ยุ่งแล้วซิ!'หมอธีระวัฒน์'ชี้แม้ผู้ป่วยมีแอนติบอดี้ ก็ยังปล่อยเชื้อโควิดไปติดคนอื่นได้


เพิ่มเพื่อน    

20 ส.ค.63- นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได่โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก " Thiravat Hemachudha" ว่าการที่พบหลักฐานการติดเชื้อโดยการตรวจเลือด และเจอ IgG แต่ยังตรวจเชื้อเจอ ระบุไม่ได้ว่า นั่นคือ “ซาก” หรือไม่เป็นคนละเรื่องกัน

แม้ว่าจะเจอNeutralizing antibody ซึ่งเป็นภูมิจริงที่ยับยั้งไวรัสได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นปล่อยเชื้อไม่ได้
คนไข้มากหลายที่แม้มี ภูมิชนิดนี้ก็ปล่อยเชื้อได้ และยังติดต่อคนอื่นได้

การตรวจว่ามีติดเชื้อโควิด19 โดยการเจาะเลือดหาแอนติบอดี  ต้องมีความระมัดระวัง

ทั้งนี้ต้องทำการตรวจทั้งสามชนิด ได้แก่ IgM IgG และ neutralizing antibodyเพราะผู้ป่วยแต่ละราย จะได้รับเชื้อที่วันเวลาต่างกัน (การครวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ จุฬา คณะแพทยศาตร์ สภาการชาดไทย)

ในคนป่วยที่มีอาการและยังตรวจเขื้อต่อเนื่องไปในขณะที่ให้การรักษาพบว่า ยังมีเชื้อออกมา”อย่างต่อเนื่อง” ทั้งๆที่มี แอนติบอดี้ 1 ชนิด หรือ ทั้ง 3 ชนิดรวมกัน   ตั้งแต่ต้น ซึ่งแสดงว่าไม่ใช่เป็นซากเท่านั้นที่ออกมา 

การที่ปล่อยเชื้อได้และระบุว่าเป็น “ชาก” ไปหรือยัง ไม่สามารถประเมินจากสถานะ ของ แอนติบอดีอย่างเดียว
แต่ชนิดของแอนติบอดี ให้ข้อมูลเบื่องต้นถึงระยะเวลาหลังติดเชื้อได้พอควรโดย มีการติดเชื้อมาใหม่ ภายใน 4 วันที่แล้ว หรือในระยะกลางๆ หรือ นานกว่านั้น ตั้งแต่ 10-14 วันที่แล้ว และการมี neutralizing antibody จากการตรวจมาตรฐานนี้  จะไม่ขึ้นกับชนิดของแอนติบอดี ว่าต่องขั้นพร้อมกับ IgG หรือ IgM หรือไม่ จึงเรียกว่า Surrogate isotype independent virus neutralizing antibody .

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"