สสส.ชวนปรับสมดุลใหม่หน้าจอ-โลกจริงของครอบครัวยุคดิจิทัล


เพิ่มเพื่อน    

                สสส.หนุนขับเคลื่อนสร้างสมดุลใหม่หน้าจอ-โลกจริงของครอบครัวยุคดิจิทัล แนะพ่อแม่ปรับบทบาทเป็น นักจัดการสื่อไม่ใช่ควบคุม กำกับ แต่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์การใช้สื่อ-กำหนดกติการ่วมสร้างวินัย ย้ำอย่าอคติมอง หน้าจอ เป็นยาพิษ หรือมองข้อดีจนขาดการใช้อย่างระมัดระวัง วัยรุ่นไทย อังกฤษ ยุโรปดูจอใสผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไอโฟนมากขึ้น เด็กเลือกดูสื่อตามความสะดวก ไม่รอตามผังเวลา ช่วงโควิดเด็กนั่งจมจ่อมหน้าจอมากกว่าเดิม

สสส.ร่วมกับสำนักพิมพ์ bookscape จัดเสวนาสาธารณะ The Art Screen Time-หน้าจอ-โลกจริง : สมดุลใหม่ของครอบครัวยุคดิจิทัล ภายใต้โครงการขับเคลื่อนความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัว และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ที่ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวิทยากรร่วมพูดคุย ได้แก่ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผอ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.), ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผอ.ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.), ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม CEO-Co-Founder ZTRUS บอร์ดบริหาร DPU มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และอดีตนายกสมาคม Thailand Tech Startup Association, ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร (หมอโอ๋) กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน

ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการดำเนินการเป็นปีที่ 2 โดยคัดเลือกหนังสือด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่เขียนโดยมีการรวบรวมข้อมูลเชิงวิชาการจากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่นำมาตอบโจทย์ชีวิตครอบครัวยุคดิจิทัลที่ต้องเผชิญประเด็นปัญหาใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบ ซึ่งในครั้งนี้หยิบยกประเด็นการใช้หน้าจออย่างสมดุล เพราะหลายครอบครัวมีคำถามว่าควรให้ลูกใช้หน้าจอเมื่อไหร่ แค่ไหน อย่างไร ซึ่ง สสส.สนับสนุนโครงการด้านเด็กและครอบครัวในระดับชุมชน ทำให้พบว่าครอบครัวจำนวนมากในทุกพื้นที่มีปัญหาในเรื่องการใช้หน้าจอของลูกหลาน และยังหาทางออกที่เหมาะสมไม่ได้ ซึ่งข้อสรุปของการเสวนาในครั้งนี้จะช่วยให้แต่ละครอบครัวสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเป็นทางเลือก เพื่อให้มีชีวิตที่มีสุขภาวะในสังคมยุคดิจิทัลอย่างรู้รอดปลอดภัยและมีสุขภาวะในครอบครัว

0 ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับจอใส

ณัฐยาให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า “การขับเคลื่อนนำความรู้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยการเลี้ยงดูเด็ก สร้างเสริมวัยรุ่น เยาวชน ครอบครัว ขณะนี้สังคมใช้เทคโนโลยี เด็กเกิดมาก็ได้สัมผัสแล้ว ดังนั้นการเลี้ยงดูเด็กรุ่นใหม่ให้เติบโตด้วยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัวต้องมีบทบาทในการปรับการเลี้ยงดูเด็ก เมื่อเด็กโตขึ้นต้องซึมซับเข้าใจจิตวิทยาเด็ก ต้องจัดเวลาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ เข้าใจเด็กวัยรุ่น ไม่ปล่อยให้เด็กเป็นโรคซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตาย มีจุดเริ่มต้นจากความสัมพันธ์ไม่ดีในครอบครัว ส่งผลถึงความสุขที่อยู่ภายในลึกๆ จัดกิจกรรม workshop ฟื้นความสัมพันธ์”

