'ดร.ธรณ์'ชี้อัดฉีดเงินกระตุ้นท่องเที่ยวแบบเดิมๆไม่ได้ผลแนะหันมาเน้นสุขภาพ-รักธรรมชาติ


เพิ่มเพื่อน    


7 ส.ค.63 - ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้
ไม่ได้พูดถึงโควิดมานาน สถานการณ์โลกยังลำบาก ผู้ป่วยรวม 19.1 ล้าน เดิมทีผมคิดว่าคงเกิน 10 แต่ไม่น่าถึง 20 แต่ถึงตอนนี้คงเกินแน่นอน ได้แต่หวังว่าจะไม่ถึง 30 ครับ
ตัวเลขสูงเช่นนี้เพราะหลายประเทศพีคกว้างมาก เช่น ฟิลิปปินส์ เคยคิดว่าน่าจะพีคช่วงพค.-มิย. แต่ตอนนี้กลับสูงกว่าเดิม
อินเดียเป็นอีกประเทศที่เพิ่มขึ้นตลอด จนยังหายอดพีคไม่เจอ ตอนนี้บวกวันละเกิน 5 หมื่น วันนี้บวกเกิน 6 หมื่นเป็นวันแรก (ตอนเขียนบวกเกิน 6.2 หมื่นครับ)
และหากเป็นเหมือนบางประเทศก่อนหน้านี้ ตัวเลขจะเพิ่มยาวเป็นเดือนๆ
อเมริกาเป็นตัวอย่าง บวกเพิ่มวันละเกิน 4 หมื่นมาตั้งแต่ปลายมิถุนายน ผ่านไป 6 สัปดาห์ ยังไม่เคยมีตัวเลขต่ำกว่า 4 หมื่นเลย และผู้ป่วยสะสมคงเกิน 5 ล้านในคืนนี้
สำหรับประเทศที่เคยคล้ายไทย เช่น ออสเตรเลีย เจอเวฟสองเข้าไป แรงกว่าเวฟแรก เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ดูกราฟจะเห็นชัด (ผมใส่ไว้ในคอมเมนต์ เพราะช่วงนี้เฟซถามตลอด โพสต์ไม่ได้จ้ะ)
ลักษณะแบบนี้เลยยิ่งยากบอกว่าจะมีเวฟไหนตามมาอีกหรือเปล่า เพราะต้องเปิดบ้างปิดบ้างสลับกันไปมา
ผลกระทบแบบนี้ทำให้ท่องเที่ยวระหว่างประเทศคงหยุดยาวอีกนาน เดิมทีใครๆ ก็หวังกับไตรมาส 4 แต่ตอนนี้ไม่แน่ครับ หรือถึงเปิดได้ก็คงช่วงสั้นมาก
ดูจากสถานการณ์นี้ ททท.ก็คงเน้นไทยเที่ยวไทยเต็มกำลัง แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ผลกระทบเศรษฐกิจยิ่งมากขึ้น การส่งออกก็ติดขัดเพราะประเทศคู่ค้าเปิดๆ ปิดๆ
การขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติยังส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆ เช่น ยอดใช้น้ำมันลดลง 16% ฯลฯ
เพราะนทท.ต่างชาติเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนศก.ไทยมาตลอด นั่งรถลงเรือไปมา เข้าร้านอาหารร้านขายของ
สถานการณ์ศก.ไม่แน่นอน ทำให้คนกลัวและอยากเก็บเงินไว้เผื่อฉุกเฉิน การกระตุ้นเที่ยวไทยจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
ผมคิดว่าการกระตุ้นแบบเดิมๆ เช่น อัดฉีดเงินให้คนไปเที่ยว อาจไม่ได้ผลเท่าที่คาด เพราะคนส่วนหนึ่งต้องการเงินเลี้ยงชีพ/งานให้ทำ ไม่ใช่ต้องการเงินไปเที่ยว
อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องใช้วิธีนั้นโดยคาดหวังให้น้อยลง เสริมวิธีอื่นๆ เข้าไป โดยต้องมีหลายแบบเพื่อกระตุ้นคนกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ จะเอาแบบทีเดียวบูมคงยาก
การหันมาเน้นเรื่องสุขภาพ/รักธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่ง
หากดูในตปท. มีหลายอย่างที่ทำได้ เช่น ฟิจิ/มัลดีฟส์มีหลายรีสอร์ทที่เปิดแพคเกจให้แขกมาช่วยดูแลปะการัง ฯลฯ
(ไอเดียนี้ผมนำไปใช้ที่พีพี/มัลดีฟส์ มีแขกที่มาพักสนใจมาร่วมตลอดครับ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเกือบทั้งหมดเป็นต่างชาติ สำหรับคนไทยอาจเป็นช่วงเริ่มต้น ยังมีน้อยแต่ควรวางรากฐานไว้)
อุปสรรคสำคัญเท่าที่ตามดูมา คือเรายังยึดติดกับแนวคิดเดิมๆ แก้ปัญหาแบบเดิมๆ ทั้งที่สถานการณ์เปลี่ยนไปมาก การเพลย์เซฟแบบยุคก่อนกำลังเริ่มไม่ได้ผล
ไม่ได้จะติเตียนอะไร เพราะทราบดีว่าททท./ผู้เกี่ยวข้องก็ไม่เคยเจอสถานการณ์แบบนี้ แต่อยากให้กล้าสักหน่อย ลองวิธีที่หลุดกรอบเดิมบ้าง ผสมผสานไปกับแนวทางเดิม อาจได้ผลมากขึ้น
ในส่วนของภาคเอกชน ตอนนี้กำลังล้า บ้างที่เหลือแรงอยู่ก็พยายามหารายได้สุดตัวในช่วงที่คนยังพอเที่ยวไหว แต่ถ้าสถานการณ์ลากไปอีก 5-6 เดือน คนไทยก็เที่ยวไทยไม่ไหวแล้ว ถึงตอนนั้นก็ใกล้ทางตัน
มันไม่ใช่หมายความว่าควรถอดใจ แต่เขียนเพราะอยากบอกว่าหากต้องการ S-curve เหมือนที่เคยคิดๆ กัน ตอนนี้แหละคือช่วงต้องลงมือ
S ตัวนี้ไม่ใช่จะสร้างรายได้ฉับพลันในตอนนี้ แต่หมายถึง 5-6 เดือนหน้าเรายังพอมีหนทางอยู่ต่อได้
วันนี้เพิ่งให้สัมภาษณ์เด็กๆ รุ่นน้อง ก็พูดเรื่องนี้แหละ new S ไม่ใช่แค่เรื่องของบริษัทหรือองค์กรใหญ่
แต่มันยังหมายถึงรายย่อย และหมายถึงส่วนตัวแต่ละคนว่าจะมองช่องทางอย่างไร
จบง่ายๆ ด้วยการราตรีสวัสดิ์ และหวังว่าเพื่อนธรณ์จะลองพิจารณาให้รอบคอบ คิดให้ดี หาข้อมูลให้เยอะ อ่านในสิ่งที่มีประโยชน์และนำมาใช้กับตัวเองได้
สถานการณ์ข้างหน้ามองไปแล้วไม่ง่าย การหาทางออกจากห้องมืด ไม่ใช่การยืนอยู่นิ่งๆ แล้วรอความหวังว่าจะมีคนมาเปิดไฟให้ แต่ต้องค่อยๆ เดินไปข้างหน้า คลำหาบานประตูและเปิดออกไปเองครับ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"