เอกชนสนับสนุนงบกว่า 54 ล้าน ให้คณะแพทย์รามาฯ จัดตั้งศูนย์ EOC  ระบบกลางแพทย์ฉุกเฉิน สื่อสารรักษาทางไกล ที่ทันสมัยแห่งแรกในไทย 


เพิ่มเพื่อน    

 

 24 ส.ค. 63- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีแถลงข่าว “พิธีมอบเงินสนับสนุนการจัดตั้งหน่วยอำนวยการและปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ EOC (Emergency Medical Operation Center) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล” จากบริษัท เทลลี่ 360 จำกัด จำนวนกว่า 54 ล้านบาท ให้มีคุณภาพและทันสมัยแห่งแรกในประเทศไทย และเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ระบบสื่อสารการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) หรือการเทรนนิ่งนักศึกษาในภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และศูนย์ EOC เป็นต้น ให้มีคุณภาพและเป็นโมเดลในการพัฒนาหน่วยแพทย์ฉุกเฉินต่อไป 


นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวว่า ระบบการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยในปัจจุบัน ค่อนข้างมีความรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้นกว่าในอดีตมาก ทำให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยสามารถทำได้หลากหลายและรวดเร็ว ซึ่งการจัดสร้างหน่วยอำนวยการและปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน จะช่วยทำให้เกิดการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้แล้วยังเป็นศูนย์กลางในการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่สำคัญในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ โดยที่ผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดแจ้งเหตุเข้ามาเพื่อรับความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว เพราะระบบจะทำการเชื่อมต่อ และสื่อสารไปยังศูนย์บัญชาการกลาง โดยที่สามารถรวบรวมข้อมมูลในทุกด้านเพื่อประมวลในการรักษา และนำส่งมายังโรงพยาบาลได้ทัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการเตรียมการของแพทย์ที่อยู่โรงพยาบาล โดยระบบนี้จะมีการติดตั้งอยู่ในรถพยาบาลฉุกเฉินทุกคันในโรงพยาบาล

 

รศ. ดร. นพ.ไชยพร ยุกเซ็น หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี  กล่าวเสริมว่า ศูนย์ EOC จะเป็นหน่วยอำนวยการที่ทำหน้าที่ในการสั่งการและปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลให้มีคุณภาพสูง รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลให้ได้ตามมาตรฐานสากล โดยจะมีทีมประจำคือแพทย์ 1 คน ประจำตลอด 24 ชั่วโมง และบุคลากร Paramedic อีก  3 ชุด/เวร จะประมาณ 4 คน เพื่อพร้อมปฏิบัติการฉุกเฉิน

“ อย่างในกรณีที่ได้แสดงตัวอย่างระบบการทำงานของศูนย์ EOC ของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น ซึ่งพอญาติคนไข้โทรเข้ามาก็จะมีสัญญาณแสดงพิกัดที่อยู่ ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 นาที ในกรณีอยู่พื้นที่เขตโรงพยาบาลรามาธิบดี แต่ในระหว่างนั้นแพทย์ก็จะทำการสื่อสารกับญาติเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น  สำหรับผลการรักษาในระหว่างที่ทีม Paramedic ลงไปก็จะแสดงผลการเต้นของหัวใจแบบเรียลไทม์ โดยข้อมูลการรักษาทั้งหมดจะถูกบันทึกเก็บไว้ เพื่อส่งจ่อไปยังแพทย์เฉพาะทางได้ทันที ทั้งนี้ยังเป็นหน่วยปฏิบัติการฝึกอบรมให้แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ในหลักสูตรปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์หรือ Paramedic แพทย์ในหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และยังพัฒนาหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลภายในอีก 2 ปี เพื่อพัฒนาการเก็บข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลได้อย่างเป็นระบบมีมาตรฐานต่อยอดผลงานไปสู่การทำงานวิจัยในระบบการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลในอนาคต” หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน กล่าว 


ด้านนายกิจ กมนไมตรี Founder & CEO บริษัท เทลลี่ 360 จำกัด กล่าวว่า ได้เริ่มพัฒนาระบบการบริหารจัดการรถพยาบาลแบบรวมศูนย์หรือ Ambulance Operation Center(AOC) จากแนวคิดที่ว่าทำอย่างไร จะช่วยโรงพยาบาลต่าง ๆ แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินให้มีเพียงพอ และให้คนไทยเข้าถึงการแพทย์ฉุกเฉินได้มากที่สุด โดยการดำเนินงานตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาระบบร่วมกับแพทย์ฉุกเฉินของไทยมาโดยตลอดเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ระบบที่ตอบโจทย์การใช้งานในประเทศไทย โดยการพัฒนาในครั้งนี้ก็ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีการยกระดับจากศูนย์ AOC ไปสู่ EOC ร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี และคือที่แรกที่จะเป็นศูนย์กลางในการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่สำคัญในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่บ่มเพาะบุคลากรทางการแพทย์อีกด้วย


โดยศูนย์ EOC จะประกอบไปด้วยระบบสื่อสารการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ที่ทำการเชื่อมต่อกับระบบสื่อสารบนรถพยาบาลฉุกเฉิน (ambulance) ที่มีคุณภาพและทันสมัยเทียบเท่าในระดับสากลโดยใช้ระบบอิเล็กโทรนิกส์ในการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติการฉุกเฉินที่มีคุณภาพและทันสมัยสูงสุดในการเป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการในการให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีความพร้อมในการใช้งานสิ่งสำคัญคือระบบคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนชุดคำสั่งหรือ Software ประกอบไปด้วยส่วนชุดอุปกรณ์หรือ Hardware ที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนงานใน 3 ด้าน ได้แก่ งานด้านการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และระบบการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลปลายทาง ผ่านการทำงานของชุดคำสั่ง และส่วนชุดอุปกรณ์ที่ทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้นั้นได้ทำการแจ้งจดลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ศูนย์ EOC กำลังอยู่ในระหว่างการจัดสร้างขึ้นที่ชั้น 3 อาคารอุบัติเหตุและเวชศาสตร์ฉุกเฉินคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 45 วัน 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"