั่วทุกพื้นที่ ทรงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด

 

 

     หนึ่งในพระบรมราโชบายสำคัญ คือ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ต้านภัยโควิด-19 ในหลวงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำที่ดินในโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทั้ง 30 ฟาร์มจากจำนวน 61 ฟาร์มทั่วประเทศ น้อมนำโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ในหลวง ร.9 มาใช้สนับสนุนการจ้างงานประชาชนมีรายได้อีกครั้ง และสามารถต่อยอดองค์ความรู้จากการเรียนรู้ภายในฟาร์มนำไปประกอบอาชีพหารายได้เลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบันมีผู้สมัครทั้งหมด 1,104 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 2 ฟาร์ม 110 คน ภาคกลาง 3 ฟาร์ม 150 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 ฟาร์ม 346 คน และภาคใต้จำนวน 15 ฟาร์ม 498 คน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งขึ้น สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งจังหวัดและประเทศ

 

 

     ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง และเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนโครงการนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

       ความทุกข์ยากของราษฎรยามเผชิญเชื้อโรคร้ายได้รับการปัดเป่า สะท้อนชัดเจนผ่านที่ดิน 15 ไร่ ซึ่งพัฒนาเป็นฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด-19 ซึ่งตั้งอยู่ในฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านยางกลาง ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ที่มีเนื้อที่ทั้งหมด 720 ไร่ น่าทึ่งจากการเยี่ยมชมพื้นที่โดยรอบ 15 ไร่ เดิมเป็นเพียงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ของฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ แต่ชาวแสวงหาทั้งชายและหญิงร่วมแรงแข็งขันพลิกฟื้นผืนดินทำการเกษตร พร้อมเรียนรู้การบริหารจัดการพื้นที่ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ มีการเอามื้อสามัคคี ปั้นโคก สร้างหนอง ขุดสระลึก 7 เมตร 3 สระ นำดินที่ขุดขึ้นมาถมให้เป็นชาน ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน แถมเป็นที่วางไข่ของปลาน้อยใหญ่ ทั้ง 3 สระน้ำความจุรวม 3 หมื่นลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอีกหัวใจของพื้นที่ช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้ ในฟาร์มยังนำร่องทำนาปลูกข้าว กข. ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ช่วยสร้างแหล่งอาหาร เพิ่มศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และมีรายได้ช่วยเหลือครอบครัวคลายปัญหาในช่วงวิกฤติ

 

 

     นายวรัตม์ มาประณีต นายอำเภอแสวงหา กล่าวว่า แม้จังหวัดอ่างทองจะไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 แต่ด้วยสถานการณ์ที่โรคระบาดไปทั่วประเทศ ทำให้ราษฎรในอำเภอแสวงหาดำรงชีวิตอย่างยากลำบาก แม้ประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิดของรัฐบาลไปบ้างแล้ว แต่พี่น้องก็ยังประสบปัญหา กลับมาทำงานไม่ได้ โรงงานปิด ขาดรายได้ ทั้งยังมีภัยแล้งซ้ำเติม ทางอำเภอสำรวจว่ามีปัญหาอะไร ต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไร โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ ทำให้เราประกาศรับสมัครประชาชนผู้ว่างงานร่วมโครงการ จากนั้นกำนันและผู้ใหญ่บ้านคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการจ้างงาน ยึดหลักเกณฑ์เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโรงงานเลิกจ้างหรือหยุดกิจการ, ประชาชนที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขาย ทำร้านอาหาร และเกษตรกรที่ไม่สามารถขายพืชผลได้ โดยทำงานวันจันทร์ถึงวันเสาร์

     “ เราคัดเลือกผู้ว่างงานจริงๆ จากพิษโควิด และสามารถทำงานในฟาร์มตัวอย่างได้อย่างต่อเนื่อง เพราะหัวใจของโครงการนี้ไม่ใช่แค่การจ้างงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่อย่างเป็นขั้นตอน น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำเนินชีวิตมากขึ้น และแบ่งปันให้ผู้อื่น อำเภอแสวงหาจะนำโมเดลนี้ไปเป็นต้นแบบผลักดันให้เกิดฟาร์มตัวอย่างฯ ในทุกตำบลที่มีหมู่บ้านยากจน รายได้เฉลี่ยไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี จากฟาร์มตัวอย่างบ้านยางกลาง 15 ไร่ อาจใช้พื้นที่แค่ 1 ไร่ ปรับตามความเหมาะสม ปลูกผักกิน อำเภอจะทำควบคู่กับโครงการศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอแสวงหา เป้าหมาย 7 หมู่บ้าน 7 ตำบล นายวรัตม์ กล่าว

 

     ในหลวง รัชกาลที่ 10 ทรงส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมพร้อมเมื่อเผชิญวิกฤติซึ่งนับวันใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที การอยู่รอดและฟื้นฟูชีวิตหลังวิกฤติด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถทำได้จริงและถ่ายทอดให้คนอื่นๆ ต่อไป นายบุญล้อม เต้าแก้ว คณะทำงานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ครูกสิกรรมธรรมชาติโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด กล่าวว่า ฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านยางกลาง นำแนวเกษตรทฤษฎีใหม่มาออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน ปั้นโคก ขุดหนอง เน้นสร้างแหล่งน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ตนเอง เพื่อให้เก็บน้ำฝนไว้ใช้และกินตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังสร้างพื้นที่สีเขียว เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค ด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง พร้อมทั้งปลูกพืชที่แปรเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แชมพู สบู่ น้ำยาอเนกประสงค์ ทำให้ชาวบ้านที่ร่วมโครงการ 48 คน ซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม หรือเรียกว่า 4 หมู่บ้าน ดูแลพื้นที่ 15 ไร่ อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการคิด ไม่ปลูกสะเปะสะปะ พร้อมทั้งฝึกอบรมทักษะความรู้ต่างๆ จากวิทยากรชั้นครูของเกษตรกรจังหวัด, กศน. ควบคู่การหนุนนำให้เกิดจิตอาสาตามแนวพระราชดำริรัชกาลที่ 10

