เด็กทุกคนต้องมีพื้นที่ยืนในสังคม ไม่ใช่ Nobody’s Child


เพิ่มเพื่อน    

วงเสวนาสาธารณะขับเคลื่อนความรู้สุขภาวะพัฒนาศักยภาพเยาวชน เจาะใจหมอเด็กเล่าถึง เด็กที่ไม่มีใครต้องการ เรียนรู้ ปรับตัวช้า เตือนอย่าอ่านเพียง paper work อย่างเดียว ต้องจับเข่าคุยทุกปัญหา ระบบการศึกษาแพ้คัดออกคือปัญหาใหญ่ เป็นการแยกเด็กที่มีสีผ้าแตกต่างกัน เด็กทุกคนต้องมีพื้นที่ยืน ไม่ใช่เป็นเด็ก Nobody’s Child

 

สสส.ร่วมกับสำนักพิมพ์ Bookscape จัดเสวนาสาธารณะโครงการขับเคลื่อนความรู้สุขภาวะ พัฒนาศักยภาพเยาวชนชวนเรียนรู้ “จิตวิทยาสังคม” ในฐานะเครื่องมือในการมองโลก#เปลี่ยนโลก เพื่อขับเคลื่อนและสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลากหลายมิติ ทั้งการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจทางสังคม การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง การทำงานด้านเด็กและเยาวชน ตลอดจนการลดอคติและสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก ผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์การประยุกต์ใช้จิตวิทยาสังคมจากหลากหลายแวดวง นำโดย ทิชา ณ นคร หรือป้ามล ผอ.บ้านกาญจนาภิเษก รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.ศูนย์คุณธรรม กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แปลจิตวิทยาสังคม ความรู้ฉบับพกพา พรจรรย์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ก่อตั้ง School of Changemakers ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ที่ปรึกษาด้าน Communication Strategy โครงการ Rethink Thailand

 

 

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.ศูนย์คุณธรรม กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า การมองสังคม การมองโลก ใช้ทุกอย่างผสมผสาน การดูชีวิตของคนหนึ่งๆ มากกว่าการอ่านเอกสาร มีเคสหนึ่งเข้ามาหารือ หมอทุกคนพูดแบบทิ้งทวนว่า เราฉีกไอคิวเทสต์ทิ้งได้ที่ รพ.กลางมีการทดสอบไอคิว นักจิตวิทยาบอกว่าหมอเจอเรื่อง slow learner หมอขอเรียกว่าทึ่มมากในการปรับตัวได้ช้ากว่าจะเรียนรู้ แต่ประโยคหนึ่งที่เขาพูดว่า “หมอจะเอาอะไรกับผมอีก ผมถูกผู้ใหญ่กระทำมามากพอแล้ว” ประโยคที่สองที่เขาพูดออกมาว่า “หมออย่าย้ำจุดอ่อนของผมจนแม้แต่แกนชีวิต คำพูดแบบนี้ไม่ใช่ Slow Learner แน่นอน เพราะเขาโต้ตอบกับหมอ ผมนั่งลงเพื่อคุยกับเด็ก ต้องดูหัวจิตหัวใจของเด็ก ไม่ใช่แต่เพียงอ่าน paper work เท่านั้น เราดูประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา ผมทำหน้าที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบเท่ากับป้ามล (ทิชา ณ นคร ผอ.บ้านกาญจนาภิเษก) ถ้าผมอยู่ใน Hall จะลุกขึ้นปรบมือให้กับป้ามลว่าเหนือยิ่งกว่าจิตแพทย์ ป้ามลครับ ป้ามลล้มทฤษฎีของโลก ผมไปที่สหรัฐ เชิญผมเข้าไปประชุมโต๊ะกลม คุยกันเรื่องพัฒนาการของสมอง

 

