อีอีซี สมาร์ทกริด รองรับอุตสาหกรรมอย่างมีเสถียรภาพ


เพิ่มเพื่อน    


    "อีอีซี สมาร์ทกริด จะช่วยให้สามารถเห็นพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของประชาชน  เพราะในอนาคตนั้นทุกคนมีการผลิตไฟไว้ใช้เอง มีอีวีคาร์ ถ้ามีการใช้เยอะจะจัดการการใช้พลังงานอย่างไร ดังนั้นเราต้องปรับระบบการผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขณะนี้โครงการใกล้แล้วเสร็จจำนวน 114,000 เครื่อง จากนั้นจะขยายไปในพื้นที่อีอีซีจำนวน 2 ล้านเครื่อง ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม ที่มีการใช้ไฟฟ้าที่หลากหลายทั้งประเภทพลังงานและเชื้อเพลิง ดังนั้นเราต้องเตรียมพร้อม เพื่อสนับสนุนให้ไฟฟ้าในพื้นที่อีอีซีมีความมั่นคง และรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมได้อย่างมีเสถียรภาพ"  


    ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าการไฟฟ้าและเทคโนโลยีใหม่ๆ  เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA ในฐานะผู้ให้บริการพลังงานไฟฟ้า และดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าให้เกิดความพึงพอใจทั้งด้านคุณภาพและการบริการ โดยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นองค์กรชั้นนำที่ทันสมัยในระดับภูภาค มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน ให้บริการพลังงานไฟฟ้าที่มั่นคง ปลอดภัย และมุ่งมั่นให้ประชาชนเข้าถึงไฟฟ้าได้ทุกครัวเรือน 

(สมพงษ์ ปรีเปรม)

    ดังนั้น จึงต้องเตรียมพร้อมและพัฒนาตัวเองเพื่อรองรับยุคดิจิทัล ซึ่ง นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA เปิดเผยว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล   PEA จะต้องพลิกองค์กรสู่การเป็น “ดิจิทัลยูทิลิตี้ (Digital Utility)” เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้ใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป เนื่องจากปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด 
    นายสมพงษ์ กล่าวว่า PEA ในฐานะผู้ให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น การเติบโตของการใช้งานด้านผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี และ IoT ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฮม อุปกรณ์สมาร์ทดีไวส์ และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า อันจะทำให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นในอนาคต ที่สำคัญการเกิดขึ้นของผู้ใช้บริการไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งภาคครัวเรือน และเอกชน 
    รวมถึงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และภาคอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สร้างความท้าทายในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าในอนาคตอย่างมาก เพราะแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าเหล่านี้ไม่ใช่แหล่งพลังงานที่ให้กำลังไฟฟ้าที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่สามารถควบคุม และคาดการณ์แนวโน้มการใช้พลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ PEA สามารถบริหารจัดงานการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้ประชาชนใช้ได้อย่างครอบคลุม มีคุณภาพตามมาตรฐานการให้บริการ และเพียงพอ ในช่วงเวลาวิกฤติต่างๆ


    "ภารกิจหลักของ PEA คือ ทุกพื้นที่ต้องมีไฟฟ้าใช้ จึงจำเป็นที่จะต้องขยายขอบเขตการให้บริการไฟฟ้าเพื่อครอบคลุมในทุกพื้นที่ 74 จังหวัด สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป รวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้าด้านอุตสาหกรรมด้วย เนื่องจากผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอุตสาหกรรมต้องการไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและมีปริมาณที่สูง บนพื้นฐานของความมั่นคงและความปลอดภัย พร้อมกับโครงการที่รองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของไทยต่อไปในระยะยาว" นายสมพงษ์กล่าว
    ดังนั้น PEA จึงต้องยกระดับระบบไฟฟ้าด้วยดิจิทัล เชื่อมโยงลูกค้าด้วยเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนสู่องค์กรทันสมัย เสริมสร้างบุคลากรแห่งอนาคต และพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้บริการไฟฟ้าที่มั่นคง ปลอดภัย มุ่งมั่นให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ 100% “สว่างทั่วทิศ สร้างคุณภาพชีวิตทั่วไทย” Brightness for Life Quality