หนังสือเล่มนี้นำเสนอเรื่องที่ถกเถียงกันในสังคมยุคดิจิทัล ไม่มีใครมีสูตรสำเร็จเรื่องจอใส จากทีวี แท็บเล็ต ไอโฟน สมาร์ทโฟน เป็นเรื่องถกเถียงกันตลอด ผู้เขียนทำงานวิจัยรวบรวมสะท้อนปัญหา สรุปแนวทางปฏิบัติไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบอยู่หน้าจอ มีงานวิจัยสมาคมแพทย์และพยาบาลสนับสนุนแนวคิดนี้ ในกรณีที่เด็กอายุน้อยๆ ถ้าใช้แท็บเล็ต ผู้ปกครองต้องดูพร้อมกับลูก เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ในระยะสั้นๆ ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กอยู่กับมือถือทั้งวัน ในขณะที่บางบ้านไม่ยอมให้ลูกใช้จอใส ในขณะที่ปู่ย่าตายายคิดอีกแบบหนึ่งว่าถ้าเด็กอยู่กับจอใสแล้วจะฉลาด มีปัญหาทะเลาะกันว่าจะเลี้ยงลูกแบบไหนดี

ในหนังสือยังนำเสนอจับหนู 2 กลุ่มที่เลี้ยงดูแตกต่างกัน หนูที่ถูกอัดให้อยู่กับทีวีเมื่อปล่อยไปในพื้นที่ว่างจะวิ่งพล่าน ในขณะที่กลุ่มหนูที่ไม่ได้อยู่กับทีวีจะอยู่นิ่งๆ มองรอบตัว เดินไปสำรวจมุมโน้นมุมนี้ เมื่อส่องเข้าไปดูเนื้อสมองของหนูสองกลุ่มเห็นถึงความแตกต่างกัน สมองหนูไม่ได้พักผ่อน การนอนเสียสมดุล ส่งผลต่อการเรียนรู้

การใช้จอใสเป็น Trend ของบ้านเรา ถ้าด่วนสรุปว่าจอใสเป็นสาเหตุการให้เวลามีคุณภาพในการเลี้ยงดูเด็กบกพร่องก็เป็นเรื่องไม่ถูกต้องนัก พ่อแม่ต้องให้เวลา แต่ปัญหาเศรษฐกิจที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงานหาเงิน กว่าจะกลับถึงบ้านก็ค่ำมืดดึกดื่น หมดเวลาไปกับการเดินทาง ดังนั้นจะทำงานอย่างไรให้เป็นมิตรต่อครอบครัว การมีศูนย์เด็กเล็กในที่ทำงานใกล้บ้าน ฯลฯ

0 พ่อแม่ “นักจัดการสื่อ” ไม่ใช่คนควบคุมกำกับ

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) กล่าวว่า ข้อมูลของประเทศอังกฤษได้สำรวจสถานะการใช้สื่อของเด็กอังกฤษเปรียบเทียบปี 2015 กับ 2019 พบว่าอัตราการดูรายการโทรทัศน์ของเด็กไม่ได้น้อยลงในเรื่องของการดูเนื้อหา แต่ไม่ได้ดูผ่านหน้าจอโทรทัศน์เท่านั้น เป็นการดูผ่านอุปกรณ์อื่น อย่างแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะดูผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไอโฟนมากขึ้น หากเปรียบเทียบกับเด็กไทย เด็กอังกฤษ เด็กยุโรป พบว่าไม่แตกต่าง ยังมีการดูเนื้อหาที่นำเสนอ แต่ไม่ดูผ่านหน้าจอโทรทัศน์ เพราะไม่อยากต้องนั่งดูตามผังเวลา อยากเป็นคนเลือกการดูด้วยตนเอง จึงมีประเด็นที่น่าสนใจคือ เด็กมีอำนาจในการเป็นผู้เลือกดูสื่อตามความสนใจและความสะดวก เด็กได้ดูภาพยนตร์ซีรีส์ รายการ variety ที่เป็นประโยชน์

เมื่อสอบถามพ่อแม่คนอังกฤษ นับวันพ่อแม่มีความวิตกกังวลเมื่อลูกท่องอินเทอร์เน็ต แต่จะคอยสอดส่องว่าลูกเล่นอินเทอร์เน็ตในทางที่เป็นประโยชน์หรือไม่ พ่อแม่ก็ไม่อยากถูกประณามว่าปล่อยลูกไว้อยู่หน้าจอโดยไม่ให้ความสนใจ จากผลงานวิจัยของไทย การที่เด็กดูรายการเด็กเป็นการสะท้อนตัวตนของเขา เด็กๆ ต้องการมีพื้นที่ของตัวเองในโลกที่เสมือนจริง ทีวีเป็นสื่อหลัก เด็กมีตัวตนค่อนข้างน้อย

