ดักขยะ"คลองลาดพร้าว"ขจัดมลภาวะคลองหลักใจกลางเมืองกรุงเทพ


เพิ่มเพื่อน    

 

ปัญหาขยะในกรุงเทพมหานครนับว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนทราบดีว่ามีปริมาณมาก โดยในปี 2562 มีปริมาณขยะเฉลี่ย 10,500 ตันต่อวัน  ปัจจัยหลักที่ขยะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มาจากการขยายตัวของเมืองและประชากร เข้ามาอาศัยอยู่ที่มากขึ้น รวมทั้งยังขาดการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง  และการขาดความตระหนักถึงปัญหาขยะของคนเมือง


ดังนั้น สิ่งที่คนเมืองต้องเจอจากปัญหาขยะ ไม่เพียงแค่ขยะบนบกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงขยะเวลาที่เกิดน้ำท่วมขังในบางจุดของกรุงเทพฯ ที่เป็นผลมาจากการระบายน้ำไม่ทันของคูคลอง แม้ว่าในเขตกรุงเทพมหานครจะมีจำนวนคูคลองทั้งหมดกว่า 1,600 คูคลอง มีความยาวกว่า 2,600 กิโลเมตร ในจำนวนนี้มีคลองประมาณกว่า 900 คลอง ความยาว 1,300,000  เมตร ที่ใช้เป็นช่องทางหลักในการระบายน้ำจากกรุงเทพมหานคร ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและลงสู่ทะเล แต่กลับพบปัญหาขยะจำนวนมาก จากข้อมูลการเก็บขยะในคูคลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2558 – 2562  เป็นระยะเวลา 5 ปี ของสำนักงานเขต สำนักการระบาย และสำนักสิ่งแวดดล้อม กรุงเทพมหานคร .พบว่าสามารถรวมปริมาณขยะที่เก็บได้กว่า  380,000 ตัน

และหากมองในส่วนของคลองเส้นหลักใจกลางเมือง อย่างคลองลาดพร้าว ในแค่ระยะทาง 12 กิโลเมตร จากความยาวทั้งหมดของคลอง 20 กว่ากิโลเมตร ต้องแบกรับขยะที่มีถึง 4-5 ตัน/วัน  
ช่วง 12 กม.ด้งกล่าวนี้ ก็คือจากทางปากคลองแสน-เส้นปากคลองหลุมไผ่ ซึ่งทางกรุงเทพมหาคน  ก็ได้มีจัดการขยะโดยใช้แพดักขยะไม้ไผ่จำนวน 2 อัน สามารถดักขยะได้ประมาณ 2 ตัน/วัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อปริมาณขยะที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ส่วนขยะในคลอง มีทั้งโทรทัศน์ เตียง ตุ๊กตา ขาวของเครื่องใช้ต่างๆ โดยเฉพาะขยะพลาสติกทั้งที่เป็นถุง ขวดน้ำ หรือมาในรูปแบบ ถุงดำที่ใส่ขยะมัดปากแล้ว ก็มีจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิโคคา-โคลา โดยบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมกับ มูลนิธิเทอร์ราไซเคิล ไทย และ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร  ได้จัดทำ โครงการติดตั้งเครื่องดักขยะในคลองลาดพร้าว จำนวน 2 เครื่อง โดย"คลองลาดพร้าว"  ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในโครงการทำความสะอาดแม่น้ำ 9 แห่งทั่วโลก ภายใต้การเป็นพันธมิตรร่วมกันระหว่าง มูลนิธิโคคา-โคลา ที่มอบเงินรวม 11 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 345 ล้านบาท ให้แก่โครงการ Benioff Ocean Initiative ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา ในการสนับสนุนโครงการเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อดักจับขยะจากคลอง ก่อนเข้าสู่กระบวนการคัดแยก เพื่อนำไปกำจัดและรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ควบคู่ไปกับการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ สร้างความตระหนักรู้แก่ชุมชนและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป

คนในชุมชนคลองลาดพร้าว ช่วยกันตักขยะ


นายนันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน  บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คลองลาดพร้าว ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็น 1 ในแม่น้ำ 9 แห่งที่ได้ถูกคัดเลือก เพื่อทำให้สะอาด ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ไร้ขยะในแม่น้ำลำคลอง เหตุผลเพราะคลองลาดพร้าวเป็นคลองที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ  เชื่อมต่อระหว่างคลองแสนแสบและคลองสอง เป็นระยะทางยาวประมาณ 12 กิโลเมตร ที่ได้รับเลือกผ่านการหารือ และพูดคุยระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพฯ ทีมงาน Urban Action และผู้นำชุมชน โดยคลองลาดพร้าวนับเป็นคลองที่ประสบปัญหามลพิษขยะเป็นจำนวนมาก และจำเป็นต้องมีการทำความสะอาดเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน จากเดิมที่หน่วยงานในพื้นที่และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต่างก็ทำงานอย่างหนักในการช่วยทำความสะอาดคลองอยู่แล้ว แต่ขยะในคลองยังคงมีปริมาณมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการจัดการที่ไม่เหมาะสมของชุมชนริมคลอง