ลินดาสเมียร์เขียนตำราพูดถึง personality ถ้ามองไปจนถึงขนาดหนึ่งจะแข็งตัวเหมือนกับสุภาษิตไม้อ่อนดัดง่าย ไม่แข็งดัดยาก ยิ่งเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นยิ่งดัดยาก ลินตาสเปียร์พูดบนเวทีนานาชาติ ขณะนี้บ้านกาญจนาได้รับการบันทึกไว้ในต่างประเทศ ผมไม่เชื่อเรื่องจิตวิทยาทั้งโลกในเรื่อง landset เมื่อมีการประชุมเขาพูดเรื่องเทียนไขเหลวเหมือนกับความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย มีการปั้นรูปจนแข็งตัว เมื่อกลายเป็นนิสัยแล้วดัดยาก หมอสะท้อนว่าเหตุการณ์ที่เราเจอที่บ้านกาญจนานั้น ผมพานักศึกษาปริญญาโทไปดูงานด้านจิตวิทยาเด็กในเรื่องการเรียนรู้ ทำไมที่นี่ถึงทำได้ อะไรคือสาเหตุและปัจจัยสำคัญ ที่บ้านกาญจนา ป้ามลพลิกทฤษฎีที่ว่าทฤษฎีไม่สามารถปรับเปลี่ยน คนเราเมื่อเจอวิกฤติที่สุดในชีวิต เทียนไขจะละลายตัวเอง ตั้งขึ้นรูปอย่างบิดเบี้ยวจากสภาพแวดล้อม แต่โดยวิกฤติหลอมจนตัวตนพังพินาศ ที่บ้านกาญจนาเขาพัฒนาวิธีคิดด้วยพลังและเปล่งรัศมีได้ทุกกระบวนการ ทุกทฤษฎีได้รับคำตอบ How to ทำได้อย่างไร ป้ามลตัวจริงเป็นผู้ชี้ ไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น การเรียน parenting เป็นหัวใจที่สำคัญมาก การปั้นผิดรูปจะยุ่งกันไปใหญ่ ด้วยหัวจิตหัวใจเราคงไม่ดูที่ paper เราใช้ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับหัวใจเด็กให้ได้รับการคุ้มครองพัฒนาด้วย

 

“หมอใช้ระบบนิเวศ หลายครั้งที่หมอพูดเหมือนกับแผ่นเสียงตกร่อง เราต้องพูด 2-3 เรื่องที่ฝากไว้บันทึกกู่ก้องทั่วประเทศ หมอส่งสัญญาณได้ชัดเจนว่า 100% ผู้ใหญ่เป็นผู้ส่งเด็กเข้ามาพบหมอ เกินกว่าครึ่งหมอต้องรักษาคนที่พาเด็กมารักษา ต้องซ่อมคนที่ส่งเด็กมา ส่งสัญญาณ 75% ต้องเยียวยาเด็กที่ส่งเข้ามา ผู้ใหญ่ระบบนิเวศของเด็กป่วยยิ่งกว่าตัวเด็กเสียอีก 25% คือตัวเด็ก ป้ามลบอกว่าไม่มีใครเกิดมาเป็นอาชญากร หมอบอกว่า 25% ไม่ใช่เขาเป็นอาชญากร เขาเป็นเด็กมีปัญหา ออทิสติก intellectual ปัญญาอ่อนเกิดมามีปัญหา เหตุและปัจจัยเราต้องช่วยเหลือเขาด้วย ถ้าระบบนิเวศแข็งแรงจะคุ้มครองเด็กได้ หลายคนถูก abuse สุขภาพของเด็กเลี้ยงยากและยังเป็นออทิสติก เขาไม่ได้อยากเป็นเช่นนี้ เขาเลือกเกิดเองไม่ได้ พัฒนาการไม่สมบูรณ์จะไปโทษใครได้ ต้องเยียวยาเด็กด้วย หมอขอบันทึกรายการผ่านระบบการศึกษา วันนี้ผู้บริหารทั้งประเทศต้องช่วยกันด้วย ยิ่งระบบแพ้คัดออก เด็กเกิดน้อยลง ที่นั่งในมหาวิทยาลัยเกินตัวเด็ก การที่ปล่อยเด็ก drop out คัดเด็กออกเป็นเด็กหน้าห้อง เด็กหลังห้อง”

 

หมอขอตั้งคำถามวิทยากรและทุกคนภายในห้องนี้ว่าเด็กทุกคนเกิดมาเป็นผ้าสีอะไร? ผู้ใหญ่ที่อยู่ข้างนอกห้องพูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง เด็กทุกคนเป็นผ้าขาว ใส บริสุทธิ์ เราพูดถึงเด็กทุกคนใส บริสุทธิ์ แต่ปัจจัยแวดล้อมสังคม ลวดลายที่เกิดบนผืนผ้า เด็กทุกคนเป็นผ้าสีพื้น ไม่ปฏิเสธสีใสบริสุทธิ์ขาวทั้งผืน ผ้าสีฟ้าทั้งผืน สีเหลืองทั้งผืน เป็นสีใสบริสุทธิ์ ลวดลายเกิดบนผ้าสีฟ้าเกิดจากสภาพแวดล้อม สิ่งที่ต้องการจะบอกพ่อแม่ในครอบครัวไทยว่า อย่าเลี้ยงลูกด้วยการพูดเปรียบเทียบ ต่อให้คู่แฝดที่เหมือนๆ กัน ไข่ใบเดียวกัน รสนิยมไม่เหมือนกัน ถ้าพ่อแม่เลี้ยงลูกแล้วใช้คำพูดเปรียบเทียบมีเจ็บแน่นอน ผ้าสีต่างมีความถนัดที่ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนเป็นเด็กเลี้ยงง่าย สั่งซ้ายสั่งขวาก็หันตาม สั่งให้เป็นหมอก็พร้อมที่จะเป็นหมอ ถ้าเด็กเราเป็นหมอทั้งประเทศ โลกจะไปรอดได้หรือไม่ ทุกวิชาชีพล้วนแล้วแต่มีนัยสำคัญ เราต้องยอมรับในเรื่องความสามารถ ระบบการศึกษาออกแบบมาสำหรับเด็กที่เลี้ยงง่าย