นำร่องสมาร์ทกริดพัทยา
    นายสมพงษ์ กล่าวว่า แผนการลงทุน 5 ปี (63-67) ของ PEA คาดจะใช้เงินลงทุนรวมราว 2 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้า และการลงทุนพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงาน โดยโครงการสำคัญที่จะมีการดำเนินงานในปี 2563-65 ซึ่งเป็นโครงการสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ทำให้ระบบมีเสถียรภาพและปลอดภัย เช่นโครงการระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 2 เน้นการก่อสร้างระบบไฟฟ้า สายส่ง แรงดัน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563-67 ขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญกับประชาชนในเขตรับผิดชอบของการไฟฟ้า จะมีผู้ใช้ไฟรายใหม่เกิดขึ้นปีละ 4 แสนราย และในจำนวนนี้จะมีประมาณ 4 หมื่นรายที่อยู่นอกแนวเสา หรือระบบจำหน่าย ดังนั้นจึงมีการขยายเขตไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ โดยการไฟฟ้าจะลงทุนให้ทุกบาทรายละไม่ต่ำกว่า 75,000 บาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง 


    นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่เริ่มดำเนินการไปแล้วอย่าง โครงการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ในพื้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ที่ดำเนินการติดตั้งสามาร์ทมิเตอร์ (Smart Meter) ที่พัฒนาจากมิเตอร์ฟ้าแบบจานหมุนปกติ มาเป็นสมาร์ทมิเตอร์ ซึ่งนอกจากทำหน้าที่ในการวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าแล้ว ยังสามารถควบคุมและสั่งการผ่านตัวสมาร์ทมิเตอร์ไปยังศูนย์ควบคุมของ PEA ทำให้สามารถตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ไฟได้อย่างเป็นรูปธรรม และจะนำไปสู่นโยบายการประหยัดพลังงาน และควบคุมการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว ที่สำคัญผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้ประโยชน์สูงสุด แต่ปัญหาคือโครงการนี้จะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง คาดว่าแล้วเสร็จในเวลาปี 64
    อย่างไรก็ตาม หลังจากจากดำเนินการที่พัทยาแล้วเสร็จ ก็จะขยายโครงการไปยังเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เนื่องจากเป็นพื้นที่มีศักยภาพ และจะพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้ในอนาคต ซึ่งขณะนี้ PEA อยู่ระหว่างศึกษาโครงการสมาร์ทกริดในอีอีซี คาดจะต้องเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าจากแบบเดิมเป็นสมาร์ทมิเตอร์ รวมแล้วประมาณ 2 ล้านเครื่อง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้ว จะไปทำสมาร์ทกริดที่จังหวัดขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย


