'เกษียร'ชี้จุดร่วมที่มีคือ ประชาธิปไตย กับ มีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุข ไม่มีใครเสนออะไรที่เกินเพดานนี้


เพิ่มเพื่อน    

11 ส.ค.63- ศาสตราจารย์เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Kasian Tejapira ว่า จะจัดการปัญหาอย่างไร? จุดร่วมและจินตนาการที่แตกต่าง

ปัญหาแก่นแท้คือจินตนาการต่อ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" มีความแตกต่างกัน จะเรียกว่านี่เป็นปัญหามาตรา ๐ (ศูนย์) ของรัฐธรรมนูญก็ได้ และมันแสดงปรากฏต่อสาธารณะแล้ว

จุดร่วมที่มีคือ ประชาธิปไตย กับ มีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุข ควรเริ่มมองจากจุดร่วมตรงนี้ (ไม่มีใครเสนออะไรที่เกินเพดานนี้)

จะจัดการความแตกต่างในเพดานนี้ลงมาอย่างไร?

จินตนาการต่อระบอบเดียวกันที่แตกต่าง เป็นเรื่องทางความคิด แก้ไม่ได้ด้วยอำนาจบังคับ (ไม่ว่าอำนาจจากกำลังรุนแรงหรืออำนาจกฎหมาย) หากใช้อำนาจบังคับ มีแต่ทำให้ยิ่งแตกต่างออกไปมากขึ้น บทเรียนหลายปีหลังมานี้ใต้คสช.เป็นตัวบ่งชี้

ยังมีความแตกต่างระหว่างการเมืองวัฒนธรรม (การเมืองนอกสภา) กับการเมืองในสภา (การเมืองในระบบสถาบัน) ข้างนอกไปไกลแล้ว ข้างในยังไม่ได้เริ่มพูดเท่าไหร่

ทางหลีกเลี่ยงจากความขัดแย้งรุนแรง คืออย่าใช้อำนาจบังคับแก้ แต่ผลักดันให้ไปต่อสู้ทางความคิดที่แตกต่างกันในการเมืองระบบสถาบัน (ในสภา) เริ่มจากมาตรา ๐ ที่ว่านี้ เพื่อหาจุดร่วม ลดความแตกต่างลงระหว่างจินตนาการต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ๒ แบบ (แบบที่เป็นอยู่ กับ แบบที่นักศึกษาเสนอ)

การเมืองไทยต้องอาศัยสติและวุฒิภาวะมากตอนนี้ ควรพยายามเข้าใจเนื้อแท้ของปัญหา (ไม่ใช่ปัญหากฎหมายหรือกบฏ แต่เป็นปัญหาความคิด) และเลือกทางแก้ที่เข้ากัน เหมาะกับปัญหา มิฉะนั้นจะลุกลามบานปลาย

ภาวะเศรษฐกิจหลังโควิด-๑๙ ไม่อนุญาตให้ใช้อำนาจแก้ปัญหาความแตกต่างทางความคิด ถ้าใช้อำนาจ มันจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เกินวิสัยจะแก้ได้.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"