พ่อแม่ไม่ควรที่จะปฏิเสธการใช้สื่อของเด็กอย่างสิ้นเชิง รวมถึงไม่ควรปล่อยตามใจ แต่พ่อแม่จะต้องทำหน้าที่เป็นนักจัดการสื่อ ไม่ใช่คนควบคุม กำกับ หรือบังคับให้ลูกเล่นหรือไม่ให้เล่น การคัดเลือกเนื้อหาไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักสร้างปฏิสัมพันธ์ในการใช้สื่อ เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกเข้าอกเข้าใจ ทำให้เด็กไม่ลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง ดังนั้น การสร้างสมดุลในการใช้จะเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการห้ามเด็ดขาด หรือการปล่อยอิสระ ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีกลไกหนุนเสริมการเป็นนักจัดการสื่อที่ดีให้กับพ่อแม่และครูรศ.ดร.วิสาลินีกล่าว

สสส.นำเสนอสถานการณ์เยาวชนไทยมีกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกายของเด็กผกผันกับการใช้หน้าจอของเด็ก เปรียบเทียบกับจำนวนชั่วโมงที่เด็กออกไปเล่นนอกบ้าน ผลสำรวจ ม.มหิดลและ สสส.เมื่อปี 2555 เด็กไทยเนือยนิ่ง จะขยับร่างกายเพียง 20% ในปี 2562 ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 24.4% ในช่วงโควิดเด็กออกจากบ้านไม่ได้เป็นเวลา 3-4 เดือน ส่งผลให้มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง นั่งอยู่นานๆ เกินเวลาที่ WHO กำหนดไว้ สุขภาพจะดีได้ต้องมีขยับให้ได้อย่างน้อย 150 นาที:สัปดาห์ บางครั้งเด็กไทยไม่ขยับ 10 ชั่วโมง เด็กไทยจมจ่อมอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน

งานวิจัย สสส. เด็กวัย 15-17 ปีใช้เวลากับ smart Phone 3.14 ชั่วโมง ในช่วง 3 เดือนโควิดเด็กกักตัวอยู่บ้านใช้เวลากับหน้าจอ 4.11 ชั่วโมง ในสถานะที่ทีวีช่องพีบีเอสเป็นสื่อสาธารณะ สำรวจเด็กปฐมวัย 3-6 ปี และเด็ก 7-11 ปี พบว่าเด็กอยู่หน้าจอทีวีเป็นการผจญภัยของเด็ก เด็กตื่นขึ้นมาก็รับสื่อกลายเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อเด็กกลับจาก รร.เข้าบ้านก็ดูทีวี youtube เล่นเกม อ่านหนังสือ ดังนั้นหน้าจอกลายเป็นพื้นที่สำคัญของเด็ก โดยเฉพาะพฤติกรรมการดู youtube สูงขึ้น และช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ก็เป็นพฤติกรรมใกล้เคียงกัน เด็กวัย 7-11 ปีเด็กเริ่มเข้าโรงเรียนมีพฤติกรรมในการดู youtube เพิ่มมากขึ้น ด้วยการดูการ์ตูนเป็น เพราะเด็กเข้าถึง youtube ได้มากกว่า เป็นตัวแปรทำให้เด็กเปลี่ยนหน้าจอมาดูจากจอมือถือ smart phone

ในฐานะนักจัดการสื่อ คนผลิตสื่อ ผลิตเนื้อหากลไกสนับสนุนศักยภาพพ่อแม่ในการจัดการสื่ออย่างไร ถ้าพ่อแม่จัดการสื่อได้ดีเห็นใจผู้อื่น เป็นคุณสมบัติทำให้เด็กไม่อยากใช้สื่อเพื่อความรุนแรง รู้สึกเจ็บปวดแทน ไทยพีบีเอสสร้างความสมดุลเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ขณะนี้มี ALTV4 เป็น Active Learning ทุกรายการดูหน้าจอทำโจทย์ในเว็บไซต์ line app สอนเด็กเปิดพื้นที่ติวเตอร์รุ่นใหม่ๆ เข้ามาใช้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ การทำ Service สื่อสาธารณะเป็นสื่อทางพลวัตการสอนปฏิสัมพันธ์ทางสังคมให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

