'อดีตบอร์ดแบงก์ชาติ'ชงใช้นโยบายการเงินกระตุ้นการลงทุนยุคโควิด


เพิ่มเพื่อน    

27 ก.ย.63- นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  ข้อเสนอใช้นโยบายการเงิน Yield Curve Control กระตุ้นภาคการลงทุนพร้อมนโยบายดอกเบี้ย 0% กระตุ้นเศรษฐกิจภาคบริโภคนั้นมีความจำเป็นเพิ่มขึ้นในการประคับประคองเศรษฐกิจไทยให้กระเตื้องขึ้นเนื่องจากมีข้อจำกัดทางการคลังมากขึ้นตามลำดับ ข้อเสนอในการใช้นโยบายการเงิน Yield Curve Control โดยแบงก์ชาติต้องกำหนดเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางหรือระยะยาว จากนั้นจะเข้าทำการซื้อหรือขายพันธบัตรเพื่อรักษาเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ขอเสนอให้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป้าหมายพันธบัตรระยะกลางอายุ 3-4 ปีที่ 0.75%-1.25% และ อายุ 7 ปีถึง 10 ปี ไม่เกิน 2-2.50% ส่วนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 1-2 ปีควรปรับลงมาไม่ให้เกิด 0.50% ต้นทุนทางการเงินสินเชื่อระยะ 3 ปีถึง 10 ปีของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจจะลดต่ำลง โดยเฉพาะต้นทุนเงินกู้ซื้อบ้านและรถยนต์จะลดลง ส่งผลกระตุ้นเชิงบวกต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งยังคงหดตัว

นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า  การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนซบเซาให้กระเตื้องขึ้นได้ระดับหนึ่งและจะช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงาน นอกจากนี้ Yield Curve Control ควรจะส่งผลให้ราคาทรัพย์สินทางการเงินโดยเฉพาะราคาหุ้น ค่าเงินบาท ปรับไปในทิศทางที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยราคาหุ้นน่าจะปรับตัวสูงขึ้นเกิดผลบวกต่อความมั่งคั่ง (Wealth Effect) ไปกระตุ้นภาคการบริโภคและภาคการลงทุนอีกทอดหนึ่ง ผลของการทำ Yield Curve Control ที่มีประสิทธิภาพควรทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงกระตุ้นการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งโดยไม่ต้องกังวลต่อแรงกดดันเงินเฟ้อ เพราะขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในภาวะเงินฝืดและมีเงินเฟ้อติดลบอยู่ หากธนาคารแห่งประเทศไทยตัดสินใจจะทำ Yield Curve Control ขอแนะนำให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ใกล้ 0% หรือ 0% เสียก่อน 

นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่า ธนาคารกลางบางประเทศได้เริ่มใช้นโยบาย Yield Curve Control ควบคู่กับนโยบายดอกเบี้ยต่ำพิเศษ เช่น ธนาคารกลางออสเตรเลีย ธนาคารกลางอินเดีย และ มีรายงานผลในทางบวกของนโยบายดังกล่าว มีงานวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การเงินของ Brookings Institution และ Huchins center on Fiscal&Monetary Policy ยืนยันว่า การใช้นโยบายดอกเบี้ย 0% หรือ ใกล้ 0% ควบคู่กับการควบคุมให้อัตราดอกเบี้ยระยะกลางและระยะยาวอยู่ในระดับต่ำ (Yield Curve Control) จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น แต่อาจจะมีความเสี่ยงเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นหรือภาวะเฟ้อสบู่ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการดำเนินนโยบาย Yield Curve Control ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางในการดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ .


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"