"บั๊ดดี้ โฮมแคร์"..โมเดลดูแลผู้สูงวัย


เพิ่มเพื่อน    

    มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ นำโดย “สว่าง แก้วกันทา” ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ เข้ารับรางวัล Healthy Aging Prize for Asian Innovation (HAPI) ครั้งที่ 1 จากองค์กร Healthy Aging Prize for Asian Innovation (HAPI) จากผลงาน “บั๊ดดี้ โฮมแคร์” (Buddy HomeCare) ของประเทศไทย ในกลุ่มรางวัล Grand Prize ในประเภทเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเป็นการคัดเลือกผลงานจากผู้สมัครมากกว่า 130 รายจาก 12 ประเทศและภูมิภาค


    สำหรับจุดเด่นของผลงานที่ได้รับรางวัลนั้นมาจากการออกแบบแอปพลิเคชันในการตรวจติดตามและดูแลผู้สูงอายุ เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลสุขภาพด้านต่างๆ ของผู้สูงวัยให้กับเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างทันท่วงที อีกทั้งการจัดอบรมให้กับนักเรียนชาวเขาที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุรับสังคมสูงวัย ส่วนหนึ่งเพื่อให้เด็กกลุ่มนี้มีรายได้ และก่อให้เกิดจิตอาสาในการดูแลเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่อยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย และรางวัลดังกล่าวนี้ถือเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในการตอบสนองความท้าทายกับการเผชิญปัญหาให้กับผู้สูงวัยได้เป็นอย่างดี
    นางสาวโมโมโกะ อาชิ Japan Center for International Exchange (JCIE) กล่าวว่า “สำหรับการมอบรางวัลนี้จัดขึ้นเป็นเครื่องแรก และรางวัล HAPI เป็นการมอบรางวัลเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และขยายผลเชิงนโยบายทางด้านนวัตกรรม โครงการ และบริการต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความท้าทายในการเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุ 

(ผอ.สว่าง แก้วกันทา)

    ด้าน “ผอ.สว่าง แก้วกันทา” ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ บอกว่า “จุดเริ่มต้นของรางวัลนี้เริ่มจากการงานของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยได้ทำงานดูแลผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งที่ผ่านมาเราใช้การระดมทุนในการลงทุนเพื่อให้การดำเนินงานของมูลนิธิดำเนินธุรกิจได้ในรูปเพื่อสังคม หรือการทำงานแบบอะลุ่มอล่วย คิดค่าไม่บริการที่ไม่แพง และก่อนหน้านี้เราได้รับทุนจากประเทศเกาหลีและในอาเซียน เพื่อนำมาดูแลผู้สูงอายุที่ยากจน จากการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้เราเห็นว่าไม่ใช่แค่การดูแลผู้สูงวัยที่มีฐานะยากจนเท่านั้น แต่ยังคนสูงวัยที่มีฐานดีและมีกำลังจ่ายก็จำเป็นต้องดูแลเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงได้เกิดเป็นทีม “บั๊ดดี้ โฮมแคร์” (Buddy HomeCare) หรือระบบจัดการและดูแลสุขภาพชุมชน เพื่อเจาะกลุ่มของผู้สูงวัยที่มีกำลังจ่าย (คิดราคาไม่แพง) แต่ไม่สามารถใช้บริการด้านสุขภาพจากภาคธุรกิจเอกชน 


    “ที่ผ่านมาเราได้นำเงินค่าบริการของผู้สูงอายุที่ได้มาไปใช้จัดสวัสดิการในการดูแลผู้สูงวัยในสลัม และอีกส่วนหนึ่งเราได้จัดโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงวัย โดยให้เด็กชาวเขาที่ผ่านการอบรมใช้เวลาว่างช่วงเสาร์และอาทิตย์ หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชนแออัดเช่นกัน อีกทั้งทางมูลนิธิได้พัฒนาแอปพลิเคชัน โดยการจ้างทีมของบริษัทที่พัฒนาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งความพิเศษของแอปพลิเคชันดังกล่าวนั้นมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลสุขอนามัยของผู้สูงวัย ตลอดจนการตรวจติดตามผลด้านสุขภาพของผู้สูงวัยบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟนต่างๆ เพื่อให้ผู้บริหารโครงการ ทีมแพทย์และพยาบาล ได้รับทราบข้อมูลอย่างทันท่วงที และเป็นข้อมูลที่ทันสมัย รวดเร็ว รวมถึงยังได้มีการอบรมพนักงานแคร์กิฟเวอร์ที่อยู่ในทีมบั๊ดดี้ โฮมแคร์ ให้เก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงวัยลงในอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยอีกด้วย ที่สำคัญการส่งเสริมให้มีบั๊ดดี้ โฮมแคร์นั้น ยังช่วยทำให้เด็กชาวเขามีรายได้ มีงานทำ ช่วยพ่อแม่ปลอดหนี้สินได้เช่นเดียวกัน


    ปัจจุบันตอนนี้ทั่วโลกมีผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) คิดเป็นประมาณ 75 ล้านคน และในอีก 10 ปีข้างหน้าประชากรผู้สูงอายุก็จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10% ประกอบกับในผู้สูงอายุ 100 คนจะมีประมาณ 10-15% ที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง หรือคิดเป็นประมาณ 1-2 คน ดังนั้นแม้ตัวเลขของการพึ่งพิงลูกหลานจะอยู่ในอัตราส่วนที่ไม่มากนัก แต่ถ้าเทียบกับสัดส่วนของคนส่วนใหญ่นั้น ผู้สูงวัยก็ยังต้องการการดูแล ประกอบกับสังคมไทยมีลูกน้อยลงเรื่อยๆ เห็นได้จากอัตราการเกิดที่น้อยลง ดังนั้นเราจะทำอย่างไรเพื่อให้สังคมเกิดการปรับเปลี่ยนในการดูแลผู้สูงวัยท่ามกลางสังคมที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"