0 กุมารแพทย์สหรัฐปรับไม่ควรให้ใช้สื่อหน้าจอ 1 ขวบครึ่ง

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี และเจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน กล่าวยอมรับว่า สื่อมีผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบ มีงานวิจัยจำนวนมากที่พูดถึงผลกระทบจากหน้าจอ เช่น ปัญหาวิตกกังวล ซึมเศร้า ภาวะอ้วน กรณีเด็กจะเป็นเรื่องพัฒนาการทางภาษา แต่สาเหตุของปัญหาแท้จริงแล้ว ไม่ใช่จากสื่ออย่างเดียว แต่เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งเนื้อหาข้อมูลที่ได้รับจากสื่อ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการติดจอเกิดขึ้นได้ เพียงแต่เด็กจะมีโอกาสความเสี่ยงมากกว่า หากไม่มีการเข้าไปแก้ปัญหาจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ติดจอและเลิกยากมากกว่า

จากการทำงานคลินิกวัยรุ่นได้เห็นวิวัฒนาการคนไข้ ปัญหาการใช้หน้าจอของวัยรุ่น แนะนำให้พ่อแม่ใช้หน้าจอเป็นพี่เลี้ยงให้ลูก อยู่เป็นเพื่อนลูก แต่ส่วนใหญ่พ่อแม่ออกไปทำงาน ฝากลูกไว้กับปู่ย่าตายายซึ่งวิ่งไล่จับไม่ไหว ถ้าปล่อยเด็กอยู่กับหน้าจอ เด็กขาดการเรียนรู้ที่จะทำในสิ่งที่ควรต้องทำ เราต้องฝึก EF ในการควบคุมอารมณ์ เด็กบางคนโกรธแล้วหงุดหงิด แสดงออก ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เกิดผลกระทบที่ตามมา ยิ่งการไม่มี limit ในการใช้จอใส ไม่มีกฎกติกาใดๆ เล่นทั้งวันโดยไม่อยากจะเรียนหนังสือ การเรียนก็ตกต่ำ ในขณะที่พ่อแม่ต้องทำงานหาเงิน กว่าจะกลับบ้านก็ค่อนข้างดึก เท่ากับว่าพ่อแม่หยิบยื่นมือถือให้ลูกโดยไร้กฎกติกาควบคุม พ่อแม่เลี้ยงลูกที่ดีได้นั้นต้องไม่ปล่อยลูกอยู่หน้าจอจนสุดโต่ง โรงเรียนที่ดีก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี

ผศ.พญ.จิราภรณ์กล่าวว่า ปัจจุบันสมาคมกุมารแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกามีคำแนะนำปรับลดอายุของเด็กที่ไม่ควรให้ใช้สื่อหน้าจอจาก 2 ขวบเป็น 1 ขวบครึ่ง และอายุ 1 ปีขวบครึ่งถึง 2 ขวบให้ใช้ได้ไม่เกิน 30 นาทีต่อวัน 2 ขวบ-4 ขวบไม่เกินวันละ 1 ชั่งโมง มากกว่า 4 ขวบไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง โดยอาจจะพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว ทั้งนี้ ควรมีการตกลงกติกาบางอย่างร่วมกัน เช่น ระยะเวลาในการเล่น เพื่อเป็นการสร้างวินัยให้กับลูก รวมถึงให้ลูกได้มีเวลาเพียงพอในการทำกิจกรรมอื่นที่เหมาะสมกับช่วงวัยด้วย เช่น การออกไปเล่น หรือการออกกำลังกาย การทำงานบ้าน เป็นต้น

ในโลกปัจจุบันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงหน้าจอไม่ได้ แต่จะต้องอยู่กับมันอย่างเป็นมิตร ระมัดระวังในเรื่องของเนื้อหา ระยะเวลาที่ใช้งานหน้าจอไม่มากจนเกินไปหรือปิดกั้นมากเกินไป โดยที่ต้องสร้างสัมพันธ์ระหว่างโลกจริงกับโลกในหน้าจอ เพราะโลกจริงสามารถใช้ประโยชน์จากหน้าจอได้ เช่น พ่อแม่สามารถใช้หน้าจอเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจร่วมไปกับลูกได้มากมาย ไม่อยากให้มีอคติมองการใช้หน้าจอเป็นยาพิษ หรือคิดว่ามีประโยชน์มหาศาลจนขาดการใช้อย่างระมัดระวังผศ.พญ.จิราภรณ์กล่าว