 

มีหมอรายหนึ่งส่งเด็กวัย 3 ขวบมาหาหมอบอกว่าสงสัยจะเป็นโรคสมาธิสั้น เด็กเรียนอนุบาลดีไซน์เพื่อจะเลี้ยงเด็กแบบเลี้ยงง่าย เด็กคนนี้มีพลังเยอะมาก วิ่งทั่วทั้งห้อง ครูสงสัยว่าจะเด็กจะเป็นไฮเปอร์ส่งเข้ามาพบหมอ หมอไม่มียารักษาให้เด็กมีมารยาทงาม ถ้าหมอมีหมอจะแจกยาทั้งประเทศ เด็กในวันนี้เป็นสมาธิสั้นกันทั้งโลก จะให้ยาก็ให้ไม่ถูก ถ้าจะพูดกี่ครั้งก็เหมือนเดิม เด็กไม่ใช่ผ้าขาวเขาจะมีสีที่ต่างกันตามการเลี้ยงดู อย่าเลี้ยงลูกด้วยการพูดเปรียบเทียบ

 

การสร้างระบบการศึกษาที่ดี เด็กทุกคนต้องมีพื้นที่ยืน ไม่ใช่เป็น nobody’s child ด้วยระบบการศึกษาแพ้คัดออก ท่านเคยได้ยินไหมเวลาเด็กถูกทารุณกรรม เราต้องหาสาเหตุว่ามาจากอะไร ทารุณกรรมทางเพศด้วยการลงไม้ลงมือ รวมถึงทารุณกรรมทางด้านจิตใจ ระบบทารุณกรรมเด็กต้องนำมาพิจารณาถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน การสอนเด็กให้ใช้ไหวพริบ ไม่ใช่สอนการท่องจำ อะไรเป็นเครื่องชี้วัดว่าเด็กคนนี้สอบได้ และเด็กคนนี้สอบตก การที่เด็กสอบตกซ้ำซาก ไม่คิดหรือว่าเด็กจะรู้สึกอย่างไร การที่เด็กสองคนเดินเข้าไปในสังคม เด็กคนหนึ่งเรียน รร.สาธิต เด็กอีกคนหนึ่งเรียน รร.วัด เด็กที่เรียนสาธิตหัวใจพองโตเมื่อถูกถามว่าเรียน รร.อะไร ในขณะที่เด็กเรียน รร.วัดจะเหลืออะไร สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เป็นรูปธรรมซ่อนอยู่ในระบบ เด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบยังไม่เข้าใจเรื่องแบบนี้

 

ขณะนี้หลายประเทศยกเลิกการสอบแบบวัดผล ระบบการจัดห้องเด็กหน้าห้อง เด็กหลังห้อง รร.วัดที่สมุทรปราการ ผอ.เปิดใจกว้างมาก ใช้พื้นที่ 10 ไร่ในโรงเรียน เพื่อให้เด็กสำรวจพื้นที่ยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์ คนไหนวาดรูปเก่ง คนไหนเก่งวิทยาศาสตร์ คนไหนเก่งคำนวณ คนไหนเก่งทำขนมจากฟักทอง ไส้เผือก นำมาขายของ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการ เด็กที่เกรด A ในสิ่งที่เขาชอบเปิดพื้นที่ให้เขาได้กล้าแสดงออกบนพื้นที่ที่เขายืนอยู่ เพื่อจะได้ไม่ทิ้ง Self Extreme ครูต้องเปิดจุดแข็งของเด็กจนเขาเป็น Artist เด็กทุกคนอยากมีเป้าหมายในชีวิต

 

เรื่องการเมืองมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มีการตีกัน ผู้ใหญ่ตีกัน 2 หมู่บ้านอยู่กันคนละสี หมอล้อมวงเริ่มต้นพูดคุยกัน การสร้างพื้นที่เกือบจะยกพวกตีกันทุกครั้งที่พูดคุยกัน สงสัยคุยกันด้วยเรื่องปัญหาไม่ได้ ถ้าคุยกันเรื่องนี้จะทำให้สัมพันธภาพเสียหมด แม่ค้ารถเข็นขายก๋วยเตี๋ยวเพียงคนเดียวเจาะใจผมแทบไม่เหลือเลย เขาตั้งธงว่าจะคืนความสุขให้กับแม่ค้า ได้รถเข็นขายก๋วยเตี๋ยวทำมาหากิน เราช่วยกันทำให้แม่ค้าได้รถเข็นขายก๋วยเตี๋ยว คุณป้าร้องไห้เพราะเขาหมดอาชีพ รถพังเสียหายหมด เรื่องนี้เป็นความงดงาม ทุกฝ่ายช่วยเหลือกันทำให้แม่ค้าได้รถเข็นเพื่อขายก๋วยเตี๋ยวด้วยฝีมือการซ่อมแซมจนรถเข็นใช้งานได้ เงินส่วนหนึ่งก็มาจากการบริจาค ด้วยฝีมือของทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในขั้วไหน แต่ทุกฝ่ายก็ช่วยเหลือทำให้คุณขายก๋วยเตี๋ยวได้ เป็นการทำมาหากินประกอบสัมมาอาชีพได้

