ทำไมต้องมีไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่


เพิ่มเพื่อน    

สันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า

 

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ลดการเดินทางออกนอกบ้าน อีกทั้งร้านค้าร้านอาหารต่าง ๆ ก็ไม่สามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานที่ร้านได้ การใช้บริการรับส่งอาหาร หรือ ฟู้ดเดลิเวอรี่ จึงถือเป็นทางออกหนึ่งในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ประกอบกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เน้น  ความสะดวกสบายมากขึ้น ต้องการทานอาหารอร่อยแต่ไม่อยากเดินทางและรอนาน จึงส่งผลให้ธุรกิจบริการ  รับส่งอาหาร หรือ ฟู้ด เดลิเวอรี่ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ร้านอาหารสนใจที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์ม แต่ด้วยอำนาจต่อรองที่น้อยกว่า จึงทำให้เสียเปรียบและเกิดพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมขึ้น เช่น การเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้ ค่าโฆษณา และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ไม่มีเหตุผลสมควร เป็นต้น

 

คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) มีความกังวลและไม่ได้นิ่งนอนใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติ   ทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจดังกล่าว จึงมีนโยบายในการจัดทำไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่ ขึ้นมา เพื่อสร้างความชัดเจนในแนวทางการปฏิบัติทางการค้าที่ถูกต้อง เหมาะสม ภายใต้บรรทัดฐานการดำเนินธุรกิจ  ที่มีความเป็นสากล เพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรีและเป็นธรรม ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถ  ใช้เป็นแนวทางประกอบการดำเนินธุรกิจได้ โดยไม่ต้องคอยกังวลว่าจะขัดต่อหลักกฎมายที่เกี่ยวข้องหรือ เผลอกระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นหรือไม่ โดยในเบื้องต้นได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวปฏิบัติการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ขึ้นมาพิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของผู้ประกอบการแพลตฟอร์มและร้านอาหารที่เข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มมาให้ข้อมูลและ  ชี้ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น จนกระทั่งได้ผลสรุปเป็นร่างประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับและส่งอาหารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่ ประเด็นสำคัญที่กำหนดไว้ในไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่ มีดังนี้

 

ประเด็นแรก การเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้ (GP) และการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อย่างไม่เป็นธรรม เช่น มีการเรียกเก็บค่าส่วนกลางรายได้ในอัตราที่สูงเกินสมควร หรือเก็บเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญา หรือในอัตราที่แตกต่างกันระหว่างร้านอาหารในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น

2. ประเด็นที่สอง การกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการบังคับในลักษณะการจำกัดสิทธิมิให้ไปทำการค้ากับผู้อื่น (Exclusive Dealing) เช่น การจำกัดหรือขัดขวางการประกอบธุรกิจของผู้อื่นโดยการห้ามจำหน่ายอาหารกับผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับและส่งอาหารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์รายอื่น หากไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีการเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้ (GP) ในอัตราที่สูงขึ้น เป็นต้น

3. ประเด็นที่สาม การใช้อำนาจตลาดหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่าอย่างไม่เป็นธรรม เช่น การแทรกแซง หรือจำกัดอิสระในการกำหนดราคาของผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร การกำหนดเงื่อนไขบังคับด้านราคาที่ต้องจำหน่ายเท่ากันในทุกช่องทาง การประวิงเวลาในการจ่ายค่าสินค้านานเกินสมควร การปฏิเสธ ที่จะทำการค้ากับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารบางราย และการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายใต้สัญญาโดยไม่มีเหตุผล อันสมควร เป็นต้น

4. ประเด็นที่สี่ การใช้พฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมอื่น ๆ เช่น การที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ รับและส่งอาหารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กระทำการบังคับ หรือกำหนดเงื่อนไขพิเศษ หรือจำกัดหรือกีดกัน การประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่นจนอาจก่อให้เกิดความเสียหาย

 

ทั้งนี้ ไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่ ขณะนี้อยู่ในกระบวนการเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น  จากทุกภาคส่วน ซึ่งมีสองช่องทาง ดังนี้

             ช่องทางแรก ประชุมกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรง (Focus Group) ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับและส่งอาหารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารที่เป็นสมาชิกของแพลตฟอร์ม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 11 กันยายน 2563 ณ โรงแรมหรือสถานอื่นในเขตกรุงเทพ หรือปริมณฑล

           ช่องทางที่สอง เปิดรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มคนทั่วไปหรือผู้ที่สนใจ เช่น นักวิชาการ บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ร้านอาหารทั่วไป เป็นต้น สามารถแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ www.otcc.or.th และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] เป็นระยะเวลา 30 วัน ระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2563

 

ภายหลังจากการรับฟังความคิดเห็นในสองรูปแบบดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขร่างไกด์ไลน์ให้เหมาะสม ก่อนนำเสนอให้ กขค. พิจารณาให้ความเห็นชอบและนำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายต่อไป โดยเชื่อว่าไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่จะสามารถช่วยสร้างบรรทัดฐานในการประกอบธุรกิจบริการรับและส่งอาหารได้อย่างเสรีและเป็นธรรม สามารถปกป้องผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารมิให้ถูกเอาเปรียบโดยไม่มีเหตุผลสมควร ในขณะเดียวกันผู้ประกอบธุรกิจบริการรับและส่งอาหารก็สามารถแข่งขันกันได้ และการออกไกด์ไลน์ฉบับนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหา ในส่วนของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด จากการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า โทร 02 199 5400 หรือเว็บไซต์ www.otcc.or.th


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"