ปัญหาจากการนำมือถือใช้ก่อนนอน มีปัญหาการนอนไม่เพียงพอ น้ำหนักเกิน นำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ก้าวร้าว ไม่มีสมาธิ สมาคมกุมารแพทย์ฯ ปรับลดเด็กอายุ 1 ขวบครึ่งไม่ควรใช้มือถือ จะใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ หลายบ้านไม่ปล่อยให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงเพราะปล่อยเด็กอยู่หน้าจอ

พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบให้ลูกในการรับสื่อ ด้วยการตกตะกอนการเรียนรู้จากสื่อ การมองผ่านเกม ผ่านความแตกต่างที่หลากหลาย เรื่องราวความเป็นจริงด้วยการชวนคุยว่ารู้สึกอย่างไร ทำอะไรที่มีความแตกต่างเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ร่วมกัน เหมือนกับการอ่านนิทาน พ่อแม่หลายคนไม่ยอมให้ลูกแตะหน้าจอ ทั้งๆ ที่เป็นการฝึก self control จัดการตัวเองที่จะหยุด เพราะโลกเรานี้มีอีกหลายสิ่งที่เย้ายวนความสนุก ตั้งใจปิดเกมได้ การทำ content เป็นการสร้างคุณลักษณะบางอย่างติดตัว ให้คิดวิเคราะห์เป็น คิดยืดหยุ่น การต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ แม้แต่หมอที่เป็นพ่อแม่ก็ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มี app อะไรดีๆ สำหรับเด็ก หมอก็นำมาลงในเพจแนะนำ app วาดการ์ตูนสร้าง story telling เราอยู่กับโควิดจะอยู่กันอย่างไร เราเห็น dynamic ทุกคนหวาดกลัวโควิด เรามาช่วยกันต่อสู้กับโควิดอย่างไร อย่าให้ถึงกับปิดหน้าจอ ปิดโอกาส เด็กอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์

“หมออยากให้ลูกเติบโตเป็นเด็กปกติ ไม่อยากให้เขาถูกจับจ้องว่าเป็นลูกหมอโอ๋ พ่อแม่ต้องเคารพสิทธิของลูก ไม่ละเมิดสิทธิของเขา ให้เขาได้ทำอะไรที่เขารู้สึกสบายใจ การที่มีภาพลูกลงใน Social media มีเพื่อนเข้ามากด like เป็นการเยียวยาความรู้สึกเหนื่อยล้าที่ไม่มีเวลาดูลูก พ่อแม่สร้างความสุขให้ตัวเองด้วยการนำเรื่องเลี้ยงลูกเป็นเวทีอวดลูกตัวเอง ชีวิตเด็ก ขาว ดำ เทา เราจะสร้าง balance อย่างไร พ่อแม่ต้องมีความยับยั้งชั่งใจด้วย.

 

 

“เด็กที่อยู่หน้าจอนานๆเขาควบคุมอารมณ์ไม่อยู่”

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม (ดร.ก้อง) CEO-Co-Founder ZTRUS

บอร์ดบริหาร DPU มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และอดีตนายกสมาคม Thailand Tech Startup Association

            เราสร้าง AI อ่านเอกสารแทนมนุษย์ ผมเป็นคน IT ผมไม่ติดเกมตั้งแต่เด็กๆ เพราะเล่นเกมไม่เก่ง แต่ชอบดูฟุตบอล เหมือนคนที่ชอบเล่นฟุตบอล อยากอยู่ในสนาม ก๊อปปี้หาทางออกในการเล่น คนแบบไหนที่จะสู้กับ AI ได้ความรู้ ให้ทุกคนเข้าถึงและคิดให้เปิดประโยชน์ เราต้องยอมรับความหลากหลายของเด็ก ทุกวันนี้เด็กเล่นเพลงแจ๊สได้เก่งกว่าเด็กรุ่นก่อนๆ มาก คนที่เขียนโปรแกรมเราอยากได้ Logic ที่มีความ Balance ถ้าสังเกตเด็กที่อยู่หน้าจอนานๆ เขาควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ไม่ต่างกับการบังคับลูกให้ไปอาบน้ำจนต้องใช้คำพูดว่า “ต้องไป”

            ลูกอายุ 5 ขวบ วัยนี้ชอบดูไดโนเสาร์ นินจา เปิดเสียงเพลงนั่งดูพร้อมกับลูก gentleman ตีกลองตามจังหวะในหลายมิติให้เกิดความสมดุลกัน 

