3 หลักของเศรษฐกิจใหม่สิงคโปร์


เพิ่มเพื่อน    

    สิงคโปร์ประกาศว่าโควิดมาทำให้ต้องคิดหา “เศรษฐกิจสูตรใหม่” สำหรับความอยู่รอดของตัวเอง เพราะเกือบทุกอย่างจะไม่กลับไปเหมือนเดิม
    รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมชานชุนซิงนำเสนอวิธีคิดใหม่พร้อมกับบอกว่า
    “ถ้าโลกมีพื้นที่น้อยลงสำหรับการตลาดของเรา เราก็จะลดพื้นที่กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจ และกลายเป็นข้อจำกัดมากกว่าที่จะขยายโอกาสสำหรับคนของเรา”
    จึงจำเป็นต้องคิดใหม่ทำใหม่เกือบทุกอย่าง
    คำว่าอนาคตที่ไม่เหมือนเดิมนี่แหละคือหลักคิดสำหรับคนทั้งประเทศที่ต้องหาทางออกใหม่
    โดยที่รัฐบาลบอกว่ามีหลักใหญ่สำหรับสิงคโปร์อยู่ 3 ข้อ
    ข้อที่หนึ่งคือ ต้องพยายามเปิดกว้างแสวงหาธุรกิจแนวทางใหม่ที่
    ”ปลอดภัยและยั่งยืน” 
    โดยต้องสรุปบทเรียนทั้งของตนเองและประสบการณ์จากประสบการณ์ของที่อื่น
    แต่ประชาชนจะทำเองย่อมไม่ได้ จึงเป็นที่มาของข้อ 2 นั่นคือ รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือธุรกิจและแรงงานที่เหมาะและปรับเข้ากับโลกใหม่
    มีช่องทางอะไรบ้างที่ควรเป็นกิจกรรมด้านเศรษฐกิจใหม่
    รัฐมนตรีชานยกตัวอย่างยาชีวภาพ 
    ห่วงโซ่อุปทาน
    และการทำงานด้านการควบคุมระบบการผลิตที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือ Precision Engineering 
    3 ด้านนี้เป็นเรื่องใหม่ รัฐบาลจึงต้องให้การสนับสนุนสำหรับการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ
    นอกจากนี้รัฐบาลยังต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อธุรกิจใหม่ ในการเริ่มต้นและลงทุนที่สิงคโปร์ในระยะยาว 
    หัวใจคือต้องมีการเพิ่มมูลค่าอย่างเห็นได้ชัด
    และขณะเดียวกันก็ต้องสร้างระบบที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับอนาคตด้วย
    เพราะความเปลี่ยนแปลงจะกลายเป็นเรื่องปกติต่อไป
    รัฐมนตรีบอกว่ามาตรการช่วยเหลือจะครอบคลุมถึงโครงการช่วยเหลือการหางานที่เรียกว่า Jobs Support Scheme 
    ซึ่งหมายถึงการจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างแรงงานและค่าเช่า 
    แต่ในวันข้างหน้าความช่วยเหลือจะปรับช่วยในด้านการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
    รวมถึงมาตรการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
    อุตสาหกรรมบางอย่างจะเปลี่ยนไปอย่างถาวร เช่น การท่องเที่ยวและบันเทิง 
    รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือให้สร้าง “โมเดลธุรกิจใหม่” เพื่อปักหมุดในตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่
    การเปลี่ยนแปลงรุนแรงอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เขายืนยันว่า
    “เรารู้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่ยิ่งปรับตัวได้เร็วและเปลี่ยนเร็ว ก็จะฟื้นตัวได้เร็ว”
    ข้อ 3 ที่รัฐบาลจะทำคือ การสร้างเงื่อนไขด้านมหภาคที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมความเชื่อมโยงสิงคโปร์กับตลาดโลกเพื่อการจัดหาอุปทาน เทคโนโลยีและบุคลากรที่มีความสามารถ
    ที่ต้องตระหนักคือ สถานภาพความเป็นศูนย์กลางการบินและท่าเรือของสิงคโปร์จะไม่คงอยู่ตลอดไป 
    จึงต้องมองหาหนทางปรับตัวตามสัจธรรมนี้เช่นกัน
    รัฐมนตรีชานบอกว่า “ข้อตกลงการค้าเสรีดิจิทัล” ที่สิงคโปร์ทำไว้จะเปิดตลาดให้กว้างขึ้น
    ขณะเดียวกันยังรักษาช่องทางที่มีอยู่ในการเข้าถึงตลาดแบบเดิมเอาไว้เท่าที่จะทำได้อีกด้วย
    เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะฝึกอบรมชาวสิงคโปร์ในการทำงานรูปแบบอนาคตและช่วยหางานที่เหมาะสม 
    เขาปลอบใจประชาชนว่า แม้จะประสบวิกฤติ แต่สิงคโปร์ก็มีศักยภาพที่แข็งแกร่งมากกว่ายุคบุกเบิกแต่ก่อนเก่า
    เพราะได้สร้างฐานที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเอาไว้แล้วอย่างน้อยใน 3 ด้าน
    นั่นคือหลักนิติธรรม แรงงานที่มีการศึกษาและมีทักษะสูง และความเชื่อมโยงกับส่วนต่างๆ ของโลก เขาให้คำสัญญากับประชาชนว่ารัฐบาลจะมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ ไม่ย่นย่อ ขอให้ร่วมแรงแข็งขันเป็นพอ
    “เราจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อเตรียมคนของเราให้พร้อมสำหรับความท้าทายข้างหน้า ไม่เพียงเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น แต่ต้องเติบโตในสภาพแวดล้อมใหม่” นายชานบอก
    พูดง่ายๆ คือเป้าหมายไม่ใช่แค่รอด แต่ต้องรุ่งด้วย
    สิงคโปร์เชื่อว่าตัวเองยังแข็งแกร่งในหลายด้าน โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และ precision engineering จากความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ที่สูงกว่าคาดในไตรมาสที่ 2
    คาดว่าจะทรงตัวไปตลอดครึ่งหลังของปี 
    การผลิตในธุรกิจยาชีวภาพก็คาดว่าจะยังขยายตัว 
    ภาคบริการทางการเงินและประกันภัยที่ความต้องการบริการการชำระเงินดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น 
    รวมไปถึงภาคสารสนเทศและการสื่อสารที่ได้รับผลบวกจากไอทีและโซลูชั่นดิจิทัล
    การแสวงหา “โมเดลเศรษฐกิจใหม่” จึงเป็นวาระเร่งด่วนของคนทั้งเกาะ
    รัฐบาลไทยมีแนวคิดอะไรที่เป็นรูปธรรมสำหรับ “วิถีชีวิตที่จะไม่เหมือนเดิม” สำหรับคนไทยหรือยัง?.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"