การดำเนินการตาม พ.ร.บ. 77 กับบทบาทการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา


เพิ่มเพื่อน    

 

การพัฒนานักกฎหมายภาครัฐถือเป็นภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักกฎหมายให้มีความรู้ทั้งในด้านงานกฎหมาย คุณธรรม และจริยธรรม และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานทั้งในด้านการร่างกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้กฎหมายถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง เป็นธรรม และเป็นที่พึ่งให้แก่ประชาชน ตามที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้นั่นก็คือ “Better Regulation for Better Life” หรือพัฒนากฎหมายให้ดีเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

 

พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือที่นักกฎหมายเรียกกันว่า “พ.ร.บ.77” ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งปฏิรูประบบกฎหมายให้ทันสมัย มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นมา มีสาระสำคัญ 6 เรื่อง ได้แก่ (1) กำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย ตั้งแต่การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายหรือที่เรียกว่า RIA (2) กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมาย (3) กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย (4) กำหนดกลไกเกี่ยวกับการเข้าถึงบทบัญญัติของกฎหมาย (5) กำหนดกลไกการโต้แย้งหรือตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีโทษอาญาโทษทางปกครอง หรือสภาพบังคับที่มีผลร้ายอื่น และ (6) กำหนดกลไกเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐต้องออกกฎหรือดำเนินการอื่นใดโดยเร็ว ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจในแนวทางการดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว เช่น แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย แนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักกฎหมายภาครัฐของกระทรวง และกรมต่าง ๆ จะต้องนำไปดำเนินการตามภารกิจที่เกี่ยวข้องได้

 

 

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงได้จัดโครง­­­การฝึกอบรมวิทยากรการดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายขึ้น เมื่อวันศุกร์ ที่ 27 สิงหาคม 2564 ผู้เข้าอบรมฯ ประกอบด้วย นิติกรระดับชำนาญการหรือชำนาญการพิเศษ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายในกระทรวง และกรมต่าง ๆ จำนวน 100 คน โครงการฝึกอบรมฯ ในครั้งนี้ จัดในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams เพื่อเป็นการป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้รับความรู้เกี่ยวกับเจตนารมณ์และสาระสำคัญของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ทั้งในส่วนการดำเนินการตามกระบวนการจัดทำร่างกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย การเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบนั้นต่อประชาชน และการตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมายทั้งระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย และหลักเกณฑ์การกำหนดโทษอาญา และกระบวนการภายหลังเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วในส่วนของการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย รวมทั้งการจัดทำข้อมูลกฎหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบทบัญญัติของกฎหมายได้ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในดำเนินการตามภารกิจที่เกี่ยวข้องและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐซึ่งวิทยากรนั้นสังกัดอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าอบรมฯ ทุกท่านเป็นอย่างดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"