 

“รู้วัฒนธรรมการใช้“สื่อ”ให้เกิดประโยชน์”

เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

                พ่อแม่ที่ทำงานหาเช้ากินค่ำ ไม่ได้อยู่กับสื่อ ต้องมองทั้งระบบสังคม ทำให้ประชาชนมีสมรรถนะ เกิดทักษะ มองกลไกระดับนโยบาย ไม่ใช่ตัวเครื่องมือ เทคโนโลยี ดูการเรียนรู้ของคน หลายครั้งเราคิดว่าการเรียนรู้อยู่ในห้องเรียนและจบลงที่ห้องเรียน แต่เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา มีเรื่องซับซ้อน ความเห็นอกเห็นใจคนอื่นด้วย คนที่ตกทุกข์ได้ยากเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ มีการจัดการ มองทั้งสังคม

            งานวิจัยนี้มีอะไรที่เป็นปัจจัยแวดล้อม การเรียนในห้องเรียน การพัฒนาพ่อแม่ สื่อต่างๆ โครงสร้างเข้าไปถึงพ่อแม่ในระดับล่าง ฉายภาพให้เห็นในอนาคต อยู่กับความเป็นจริง เป็นวิถีชีวิตด้วยการใช้วัฒนธรรมสร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่กระทบเราได้ตลอดเวลา ระบบการศึกษาในออสเตรเลีย ระดับอนุบาลใช้สื่อ ทุกวิชาเรียนรู้ไม่มีตำรา เด็กประถม 6 น้ำท่วม เราจะเอาตัวรอดได้อย่างไร ให้เด็กตั้งคำถามจากเหตุการณ์จริง ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเขียนเป็นนิทานออนไลน์ ตั้งคำถามว่าประเทศออสเตรเลียมีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไร เด็กได้รับรู้ เหตุการณ์ที่เกิดในเวียดนาม ไทย ออสเตรเลีย มีความเชื่อมโลกกับเมืองต่างๆ ในโลก เกิดเป็นมิติการใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ด้วย.

 

 

ประโยคเด็ดจากหน้าจอ-โลกจริง สมดุลใหม่ของครอบครัวยุคดิจิทัล

            “เด็กสมัยนี้เริ่มสัมผัสสื่อดิจิทัลครั้งแรกตอนอายุสี่เดือน หรือแทบจะทันทีที่พวกเขาเริ่มมองเห็นสิ่งที่อยู่พ้นปลายจมูกของตัวเองได้ ขณะที่ในช่วงทศวรรษ 1970 อายุเฉลี่ยที่เด็กสัมผัสกับสื่อครั้งแรกคือสี่ขวบ”

            “พ่อแม่ตาค้าง ข่มตาหลับไม่ลงทั้งคืน ผลกระทบไล่เรียงมาตั้งแต่โรคอ้วน การนอนหลับคุณภาพค่ำ ความก้าวร้าว หรือโรคสมาธิสั้น ส่วนหนึ่งของการพร้อมใจกันนำเสนอผลกระทบที่น่าวิตกเหล่านี้สะท้อนให้เห็นอคติที่ปรากฏในสาขาวิชาและหัวข้อศึกษาด้านวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ อคติอันดับแรกปรากฏอยู่ในแบบแผนและวิธีดำเนินงานวิจัย”

            “หน้าจอกลายเป็นของใช้ส่วนตัวมากกว่าจะเป็นของที่ใช้ร่วมกับคนอื่นๆ อย่างโทรทัศน์ นับวันก็ยิ่งเป็นเหมือนเตาผิงอิเล็กทรอนิกส์ประจำบ้านเข้าไปทุกที หน้าจอเป็นอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารและการสร้างสรรค์ ไม่ใช่ช่องทางสำหรับการรับชมเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องโต้ตอบ ถึงแม้เราจะให้ลูกๆ ลองทำเหมือนกับที่เราเคยทำ อย่างเช่น ให้ดูรายการ เซซามิสตรีท การดูของพวกเขาก็จะแตกต่างจากเราอยู่ดี พวกเขาจะเลือกคลิปที่มีตัวละครที่ชอบบนยูทูบ กดข้ามโฆษณา และดูสตรีมออนไลน์ ตอนแล้วตอนเล่าตามต้องการ”.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"