ดังนั้น  การได้ร่วมสนับสนุนในโครงการติดตั้งเครื่องดักขยะในคลองลาดพร้าว  ที่ผลิตขึ้นในประเทศจำนวน 2 เครื่อง และเริ่มทำงานตั้งแต่ในเดือนมิถุนายน 2563 ภายใต้การทำงานของมูลนิธิเทอร์ราไซเคิล ไทย โดยการดักขยะจากอุปกรณ์ทั้งสองนี้จะใช้เวลาดำเนินงาน 5 วันต่อสัปดาห์ คาดว่าจะช่วยดักจับขยะได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติก ก่อนจะนำไปตากให้แห้งและคัดแยก ที่สถานที่คัดแยกในเขตลาดพร้าว ส่วนขยะที่สามารถรีไซเคิลได้จะถูกนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้องและเหมาะสม และตลอดกระบวนการทำงานจะมีการบันทึกปริมาณและประเภทของขยะที่เก็บรวบรวมได้อย่างถี่ถ้วน เพื่อนำไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาโครงการการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของชุมชนริมคลอง อีกทั้งยังช่วยให้ขยะไม่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย


คนในชุมชนคลองลาดพร้าว นำขยะที่เก็บได้มาตากให้แห้ง และคัดแยกเพื่อนำไปรีไซเคิล


  นายเจมส์ สกอทท์ ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิเทอร์ราไซเคิล ไทย ที่มีส่วนในการคัดเลือกคลองลาดพร้าว ในการเป็นโมเดลการใช้เครื่องดักขยะ กล่าวว่า ในช่วงที่เริ่มทำโครงการนี้ทางมูลนิธิได้มีการสำรวจคลองหลักๆ ในกรุงเทพฯ 3-4 คลอง เพื่อดูว่าคลองไหนเหมาะที่ทำการเสนอในโครงการทำความสะอาดแม่น้ำ 9 แห่งทั่วโลก เพื่อติดตั้งเครื่องดักขยะ มากที่สุด หลังจากสำรวจเสร็จก็มีการได้ปรึกษาพูดคุยกับกรุงเทพฯ หน่วยงานสำนักการระบายน้ำ และผู้นำชุมชนก็พบว่า คลองลาดพร้าวเหมาะสมที่สุด เพราะโดยสภาพทั่วไปของคลองลาดพร้าวจะเห็นว่ามีบ้านเรือนสร้างรุกล้ำเข้ามาในเขตคลอง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำ ซึ่งตอนนี้ภาครัฐก็ได้เข้ามาช่วยในการสร้างบ้านประชารัฐประมาณ 3,000 หลัง สร้างระบบการระบายน้ำที่ดีและเหมาะสมเป็นส่วนสำคัญมาก เพราะแม้ว่าคลองจะมีขนาดเล็ก แต่กลับมีปริมาณขยะมากต่อมาได้รับความเห็นชอบจากสำนักการระบายน้ำ และเหล่าผู้นำชุมชน

“หลังจากได้ผ้านการลงมติจากทุกฝ่ายก็ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ในการติดตั้งเครื่องดักขยะจำนวน 3  เครื่อง ในจำนวนนี้ทาง มูลนิธิโคคา-โคลา ได้สนับสนุน 2 เครื่อง โดยเครื่องนี้ผลิตในไทย ต้นทุน 2.5 แสนบาท/เครื่อง เพื่อมาเสริมเครื่องดักจับขยะเดิมของทางกรุงเทพฯ  ในระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร สามารถรวบรวมขยะจากคลองลาดพร้าว ได้กว่า 50 ตัน หรือ 50,000 กิโลกรัม โดยมีปริมาณขยะที่เก็บได้สูงสุดมากกว่า 2,000 กิโลกรัม/วัน แบ่งเป็นขยะที่รีไซเคิลได้ 20-30% ในจำนวนนี้ ไม่รวมถึงขยะอินทรีย์ขนาดใหญ่ เช่น ผักตบชวาและกิ่งไม้ ซึ่งขยะที่เก็บได้มากที่สุดคือถุงพลาสติก ควบคู่ไปกับขยะอื่นๆ อย่างภาชนะโฟมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ขวดพลาสติก  ขวดแก้วจำนวนมาก หรือบางทีก็มีขยะมาเป็นถุงใหญ่มัดปาก เหมือนกับการทิ้งขยะบนบก” เจมส์ กล่าว

จากซ้ายไปขวา ตุ้ม ปิโย หัวหน้าหน่วยเก็บขยะทางน้ำ หน่วยลาดพร้าว 56,นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์

มูลนิธิโคคาโคลา และเจมส์ สกอทท์ ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิเทอร์ราไซเคิล ไทย ที่มีส่วนคัดเลือกคลองลาดพร้าว

