ร่างกฎหมายป้องกันการทรมาณ-อุ้มฆ่า ผ่านสภาฯฉลุย! 


เพิ่มเพื่อน    

 

3 ก.ย.63 - ที่รัฐสภา เวลาประมาณ 15.00น.  สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาณและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามที่คณะกรรมาธิการกฎหมายและการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ได้มอบหมายให้อนุกรรมาธิการการยุติธรรมที่มีนายอาดิลัน  อาลีอิสเลาะ  สส.จังหวัดยะลา เป็นประธานอนุฯร่างเสนอและอภิปรายถึงความเป็นมาและความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายดังกล่าว  
 
โดย ส.ส. 3 คน คือนายณัฐวุฒิ  บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นส.เพรชดาว  โต๊ะมีนา สส.บัญชีรายชื่อ  พรรคภูมิใจไทย และนายกมลศักดิ์  ลีอาเมาะ  สส.จังหวัดนราธิวาส  พรรคประชาชาติ ได้ลุกขึ้นอภิปรายสนับสนุน   

น.ส.เพชรดาว ได้อภิปรายว่า  ตนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง  โดยในปี พ.ศ. 2497  ปู่ของตนคือหะยีสุหรง  ได้ถูกตำรวจสันติบาลภายใต้การบงการของรัฐบาลเผด็จการลักพาตัวจากบ้านพักไปฆ่าและอำพรางศพ ไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด พวกพี่น้องมุสลิมได้ช่วยกันติดตามหาอย่างไม่ลดละ แต่ก็ไม่พบ  และหลังจากนั้นมีคนถูกฆ่าหายไปในลักษณะเดียวกันอีก 3 คน  จนเมื่อสามปีต่อมาเมื่อปีมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล  ทำให้มีการสอบสวนอย่างจริงจัง และมีหลักฐานคำรับสารภาพของผู้เกี่ยวข้องว่าได้นำตัวทั้งไปฆ่าถ่วงน้ำที่เกาะหนูเกาะแมว  แต่ก็ยังไม่สามารถค้นหาศพได้ เนื่องจากเวลาได้ผ่านไปนานแล้ว     การฆาตกรรมอำพรางกรณีนี้ แม้เวลาได้ผ่านมาถึง 66 ปีแล้ว  รวมทั้งในกรณีต่างๆ เช่นทนายสมชาย และอื่นๆ อีกหลายคน ยังคงเป็นบาดแผลที่เจ็บปวดทั้งต่อตนเองและพี่น้องชาวมุสลิมมาจนกระทั่งบัดนี้  

"พวกเราไม่เคยลืมความเจ็บปวดที่ผู้อำนาจรัฐกระทำต่อพวกเราแต่อย่างใด  ดังนั้น จึงนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้มีการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่สภา และหวังว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจในการนำเข้าสู่กระบวนการตราเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยเร็วต่อไป"น.ส.เพชรดาว กล่าว   

 หลังจากนั้น นายศุภชัย  โพธิ์สุข  รองประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธาน ได้ขอมติที่ประชุม  ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดคัดค้านแม้แต่เสียงเดียว เป็นอันว่าผ่านความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์        

ร่างกฎหมายดังกล่าว  เป็นการรวมและเพิ่มเติมเนื้อหาจากทุกร่างที่มีจุดอ่อนอยู่เข้าด้วยกัน  ไม่ว่าจะเป็นฉบับประชาชน ฉบับพรรคประชาชาติ รวมทั้งของนายรังสิมันต์  โรม  สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล   ทำให้เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย  เช่น  กำหนดให้การกระทำที่ถือว่าเป็นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคคลแม้ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา ก็เป็นความผิดฐานย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ตามกฎหมายนี้หลังควบคุมตัวบุคคลต้องนำตัวไปที่ทำการของผู้จับกุมและรายงานให้นายอำเภอและอัยการท้องที่ทราบทันที รวมทั้งต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ชัดเจน  ผู้บังคับบัญชาที่ไม่ดำเนินการที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อป้องกันการกระทำดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกกึ่งหนึ่งของความผิดในแต่ละมาตรา  เป็นความผิดที่ไม่มีอายุความ และให้อัยการมีอำนาจเข้าตรวจสอบและควบคุมการสอบสวนความผิดดังกล่าว ฯลฯ                
 
กระบวนการหลังจากนี้  นายชวน  หลีกภัย ประธานสภาฯ จะได้ทำหนังสือแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบเพื่อพิจารณา  ซึ่งหากพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  เห็นชอบก็จะนำเข้า ครม.เห็นชอบ และดำเนินการตามกรรมวิธีเสนอเข้าสู่สภาเพื่อตราเป็นกฎหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดต่อไป
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"