กกต.ชง'ครม.'เคาะร่างพ.ร.บ.ประชามติฉบับใหม่ รองรับแก้รธน.หมวดพระมหากษัตริย์


เพิ่มเพื่อน    

8 ก.ย.63- ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า วันที่ 8 ก.ย.ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) เตรียมเสนอครม. พิจารณาอนุมัติหลักการร่างพระราพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ....เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกเสียงประชามติ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 166 และมาตรา 256(8)ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยเวลา และกรอบสาระของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

ทั้งนี้ เนื่องด้วยตามที่ได้มีการประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ฉบับที่ 57/2557  เรื่อง ให้ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 7 มิ.ย. 2557 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติ จึงทำให้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น

ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 166 บัญญัติให้กรณีที่มีเหตุอันสมควร ครม.จะขอให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องใดที่ไม่ใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคลใดก็ได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 224 บัญญัติให้กกต.มีหน้าที่และอำนาจในการให้มีการออกเสียงประชามติ รวมทั้งควบคุมดูแลการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย   

รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องมาตรา 256 (8) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้ในกรณีที่แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด 1 ทั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

โดยร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ด้านผลประโยชน์กับประเทศ สังคม และประชาชน ถือเป็นการออกเสียงประชามติรูปแบบหนึ่งของการปกครองที่ประชาชนมีสิทธิออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในนโยบายของรัฐบาลหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องที่สำคัญ อันเป็นการแสดงออกถึงการปกครองตามหลักประชาธิปไตย ส่งผลต่อการพัฒนาการปกครองในระบบประชาธิปไตยมีความยั่งยืนต่อไป

ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว และเพื่อให้กกต.สามารถดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติและควบคุมดูแลการออกเสียงประชามติเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย สำนักงานกกต.จึงยกร่างพ.ร.บ.ในเรื่องนี้ และยกเลิกยกเลิกประกาศคสช. ฉบับที่ 57/2557 และพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552

ทั้งนี้ กกต.ได้ดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนแล้ว          

ขณะที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.)พิจารณามีความเห็นตามที่สำนักงาน กกต.เสนอ เป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติเพื่อให้สอดคล้องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้กกต. สามารถดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติและควบคุมดูแลการออกเสียงประชามติเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมการ กกต.ได้เห็นชอบด้วยแล้ว โดยเรื่องนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในด้านการบริหาราชการแผ่นดิน การปรับปรุงระเบียบอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ตามมติครม.เมื่อวันที่ 7 ม.ค.63 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติการเสนอเรื่องต่อครม)และร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ดำเนินการตามหมวด 16  การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"