ให้เป็นคลองโมเดลดักขยะ

สำหรับลักษณะของเครื่องดักขยะชนิดนี้ เจมส์ ได้ให้ข้อมูลว่า การออกแบบได้ให้ตัวเครื่องมีส่วนแขน ที่สามารถกางและยืดออกไปได้ยาวตามพื้นที่ แต่เนื่องจากลักษณะของคลองลาดพร้าว และการสัญจรในคลอง ทำให้ไม่สามารถทำให้เครื่องยืดได้ตามขนาดพื้นที่ หรือถ้าให้ดีที่สุดคือ 45 องศา และภายใต้แขนก็จะประกอบด้วยครีบ ที่จะสามารถช่วยดักจับขยะได้มากขึ้น และมีความทนทาน แต่ด้วยปัจจัยทางการเดินเรือต่างๆ ทำให้ยืดได้สั้น แต่ก็ยังสามารถดักจับขยะได้ถึงวันละ 1 ตัน โดยเครื่องจะทำงาน 5 วัน/สัปดาห์ แต่จะให้ดีในระยะคลองประมาณ 12 กิโลเมตร น่าจะมีเครื่องดักขยะประมาณ 6 เครื่อง  โดยเป็นการเสริมเครื่องดักขยะเดิม


"ทั้งนี้เราได้คนในชุมชนจำนวน 9 คน มาร่วมทำงานช่วยเก็บขยะบนเรือ และคัดแยกเพื่อเป็นสร้างรายได้ โดยในระยะเวลา 3 ปี ก็คาดว่าจะมีการดักจับขยะ และจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทางโครงการก็จะคอยประเมินระบบทำงานเครื่องดักขยะ เพื่อเป็นแนวทางในอนาคตที่จะทำร่วมงานกับนักศึกษาเพื่อพัฒนาตัวเครื่องให้มีประสิทธิภาพและดียิ่งขึ้น และเป็นโมเดลให้กับคลองอื่นๆ หลังจากโควิด-19 หายไป ก็จะเดินหน้าขยายสู่องค์กรที่สนใจในการจัดการขยะต่อไป "เจมส์กล่าว

นายตุ้ม ปิโย หัวหน้าหน่วยเก็บขยะทางน้ำ หน่วยลาดพร้าว 56 กลุ่มงานบำรุงรักษาคลอง 1 กองระบบคลอง สำนักการระบายนํ้า กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า คลองลาดพร้าวเป็นหนึ่งในคลองสายหลักของกรุงเทพฯ ซึ่งมีระยะกว่า 20 กิโลเมตร จากปากคลองลาดพร้าว ยาวไปจนถึงคลองสองสายใต้ ในปัจจุบันตนดูแลในระยะประมาณ 12 กิโลเมตร เริ่มจากปากคลองแสนแสบ-คลองหลุมไผ่ ในส่วนขนาดของคลองตอนนี้กว้างเพิ่มขึ้น 38 เมตร จากเดิมอยู่ที่ 16-30 เมตร เพราะทางกรุงเทพฯ ได้เข้ามาดำเนินการสร้างบ้านประชารัฐ และเขื่อนคลองลาดพร้าวทำให้มีการะบายและกลิ่นที่ที่ดีขึ้น ซึ่งก่อนหน้านั้นที่มีบ้านที่รุกล้ำเข้ามาในคลอง ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าทำไม่ได้ และขยะก็เพิ่มขึ้น

หัวหน้าหน่วยเก็บขยะ  กล่าวอีกว่า ยิ่งในหน้าฝนมีขยะที่ถูกชะล้างมา ทำให้ปริมาณขยะยิ่งมากขึ้น  เราต้องเก็บขยะมากถึง 4-5 ตัน/วัน หรือมากกว่านั้น จากในช่วงปกติที่ฝนไม่ตกก็จะเก็บขยะประมาณ 2-3 ตัน/วัน ด้วยแพดักขยะไม้ไผ่คอยดัก 2 จุด แบ่งเก็บวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นทุกวัน เพราะขยะมีอยู่ตลอดไม่เคยลด ตนคิดว่าพอมีเครื่องดักขยะเข้ามาเพิ่มอีก 3 เครื่อง ก็สามารถช่วยเพิ่มการดักจับขยะได้อีก 1 ตัน หรือบางวันก็ 2 ตัน ทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดักเก็บขยะได้มากถึง 5-6 ตัน/วัน และช่วยในการระบายน้ำในช่วงฝนตกให้เร็วขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญคือความร่วมมือจากชาวบ้านในชุมชน ที่จะไม่ทิ้งขยะลงคลอง หรือหากจะทิ้งสามารถเรียกเรือเก็บขยะเราได้เลย เพราะมีขยะชิ้นใหญ่อย่าง โซฟา เตียง ค่อนข้างที่จะเก็บยาก และทำให้อุดตันการระบายน้ำ เพราะปัจจุบันหลายองค์กรในประเทศไทยต่างช่วยกันเดินหน้าหาแนวทางแก้ไข เพื่อลดปัญหาขยะเหล่านี้ที่ทวีความรุนแรงขึ้น นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนแก่คลองในกรุงเทพมหานคร และช่วยบรรเทาวิกฤติระดับโลกได้อย่างประสบความสำเร็จ

 

ผู้บริหารทดลองตักขยะที่ดักได้จากเครื่องดักขยะ


 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"