โควิดสายพันธุ์ G จุดเริ่มต้นของการระบาดระลอกใหม่?


เพิ่มเพื่อน    

 

      โรคโควิด-19 แม้จะไม่พบผู้ติดเชื้อมาเกือบ 100 วันแล้ว แต่สถานการณ์ทั่วโลกยังน่าเป็นห่วง โดยผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุกว่า 24 ล้านคนไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องนี้ที่ยังน่าเป็นห่วง สภาพเศรษฐกิจทั่วโลกก็เช่นกัน หลายประเทศไม่สามารถเปิดประเทศได้เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่ดี ยิ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเดียวยิ่งเดือดร้อนไปใหญ่ โดยเฉพาะประเทศไทย เห็นได้ชัดจากการปิดตัวของโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยวจำนวนมาก หลายคนถูกเลิกจ้าง ไม่มีงานทำ หลายบริษัทที่พอทรงตัวก็ไม่สามารถจ้างพนักงานใหม่ได้ เพราะกลัวจะเกินกำลังการจ่ายเงินเดือน จึงต้องมีการเร่งพัฒนาวัคซีน โดยหลายประเทศมีความคืบหน้าไปอย่างมาก โรคโควิด-19 จะจบหรือไม่ขึ้นอยู่กับวัคซีนตัวนี้

            แต่ก็มีหลายคนกังวลว่าวัคซีนเพียงแค่ตัวเดียวจะสามารถจัดการกับโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์หรือไม่ ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่าสายพันธุ์ใหม่มักมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์เดิม ความคิดนี้มีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสโควิด-19 การแยกสายพันธุ์ของไวรัสเกิดจากวิวัฒนาการของเชื้อ โดยไวรัสเริ่มต้นจากจีนจะมี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ S (Serine) และสายพันธุ์ L (Leucine) สายพันธุ์ L แพร่กระจายมีลูกหลานได้มากกว่าสายพันธุ์ S โดยเฉพาะเมื่อออกนอกจีนไปถึงยุโรป สายพันธุ์ L แพร่กระจายได้ดีออกลูกหลานเป็นสายพันธุ์ G (Glycine) และสายพันธุ์ V (Valine) สายพันธุ์ G แพร่กระจายได้ง่ายตามหลักวิวัฒนาการ จึงกระจายไปทั่วโลกอย่างกว้างขวาง มีลูกหลานของสายพันธุ์ G มาเป็นสายพันธุ์ GR (Arginine) และ GH (Histidine)

            นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่าสายพันธุ์ G ระบาดได้ง่าย แพร่กระจายได้เร็ว แต่ไม่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรคและระบบภูมิต้านทาน ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีน ขณะนี้อัตราการแพร่ระบาดสายพันธุ์ G เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมาเป็นเกือบ 90% ดังนั้นสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ทั่วโลกจึงเป็นสายพันธุ์ G

            ย้อนกลับมาระบาดในประเทศไทยระลอกแรก ถึงแม้จะพบได้ทุกสายพันธุ์เพราะมีการเดินทาง แต่สายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทยในระลอกแรก ไม่ว่าจะเป็นสนามมวย หรือสถานบันเทิงย่านทองหล่อ เป็นสายพันธุ์ S โดยสายพันธุ์นี้ได้หายไปแล้ว เนื่องจากมาตรการป้องกันโรคของประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่ดี ไม่ให้สายพันธุ์นี้มีการแพร่กระจาย รวมถึงไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเป็นเวลานานกว่า 100 วัน จึงทำให้ไวรัสสายพันธุ์ S ค่อยๆ หายไปเรื่อยๆ

            ส่วนการตรวจไวรัสในผู้ที่อยู่ในที่กักกันของรัฐ หรือที่เรียกว่า State quarantine โดยศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสของจุฬาฯ พบว่าเป็นสายพันธุ์ G เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะมาจากตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา สายพันธุ์นี้ไม่เกี่ยวข้องที่จะทำให้โรครุนแรงขึ้น ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิต้านทาน เพียงแต่มีการกระจายได้ง่ายๆ

            อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าในขณะนี้โควิด-19 จะมีกี่สายพันธุ์ แต่สิ่งที่เหมือนกันอีกอย่างหนึ่งคือระยะฟักตัว โดยมีความเป็นไปได้ใน 3 กรณี 1.ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่จะเป็น 2 ถึง 7 วัน อาจพบได้ถึง 14 วัน และอาจจะเป็นไปได้น้อยมาก ถึง 21 วัน ดังนั้นในทางปฏิบัติผู้ที่พ้นระยะการกักกันโรค 14 วัน มักจะแนะนำให้ไปกักกันที่บ้านต่ออีก 14 วัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการป้องกันการกระจายโรค

            ทั้งนี้ การตั้งชื่อสายพันธุ์ต่างๆ ของเชื้อจะทำให้มีประโยชน์มากกับหน่วยกองระบาดวิทยา สำหรับการสืบสาวหาที่มาของเชื้อ กรณีเกิดการติดเชื้อครั้งใหม่ในประเทศได้ง่ายขึ้น

            คงต้องภาวนาให้ไม่เกิดการติดเชื้อในระลอกที่ 2 อย่างเด็ดขาด เพราะสายพันธุ์โควิด-19 ที่จะมีสิทธิ์เข้ามาแพร่ระบาดหลังจากนี้มากที่สุดคือสายพันธุ์ G เมื่อถึงตอนนั้นถ้ามีผู้ติดเชื้อหลุดออกมาเที่ยว ทานข้าวในห้างสรรพสินค้า หรือเดินปะปนกับคนปกติ ไทยอาจจะรับมือไม่ทัน ดังนั้นเมื่อรัฐเตรียมที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในช่วงปลายเดือน พ.ย.นี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะต้องเข้มงวดกับการเฝ้าระวังให้ถึงที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดใหม่ในประเทศอีกครั้ง

            ดังนั้น ไม่ว่าในอนาคตข้างหน้าประเทศไทยจะพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่สักกี่สายพันธุ์ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การรับมือ การป้องกันยังเป็นแบบเดิมคือ การใส่หน้ากากอนามัย การกำหนดระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร และการดูแลสุขอนามัยล้างมือ ทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ ถ้าทุกคนช่วยกัน ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนก็สามารถป้องกันการติดเชื้อได้.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"