"ครูตั้น"เปิดมุมมอง "โควิด"สร้างวิสัยทัศน์ทางการศึกษาใหม่ การเรียนรู้ของเด็ก"ก้าวข้ามครู-ห้องเรียน"สำรวจนร.กทม.50%อยากเรียนที่บ้าน


เพิ่มเพื่อน    

14ก.ย.63 -นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)กล่าวในการปาฐกถาพิเศษในการเปิดตัวสรุปรายงานการติดตามผลการศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2563 ระดับชาติ ของยูเนสโก กรุงเทพ ตอนหนึ่งว่า จากการที่ตนได้อ่านรายงานการติดตามผลการศึกษาทั่วโลก ประจำปี 2563 พบว่า การดำเนินการเรื่องใดนั้น จะต้องมีตัววัดอะไรบ้างอย่างเพื่อให้เรามีความมั่นใจว่า สิ่งที่เรากำลังขับเคลื่อนอยู่ไปถึงไหนแล้ว ซึ่งสิ่งที่ยูเนสโกทำนั้นตนต้องการให้ องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องนำข้อมูลเหล่านี้ ไปเผยแพร่ออกให้ได้มากที่สุด เพราะเรื่องเหล่านี้มีความจำเป็นในการพัฒนาการศึกษา และมีหลายเรื่องที่ ศธ.ได้เริ่มดำเนินการขับเคลื่อนไปแล้ว ปัญหาคือ เราจะสามารถปฏิบัติได้จริงและเร็วขนาดไหน เพราะเราต้องยอมรับว่าเรื่องการพัฒนาการศึกษาเป็นสิ่งที่จะต้องใช้เวลา ทั้งนี้หากปัจจุบันเราไม่มีการวางรากฐานอะไรไว้เลย ในอนาคตการศึกษาของประเทศไทยก็จะเดินไม่ถึงเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเท่าเทียม การลดความเหลื่อมล้ำ

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า การพัฒนาการศึกษามีหลายหัวข้อ เริ่มจากเรื่องการจัดสรรงบประมาณจะต้องทำให้สามารถมีการกระจายในลักษณะที่มีหลักการเข้าเฉพาะกลุ่มที่มีความจำเป็นสูง แต่ที่ผ่านมาเรายังไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่ เราคิดว่าการให้งบประมาณกับทุกคนจะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหายไป หรือปัญหาต่างๆ จะดีขึ้น ซึ่งผลที่ออกมาไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น ตัวอย่างเช่น การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก หากเราสามารถควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 2,000 โรงเรียน จากเดิมที่โรงเรียนทุกโรงเรียนจะได้งบประมาณเท่ากันจำนวน 200,000 บาท เราอาจจะสนับสนุนงบประมาณให้กับโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนแม่เหล็กได้ถึงโรงละ 1,000,000 บาท ซึ่งตนมองว่าเป็นการจัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เราเห็นจุดเปราะบาง และโอกาสของการศึกษา คือ ครูได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เด็กมีโอกาสในการหาความรู้จากโลกออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งจากการที่ตนสุ่มถามนักเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า กว่าร้อยละ 50 ต้องการที่จะเรียนที่บ้าน เพราะตนเชื่อว่าเด็กได้ก้าวข้ามครูไปแล้ว เด็กสามารถหาความรู้ได้จากระบบออนไลน์ ดังนั้น ศธ.จะต้องหาความเหมาะสมที่จะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหายไป

“จากเพิ่มโรงเรียนไม่ใช่วิธีที่จะลดความเหลื่อมล้ำ แต่จะต้องเป็นการที่เด็กทุกคนจะต้องเข้าถึงการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเราต้องกล้าทำ และผมเองได้ท้าทายผู้บริหาร ศธ.ให้ปรับงบฯ ด้านการศึกษา ไม่ว่าจะหน่วยงานใด จะต้องนำงบฯ มารวมกันและหาความเหมาะสมว่าจะผลักดันไปทางไหน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะต้องไปขับเคลื่อนอาชีวศึกษา หรือการศึกษานอกโรงเรียน ไม่ได้มาอัดอยู่ที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สพฐ.เองก็ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้โลกไม่ได้อยู่ที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน การให้เงินอุดหนุนรายหัวสามารถทำได้ส่วนหนึ่ง  แต่ต้องมีการปรับในส่วนอื่นๆ ให้สอดคล้องด้วย เช่น กลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มผู้พิการ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากที่ผมได้เข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ ผมรู้ว่าทุกคนเข้าใจ รู้ปัญหา และรู้แนวทางที่จะต้องขับเคลื่อน ดังนั้นเราจะต้องทำทุกอย่างให้การศึกษาไทย สามารถพัฒนาไปได้”รมว.ศธ.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"