การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อน การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562


เพิ่มเพื่อน    

 

ประเด็นการปฏิรูปกฎหมายที่มีความสำคั­ญมากที่สุด คือ การกำหนดให้มีกลไกการออกกฎหมายที่ดีและเท่าที่จำเป็น รวมทั้งมีกลไกการทบทวนกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ­แห่งราชอาณาจักรไทย

ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้แล้วโดยมีการตราพระราชบั­­ัญัญติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.. 2562” ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นมา พระราชบั­­ัญญัติดังกล่าวมีสาระ

สำคั­ 6 เรื่อง ได้แก่ (1) กำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย (2) กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบ

เนื้อหาของร่างกฎหมาย (3) กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย (4) กำหนดกลไกเกี่ยวกับการเข้าถึงบทบั­­ัญญัติของกฎหมาย (5) กำหนดกลไกการโต้แย้งหรือตรวจสอบบทบั­­ัญญัติแห่งกฎหมายที่มีโทษอา­า โทษทางปกครอง หรือสภาพบังคับที่มีผลร้ายอื่น และ (6) กำหนดกลไกเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐต้องออกกฎหรือดำเนินการอื่นใดโดยเร็ว

แต่อย่างไรก็ดี สาระสำคั­ญเรื่องที่ 3

หลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย และสาระสำคั­ญเรื่องที่ 6 กลไกเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐต้องออกกฎหรือดำเนินการอื่นใดโดยเร็ว ยังมีปั­ญหาในทางปฏิบัติบางประการ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปั­ญหาดังกล่าวและสร้างความชัดเจนในการดำเนินการ  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้เสนอแนวทางการดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบั­­ัญัญติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.. 2563 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 เห็นชอบกับแนวทางดังกล่าวและให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ โดยแนวทางการดำเนินการนี้ มีสาระสำคั­ญโดยสรุป ดังนี้

1. การดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

1.1 มอบหมายให้ผู้รักษาการตามกฎหมายตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินการซึ่งแยกตามผู้รักษาการ

1.2 มอบหมายให้ผู้รักษาการตามกฎหมายประกาศรายชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินการสำหรับกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบแล้วให้ถูกต้อง

1.3 มอบหมายให้ผู้รักษาการตามกฎหมายเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายและกฎเกณฑ์ในความรับผิดชอบของตนทั้งหมดผ่านทางเว็บไซต์ของกระทรวง

1.4 กรณีกฎหมายที่มีผู้รักษาการตามกฎหมายร่วมกันหลายคน ให้ผู้รักษาการตามกฎหมายหารือร่วมกันเพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบ

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย การจัดทำคำอธิบายและคำแปล และการเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายและกฎเกณฑ์

1.5 มอบหมายให้ผู้รักษาการตามกฎหมาย สำนักงานสถิติแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำฐานข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย การร้องเรียน

2. การดำเนินการเกี่ยวกับการเร่งรัดการออกกฎหรือดำเนินการอื่นใดตามมาตรา 22 แห่งพระราชบั­­ัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ..2562

มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนว่า มีกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 22 หรือไม่ หากมี ต้องเร่งออกกฎหรือดำเนินการใดให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาภายใน

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 และภายใน 2 ปี นับแต่กฎหมายมีผลใช้บังคับ  สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ในการออกกฎดังกล่าวหน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี และระยะเวลาที่จะ

ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาด้วย โดยต้องไม่น้อยกว่า 90 วันก่อนวันครบกำหนดดังกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"