“ธ.ก.ส.” ระดมทุนด้วย Green Bond ฟื้นผืนป่าลุยพัฒนาศักยภาพชุมชน


เพิ่มเพื่อน    

        โดยที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้ดำเนินโครงการธนาคารต้นไม้สนับสนุนให้เกษตรกรและชุมชนปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง โดยมีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้ว 6,844 ชุมชน มีผู้ร่วมปลูกต้นไม้กว่า 130,000 ราย มีต้นไม้ปลูกเพิ่มในประเทศกว่า 1.2 ล้านต้น สามารถยกระดับกลุ่มธนาคารต้นไม้เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ 153 กลุ่ม และเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกต้นไม้ มีการแปลงมูลค่าต้นไม้เป็นทรัพย์สิน เพื่อนำมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อ

 

 

   ประเด็นเรื่อง “สิ่งแวดล้อม” กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง จากช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกต้องเจอวิกฤติภัยธรรมชาติ ที่ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการละเลยการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งตามกระแสโลกในปัจจุบันได้กลับมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่ความต้องการใช้ไม้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การปลูกไม้เศรษฐกิจกลายเป็นการลงทุนใหม่ที่น่าสนใจ และนโยบายป่าไม้แห่งชาติที่กำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อย 40% ของพื้นที่ประเทศ

ทำให้ “ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)” เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ใส่ใจในประเด็นดังกล่าว และได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพองค์กรและชุมชนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีแผนงานที่สำคัญ ได้แก่ สนับสนุนโครงการชุมชนไม้มีค่าของรัฐบาล ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในรูปแบบวนเกษตร การปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ การพัฒนากลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน เช่น การเพาะกล้าไม้ การปลูก การดูแลรักษา การสร้างมูลค่าเพิ่มจากไม้ การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการปลูกป่าและรักษาสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ โดยดำเนินการผ่าน “การออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond)” โดยพันธบัตรดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อน ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในวัตถุประสงค์ต่างๆ

“อภิรมย์ สุขประเสริฐ” ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ระบุว่า คณะกรรมการธนาคารได้อนุมัติให้ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ในปีบัญชี 2563-2567 โดยในปีบัญชี 2563 จะจัดจำหน่ายพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) วงเงิน 6 พันล้านบาท ซึ่งจะเสนอขายต่อนักลงทุนสถาบัน ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 10 ราย ในรอบระยะเวลา 4 เดือน

โดยมีโครงการสินเชื่อที่เชื่อมโยงการออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1.สินเชื่อรักษ์ป่าไม้ไทยยั่งยืน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการลงทุนและเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ การปลูกสวนป่า หรือปรับเปลี่ยนอาชีพในการปลูกไม้เศรษฐกิจ 2.สินเชื่อ Green Credit วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตเกษตรอินทรีย์หรืออาหารปลอดภัย หรือส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 3.สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย และสินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด สินเชื่อผู้ประกอบการเกษตร (SMAEs) ที่มีวัตถุประสงค์สนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานหมุนเวียน การป้องกันและควบคุมมลพิษ การจัดการน้ำ และการปลูกป่าสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

และเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้จัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 68 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของต้นไม้ การมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่ป่าและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ณ โรงเรียนบ้านบนนา ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

  “ธ.ก.ส.ยืนยันว่า พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

  โดยที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้ดำเนินโครงการธนาคารต้นไม้สนับสนุนให้เกษตรกรและชุมชนปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง โดยมีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้ว 6,844 ชุมชน มีผู้ร่วมปลูกต้นไม้กว่า 130,000 ราย มีต้นไม้ปลูกเพิ่มในประเทศกว่า 1.2 ล้านต้น สามารถยกระดับกลุ่มธนาคารต้นไม้เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ 153 กลุ่ม และเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกต้นไม้ มีการแปลงมูลค่าต้นไม้เป็นทรัพย์สิน เพื่อนำมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อ

  รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก โดยร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ตามโครงการ Low Emission Support Scheme : LESS จำนวน 27 ชุมชน ชุมชนละไม่เกิน 50,000 บาท เป็นเงิน 1,300,000 บาท ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 193,000 ตันคาร์บอน และจัดทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ซึ่งในปีบัญชี 2563 ธ.ก.ส.ได้นำร่องในพื้นที่ธนาคารต้นไม้บ้านท่าลี่และธนาคารต้นไม้บ้านแดง จ.ขอนแก่น มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 90 ราย พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ คาดว่าสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 475 ตันคาร์บอน/ปี คิดเป็นมูลค่าคาร์บอนเครดิตประมาณ 70,000 บาท/ปี

   นอกจากนี้ยังมีการจัดทำโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 10 แห่ง ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี สระบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ปัตตานี รวมพื้นที่ 218 ไร่ และสนับสนุนงบประมาณในการสร้างฝายชะลอน้ำทั่วประเทศ จำนวน 6,540 ฝาย เป็นเงิน 161 ล้านบาท เกษตรกรได้ประโยชน์ 330,000 ราย พื้นที่การเกษตร 620,000 ไร่

  “สมเกียรติ กิมาวหา” รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. ระบุว่า เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการสนับสนุนโครงการ ในปี 2563 ธ.ก.ส.ได้ระดมทุนโดยการออกพันธบัตรด้านสิ่งแวดล้อม Green Bond จำนวน 6,000 ล้านบาท จากเป้าหมาย 20,000 ล้านบาท (ในปีบัญชี 2563-2567) เพื่อนำมาใช้เป็นทุนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับคนในชนบท เช่น สินเชื่อปลูกป่าสร้างรายได้ สินเชื่อรักษ์ป่าไม้ไทยยั่งยืน

“มุ่งสนับสนุนให้ประชาชนหันมาปลูกป่าเพื่อการออม การสร้างมูลค่าเพิ่มจากป่าไม้ในเชิงเศรษฐกิจ การสนับสนุนชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สินเชื่อเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ในช่วงหน้าแล้ง สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้ทายาทเกษตรกรและคนรุ่นใหม่ ที่มีทักษะความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี ด้านการตลาดและการจัดการ หันมาร่วมพัฒนาภาคเกษตรกรรม และสินเชื่อ SMAEs ที่มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาและยกระดับสินค้าการเกษตร เป็นต้น”

อย่างไรก็ดี เป้าหมายและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือ ทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 500,000 ไร่ มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านต้น โดยสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมูลค่ารวมของต้นไม้ 400,000 ล้านบาท มูลค่าจากการเก็บของป่าขาย 1,130 ล้านบาทต่อปี สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 950,000 ล้านตันต่อปี มูลค่าคาร์บอนเครดิต 95 ล้านบาทต่อปี มูลค่าระบบนิเวศบริการ 89,737 บาทต่อไร่ต่อปี โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 38,000 ครัวเรือน อีกทั้งเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 155,000 ราย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"