สศอ.ชี้ดัชนีเอ็มพีไอกระเตื้องสะท้อนภาคอุตสาหกรรมไทยค่อยๆ ฟื้นตัว


เพิ่มเพื่อน    

 

26 ส.ค.2563 นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือนก.ค.2563 อยู่ที่ระดับ 85.47 ขยายตัวจากเดือนก่อน 3.12% โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 แต่หดตัว 14.69% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 56.01% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 55.07% 

“แนวโน้มเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยค่อยๆ ฟื้นตัวหลังจากที่ภาครัฐมีการคลายล็อกกิจกรรมและกิจการบางประเภทให้สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเปิดดำเนินการแล้วเกือบทั้งหมด โดยเมื่อพิจารณาดัชนีการส่งสินค้าและดัชนีแรงงานอุตสาหกรรมพบว่ามีทิศทางเป็นไปตามสถานการณ์การผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และมีแนวโน้มติดลบน้อยลงเรื่อย ๆ”นายทองชัย กล่าว 

โดยจะเห็นสัญญาณบวกได้จากบางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะการหยุดผลิตในประเทศที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 จึงเปลี่ยนคำสั่งซื้อมายังไทย ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มปรับแผนการผลิตโดยให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยง จึงเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์หลังจากที่ประเทศไทยมีการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดี 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าดัชนีเอ็มพีไอเดือนก.ค สะท้อนว่าภาคอุตสาหกรรมได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังทยอยฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับปกติในช่วงก่อนโควิด-19 ภายใต้เงื่อนไขว่าไทยจะไม่มีการระบาดของโควิด-19 รอบที่ 2 สอดคล้องกันกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นในบางอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคได้ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) หลายตัวยังคงขยายตัวดี เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมยารักษาโรคที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน 

“สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ รวมถึงสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศจีนได้ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกต้องชะงักลง อุตสาหกรรมบางประเภทต้องขาดชิ้นส่วนการผลิต เกิดปัญหาทางด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบจากฐานการผลิตในต่างประเทศ เช่น จีน ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องย้ายฐานการผลิตออกเพื่อกระจายความเสี่ยง จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะได้รับอานิสงส์”นายสุริยะ กล่าว 

ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมีจุดแข็งทางด้านของแรงงานฝีมือและการควบคุมโควิด-19 ที่ดี สอดรับกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่มุ่งพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายให้สามารถรองรับอุตสาหกรรมที่จะย้ายเข้ามาใหม่ได้ รวมถึงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) การเตรียมความพร้อมในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติได้ทันที 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"