 

สิ่งเหล่านี้เราต้องช่วยกันถอดบทเรียนร่วมกันบนหลักของสุนทรียะแห่งการสนทนา ค่อยพูดค่อยจากันเพื่อให้เกิดพลังด้านบวก ท้ายที่สุดทั้งสองกลุ่มจับมือกันได้ ปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจกันด้วยความคิดที่แตกต่างกันเปิดการเจรจากัน ปัญหาเคหะชุมชนร่มเกล้าใช้จิตวิทยาเชิงบวก เด็กพ่อแม่ทำงานร่วมกัน ทัศนคติของผู้ใหญ่ที่เปิดกว้าง รับฟังเสียงของเด็ก มีการสำรวจปัญหา หมอเห็นปัญหาแล้วเกือบจะเป็นลม ปัญหายาเสพติด เด็กยกพวกตีกัน ทุกวาระอยู่ในพื้นที่นี้ทั้งหมด เราต้องตามไปดูว่าเด็กกลุ่มนี้มีดีอะไรบ้าง สำรวจต้นทุนชีวิต เคาะประตูบ้าน เป็นการทำงานของ 3 กลุ่มรวมกันสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์

 

เด็กวัยรุ่นยอมรับว่าหนูเห็นแก่ตัว เป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนแปลงเขา แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ก็ไม่เป็นไร วิทยาลัยเทคนิคอาชีวะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของตัวเอง การสร้างแบบฝึกหัดทดสอบ ทดสอบค่ากระแสไฟฟ้าตรงทิ้งไว้เป็นปริศนาธรรม การเลือกกลุ่มที่มีความสนิทสนมกัน บางกลุ่มทดสอบต่อหลอดไฟฟ้าแล้วไฟไม่ติด ช่วยกันแลกเปลี่ยนเพื่อหาจุดแตกต่าง การให้เหตุผลที่ดีที่สุด หมวดวิชาฟ้าเปลี่ยนบริบทด้วยการใส่เนื้อหาให้กลายเป็นเรื่องท้าทายเป็นนวัตกรรม เปลี่ยนพลังจากเด็กที่เฮ้วเฮ้วให้ใช้พลังในทางที่ถูกต้อง แทนที่จะใช้พลังด้านลบ

 

สถาบันพระปกเกล้า การสร้างเส้นทางสันติสุข ทำงานอย่างสันติวิธีเป็นโจทย์ที่ยากกว่าใครจะเป็นผู้เล่น ใครจะเป็นผู้กำหนด ใครจะดำเนินรายการ เราช่วยกันสร้างป้ามล 2 ป้ามล 3 ป้ามล 4 มีป้าอุ้ม 1 ป้าอุ้ม 2 ป้าอุ้ม 3 ต้องเปิด Mind Set ใช้พลัง และต้องมีความเป็นนักสันติวิธีมองโลกและหาจุดร่วมทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี

 

ครอบครัวหนึ่งที่มีพ่อแม่ลูกไม่มีใครผิด ไม่มีใครเป็นตัวปัญหา ครอบครัวมีปัญหา เราอยู่ในครอบครัวเดียวกัน เมื่อมีปัญหาก็ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา จุดเปลี่ยนจะสร้าง Change Agent ใส่เข้าไปในท้องถิ่น เพื่อเปลี่ยนกระบวนการท้องถิ่น โลก Social Media หาคู่ขัดแย้งไม่เจอ เราต้องติดอาวุธทางปัญญาให้กับเด็กด้วย ใส่ในระบบการศึกษา ทุกท้องถิ่นในการสร้างพลังทางบวกด้วย

 

การสร้างการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ head hand heart ด้วยการใช้สติ ใช้อารมณ์ ใช้เหตุผล กม.ต้องมีความเสมอภาคในเรื่องความยุติธรรม ไม่ใช่เป็นไซโล การมีส่วนร่วมด้วยการใช้สติ ไม่ใช้อารมณ์ คนนั้นจะ Change Agent ที่ชนะใจ ช่วยทำให้ปัญหาเบาบางยุติข้อขัดแย้งได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"