ชัดเจน! ประธานกสม. เตือนม็อบใช้เสรีภาพแสดงออกได้ แต่ต้องเคารพสิทธิ-ชื่อเสียงผู้อื่น อย่าละเมิดกฎหมาย


เพิ่มเพื่อน    

31 ก.ค.63 - นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)​ เปิดเผยถึงกรณีที่เยาวชนหลายกลุ่มได้ชุมนุมเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐดำเนินการหลายประการตั้งแต่กลางเดือนก.ค. 63 เป็นต้นมา ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยเยาวชนบางกลุ่มมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีความห่วงใยต่อสถานการณ์การชุมนุมเพื่อแสดงออกทางการเมืองของเยาวชนกลุ่มต่างๆอย่างต่อเนื่อง และได้ส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสม. เข้าสังเกตการณ์การชุมนุมอย่างใกล้ชิด โดยหวังว่าจะเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

ในเรื่องที่มีความเห็นต่าง พึงระมัดระวังการกระทบกระทั่งกัน ขอให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมาย เคารพสิทธิของผู้อื่น และขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพึงใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล กับขอให้สังคมมีความอดทนและเคารพต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งเป็นคุณค่าสำคัญของสังคมพหุวัฒนธรรมที่จะทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ที่มาชุมนุม พึงปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ที่ราชการกำหนด

“แม้ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ เด็กที่สามารถมีความคิดเห็นเป็นของตนเองแล้วมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นได้เสรีในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก โดยความคิดเห็นดังกล่าวของเด็กจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังตามสมควรแก่อายุและวุฒิภาวะของเด็กคนนั้น และแม้เด็กจะมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก แต่การใช้สิทธิดังกล่าว ก็ต้องเคารพต่อสิทธิและชื่อเสียงของบุคคลอื่นด้วย” นายวัส กล่าว

ส่วนข่าวที่ระบุว่ามีบุคคล 2 คน โต้ตอบกันเกี่ยวกับแนวคิดในโครงการดับอนาคต โดยจัดทำบัญชีบุคคลผู้จาบจ้วงหมิ่นสถาบันเบื้องสูงส่งให้บริษัทห้างร้าน หน่วยงานของรัฐและสถานศึกษาอย่ารับเข้าทำงานหรือเข้าศึกษาต่อหรือให้ทุนและพาดพิงถึงบทบาทและภาระหน้าที่ของ กสม. นายวัส ระบุว่า  บุคคลหรือองค์กรใดเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็มาร้องขอให้ กสม.เข้าตรวจสอบได้ ไม่ใช่กล่าวหากันผ่านสื่อ

“กสม. คอยเฝ้าระวังเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่เสมอ แต่หากมีการกระทำใดเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน บุคคลสามารถดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งเป็นกลไกปกติในการยุติปัญหา ในกรณีที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเรื่องใดเป็นความผิดอาญา และผู้เสียหายไม่อยู่ในฐานะที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษด้วยตนเองได้ กสม.จึงจะมีอำนาจร้องทุกข์หรือกล่าวโทษแทนได้”  นายวัสกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"