ขนส่งฯควัก281ล้านบาทสร้างศูนย์ขนส่งฯนครพนม


เพิ่มเพื่อน    

 

29 ก.ค. 2563 นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม จำนวน 115 ไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตาม พ.ร.บ.เวนคืนที่ดิน พ.ศ.2562 ในพื้นที่ 115 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของเอกชน โดยใช้วงเงินค่าเวนคืน 281 ล้านบาท คาดว่าจะทำสัญญาและจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน ได้ในไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค.-31 ธ.ค.63) ของปีงบประมาณ 64 ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างประชุมคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อพิจารณาร่างเอกสารประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนได้ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 64 เมื่อกระบวนการทุกอย่างแล้วเสร็จคาดว่าจะเริ่มสร้างปี 65 แล้วเสร็จปี 68 ใช้เวลาสร้าง 3 ปี

สำหรับการให้บริการโครงการนี้จะเป็นพื้นที่รวบรวมและกระจายสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ ช่วยลดปริมาณการขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มคันและรถเที่ยวเปล่า รวมทั้งเป็นลานเปลี่ยนหัวลาก-หางพ่วง ระหว่างรถบรรทุกไทยกับรถบรรทุกต่างประเทศ ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้มีพื้นที่สำหรับตรวจปล่อยสินค้าของหน่วยงาน CIQ (Customs/Immigration/Quarantine) คือการนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้า นักท่องเที่ยวและผู้เดินทางผ่านเข้าออกและการตรวจคัดกรองพืชและสัตว์มาไว้ ณ จุดเดียวกัน แบบการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) และสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ควบคุมร่วมกัน หรือ Common Control Area (CCA) ในอนาคต และ อื่นๆ เช่น ปลั๊กเสียบตู้แช่เย็น สำหรับขนส่งผัก-ผลไม้สด และ ให้บริการเช่าคลังสินค้าทัณฑ์บน

สำหรับโครงการนี้จะใช้วงเงินดำเนินการรวมทั้งหมด 1,464.5 ล้านบาท โดยรูปแบบการร่วมลงทุน แบบ PPPNet Cost คือ ภาครัฐต้องจัดหาที่ดิน ก่อสร้างอาคารสำนักงานและโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด รวมมูลค่า 1,147 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 846.2 ล้านบาท ค่าควบคุมงาน 14.8 ล้านบาท และค่าเวนคืน 281 ล้านบาท ส่วนภาคเอกชนต้องลงทุนรวม 317.52 ล้านบาท ได้แก่ ลงทุนก่อสร้างอาคารใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์มูลค่า 188.92 ล้านบาท แบ่งเป็นระยะที่ 1 ใช้วงเงิน 125.06 ล้านบาท ประกอบด้วย อาคารรวบรวมและกระจายสินค้า คลังสินค้าทั่วไป อาคารซ่อมบำรุง โรงอาหารทั่วไป จุดตรวจทางเข้า-ออก สถานีชั่งน้ำหนัก และระยะที่ 2 วงเงิน 63.86 ล้านบาท ได้แก่ ชานชาลาหลังที่ 2

นอกจากนี้ต้องจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์มูลค่า 113.36 ล้านบาท แบ่งการดำเนินการเป็น ระยะที่ 1 จำนวน 95.72 ล้านบาท ประกอบด้วย เครนชนิดแบบติดตั้งถาวร (Fixed Crane) รถยกตู้คอนเทนเนอร์ (Reach Stacker) ระบบไฟฟ้าสำหรับจ่ายไฟตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Reefer) ไว้เก็บสินค้าประเภทอาหารสด ผักและผลไม้สด อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า เช่น รถยก ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการ และ ระยะที่ 2 มูลค่า 17.65 ล้านบาท ได้แก่ การจัดซื้อเครนชนิดแบบติดตั้งถาวร นอกจากนี้เป็นค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 15.24 ล้านบาท ทั้งนี้ภาคเอกชนต้องรับความเสี่ยงทางด้านรายได้ โดยจ่ายเป็นค่าสัมปทานให้กับภาครัฐ ระยะเวลา 30 ปี เป็นเงิน 291 ล้านบาทด้วย

สำหรับโครงการนี้ ตั้งอยู่ที่ ต.อาจสามารถ อ.เมือง ประชิดด่านพรมแดนนครพนม และสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าทางถนน รองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศผ่านเส้นทาง R12 เชื่อมต่อระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม-จีนตอนใต้ (นครหนานหนิงมณฑลกวางสี) โดยเมื่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการจะรองรับปริมาณสินค้าได้สูงสุด 164,431 TEUs รองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งกับระบบราง (Shift Mode) ผ่านแนวรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม โดยได้หารือและบูรณาการการทำงานร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อให้มีการเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อควบคู่ด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"