     “   ชาวบ้านเป็นลูกชาวนา เพียงหนีไปทำงานในเมือง เมื่อเจอวิกฤติโควิดก็กลับบ้าน เช้าจรดเย็นทุกๆ วันในฟาร์มตัวอย่างฯ ทั้ง 30 แห่ง เป็นห้องเรียนกสิกรรมธรรมชาติ สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม เหมือนเป็นเจ้าของแปลงของตนเอง ไม่ได้เป็นแรงงาน เกิดความรักและภาคภูมิใจในแผ่นดิน เพราะผืนดินนี้สร้างความสุข อนาคตจะหวงแหนที่ดิน ไม่ขาย นี่คือแหล่งอาหารที่มั่นคง ไม่มีเงินก็อยู่ได้ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังสร้างความสามัคคีในสังคมไทย เป็นทางรอดทั้งโรคระบาด ภัยแล้ง น้ำท่วม ทรงสร้างคน ให้พึ่งพาตนเอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณในหลวงและพระราชินีอย่างหาที่สุดไม่ได้ นายบุญล้อม กล่าว

 

 

     นางรัชนีพร พลรักษา ชาวแสวงหา จ.อ่างทอง กล่าวว่า มีอาชีพรับจ้างทั่วไปแต่ตกงานเพราะโควิดระบาดเครียดแต่ยังต้องกินต้องใช้ เมื่อทางอำเภอประกาศเสียงตามสายรับสมัครชาวบ้านร่วมโครงการฟาร์มตัวอย่างฯต้านโควิดก็สนใจและได้รับคัดเลือกทำงานในฟาร์มตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากเดิมไม่มีความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ เมื่อเข้าอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติมีความรู้เยอะมาก ครูสอนตั้งแต่วิธีขุดล้อมต้นไม้ เพาะกล้า ห่มดินปูฟาง ทำให้ดินชุ่มชื้น ขุดคลองไส้ไก่ ขุดสระ ปล่อยปลาทั้งปลานิล ตะเพียนขาว ตะเพียนทอง ปลาสวาย ปลาบึก กุ้งก้ามกราม แปลงนาก็มี ดำนาแล้ววันที่ 3 มิ.ย. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระราชินี จะเกี่ยวข้าวกันวันแม่ 12 สิงหาคมนี้ ตนรับหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านที่ 4 ชื่อบ้านปันสุข เรามีคำขวัญ วิถีเกษตรทฤษฎีใหม่ต้องเรียนรู้ไว้ มีเหลือใช้ให้แบ่งปัน พื้นที่เรายังปลูกหม่อนกินผลด้วย

      “ ฟาร์มต้านโควิดเป็นวิถีกสิกรรมธรรมชาติ มีโคกหนอง นา ที่เราช่วยกันสร้างเพื่อกักเก็บน้ำ ตอนนี้ผลผลิตทยอยออกแล้ว พวกพืชผักสวนครัวไม้ผลชาวบ้านในโครงการได้นำกลับไปกิน เหลือก็แจกจ่ายเพื่อนบ้าน แล้วยังได้ความรู้อาชีพเสริมจากวิทยากรที่มาอบรมทุกวันช่วงบ่าย ทั้งวิธีทำสลัดโรล ทำวุ้นแบบง่ายๆ จะกินเองหรือทำขายก็ได้ ชาวบ้านทุกคนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวง จากนี้ตนจะเลิกรับจ้างรายวันหันมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่บนพื้นที่ 3 ไร่ของตัวเอง จะปรับปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เพราะเห็นประโยชน์จริงๆ นางรัชนีพร กล่าวด้วยความตั้งใจจะกลับไปพลิกดินทำเกษตรผสมผสานพออยู่พอกิน

 

 

     นายชั้น แย้มอยู่ หรือลุงชั้น วัย 67 ปี ตกงานด้วยพิษโควิด แต่มาลุยงานเกษตรเป็นสมาชิกในฟาร์มตัวอย่างฯ บอกว่าต้องหยุดทำงานและกักตัวอยู่บ้านเพราะสูงอายุ เป็นกลุ่มเสี่ยง ลูกก็ส่งเงินให้น้อยลงเหลือเดือนละ 1,000 บาทจากที่ให้ 2,000 บาท เพราะได้รับผลกระทบเหมือนกัน แค่มีงานทำก็ภาคภูมิใจแล้ว แต่นี่ยังได้วิชาเกษตรทฤษฎีใหม่ติดตัว คิดว่ามาถูกทางแล้ว ได้ปลูกผัก ขุดบ่อเลี้ยงปลา ทำคลองไส้ไก่ การทำงานในพื้นที่ฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านโควิดมีความสุข ชื่นใจได้เห็นผลผลิตในสวน จากที่เคยป่วยพอได้ทำเกษตรก็หายเป็นปกติ มีร่างกายแข็งแรง การได้รับพระราชทานความช่วยเหลือครั้งนี้ตนปลื้มใจและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ถ้ามีการแพร่ระบาดซ้ำอีกระลอก พวกเราจะไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถดำเนินชีวิตด้วยความต่อเนื่องได้

28 กรกฎาคม 2563 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"