    "อีอีซี สมาร์ทกริด จะช่วยให้สามารถเห็นพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของประชาชน  เพราะในอนาคตนั้นทุกคนมีการผลิตไฟไว้ใช้เอง มีอีวีคาร์  ถ้ามีการใช้เยอะจะจัดการการใช้พลังงานอย่างไร ดังนั้นเราต้องปรับระบบการผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ขณะนี้โครงการใกล้แล้วเสร็จ จำนวน 114,000 เครื่อง จากนั้นจะขยายไปในพื้นที่อีอีซี จำนวน 2 ล้านเครื่อง ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสสาหกรรม ที่มีการใช้ไฟฟ้าที่หลากหลายทั้งประเภทและเชื้อเพลิง ดังนั้นเราต้องเตรียมพร้อม เพื่อสนับสนุนใหไฟฟ้าในพื้นที่อีอีซีมีความมั่นคง และรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมได้อย่างมีเสถียรภาพ" นายสมพงษ์กล่าว
ปรับองค์กรสู่ดิจิทัลยูทิลิตี้
    นายวัลลภ กิตติวิวัฒน์ รองผู้ว่าการปฏิบัติการและบำรุงรักษา PEA กล่าวว่า การเข้ามาของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า PEA ได้กําหนดยุทธศาสตร์ให้มุ่งสู่การเป็นดิจิทัลยูทิลิตี้ภายในปี พ.ศ.2565 เป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ทั้งในด้านเครือข่ายระบบไฟฟ้า การให้บริการลูกค้า กระบวนการภายใน ทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม 
    ดังนั้น ความสำเร็จของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) จำเป็นต้องมีการบูรณาการระบบงาน และกระบวนการต่างๆ ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งโครงสร้างองค์กร และรูปแบบในการดำเนินงานจะปรับให้มีความคล่องตัว โดยมีหน่วยงานด้านธุรกิจ และหน่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จำเป็นต้องมีการประสานการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ในการพัฒนาองค์กรให้เป็นดิจิทัลยูทิลิตี้ (Digital Utility) รวมทั้งบุคลากรของ PEA จำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ เพียงพอและเหมาะสมในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงรองรับรูปแบบของการดำเนินธุรกิจเพื่อรองรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป
    "การขับเคลื่อนสู่ดิจิทัลของ PEA มีการดำเนินการไปพร้อมๆ กันหลายภาคส่วน โดยเฉพาะการเดินทางไปสู่ “สมาร์ทกริด” จะเป็นส่วนสำคัญและเป็นมิติใหม่ของการให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการดำเนินการด้านการแก้ไขกระแสไฟฟ้าขัดข้อง พร้อมความสามารถในการควบคุม สั่งการการพยากรณ์และวิเคราะห์การใช้พลังงานของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ด้วย เพื่อเสถียรภาพพลังงานของประเทศ" นายวัลลภกล่าว


    นายวัลลภกล่าวว่า สำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลเกี่ยวกับงานควบคุมสั่งการจ่ายไฟฟ้า PEA จะนำมาใช้ คือ EcoStruxure™ ADMS (Advanced Distribution Management System)  จากชไนเดอร์ อิเล็กทริก เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้าของ PEA ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในเรื่องสมาร์ทกริดที่สามารถตรวจพบข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขได้อย่างทันท่วงที และบริหารจัดการพลังงานให้มีความต่อเนื่องในทุกพื้นที่อย่างเพียงพอแก่การใช้งานอย่างแท้จริง แม้ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤติ 
    พร้อมทั้งมีโซลูชั่นสำหรับการบริหารจัดการแหล่งพลังงานแบบกระจายตัว (Distributed Energy Resource Management System: DERMS) โดยสามารถมองเห็นการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของ PEA ได้ทั้งระบบ สามารถทำงานร่วมกับระบบเดิม หรืออุปกรณ์หลากหลายแบรนด์ได้อย่างราบรื่น สร้างความเสถียรของเครือข่ายที่มากขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และที่สำคัญที่สุดคือสามารถคาดการณ์แนวโน้มการใช้ไฟในอนาคต ช่วยให้ กฟภ.สามารถบริหารจัดการแหล่งพลังงานรูปแบบต่างๆ ที่เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายของ กฟภ.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    นายวัลลภกล่าวว่า “EcoStruxure ADMS จากชไนเดอร์ อิเล็กทริก นับเป็นการอัพเกรด และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟฟ้าเพื่อให้สามารถควบคุม สั่งการและวิเคราะห์จ่ายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมไฟฟ้ารูปแบบใหม่ให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้ ‘โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟ (คปศ.) ซึ่งทาง กฟภ.มีความคาดหวังว่าทั้งภาคประชาชน และภาคธุรกิจพลังงาน จะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวของ กฟภ. เมื่อระบบงานต่างๆ ทุกอย่างแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามแผนยุทธศาสตร์ที่เราได้วางเอาไว้ เพื่อเดินหน้าประเทศไทยสู่ดิจิทัลด้านพลังงานอย่างแท้จริง”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"