100 ชุมชนรางวัล คุณธรรมยึดหลักพอเพียง-พลัง บวร 


เพิ่มเพื่อน    

    ปัจจุบันมีชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยพลังบวรต้นแบบ แล้วกว่า 20,000 ชุมชนทั่วประเทศ โดยเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของท้องถิ่น มาต่อยอดสร้างสรรค์สร้างมูลค่าเพิ่ม ส่วนคนในชุมชนก็มีส่วนร่วมพัฒนา จนทำให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชน  สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย 

ด้วยเหตุนี้ กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จึงได้จัดจัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ 100 สุดยอดชุมชนคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวรต้นแบบ และ 150 หน่วยงานหรือบุคคลที่สนับสนุนการขับเคลื่อน  บวร ในการพัฒนาชุมชนด้วยมิติทางวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า การมอบโล่รางวัลให้แก่ 100 ชุมชน และ 150 หน่วยงานที่มีส่วนขับเคลื่อน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จในการผนึกกำลังขับเคลื่อนพลัง บวร จากทุกภาคส่วน  ทำให้ประสบความสำเร็จ มีชุมชนคุณธรรมจำนวน 22,540 แห่งทั่วประเทศ จากชุมชนในประเทศกว่า 70,000 ชุมชน  โดยเป็นการนำนโยบายของรัฐบาลที่ทำต้นทุนทางวัฒนธรรมของไทยที่มีอยู่ในทุกภาค มาสร้างรายได้ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชน และอีกกว่า 50,000 ชุมชน ที่จะได้เห็นและนำแนวทางการขับเคลื่อนพลังบวรไปปฏิบัติ หรือนำไปใช้ในชุมชนให้เกิดประโยชน์ 


"การขับเคลื่อนชุมชนด้วยพลังบวร สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนที่เริ่มมาจากครอบครัว สู่วัฒนธรรมประเพณีที่รวมใจอย่างที่ วัดหรือมัสยิด และการเรียนรู้ของเด็กที่จะเป็นอนาคตในโรงเรียน ซึ่งได้ขยายเป็นสังคมที่ใหญ่ สู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชน บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง   แม้ว่าเราจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ก็ยังเกิดสังคมที่มีการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และมีการปรับวิถีชีวิตไปตามสถานการณ์ หรือในปัจจุบันที่เรายังคงดำเนินการใช้ชีวิตในวิถี New Normal และคาดว่าชุมชนหรือผู้ที่ขับเคลื่อนจะเดินหน้าในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนในด้านต้นทุนวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างยั่งยืน"รมว.วธ.กล่าว

 

พระครูวินัยธรอำนาจ อนุภทฺโท

พระครูวินัยธรอำนาจ อนุภทฺโท เจ้าอาวาสวัดนาหนอง จ.ราชบุรี ประธานชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง กล่าวว่า  การมีส่วนร่วมระหว่างคนในชุมชนที่มีทั้งหมด 5 หมู่บ้านกับวัด มีมานาน เพราะจะมีการร่วมตัวกันในงานบุญประเพณีต่างๆ และคนในชุมชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายไท-ยวน ทำให้มีวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่โดด เด่น อย่างภูมิปัญญาที่สืบทอดมานาน คือ ผ้าจก ผ้าพื้นเมืองเป็นผ้าทอที่มีความประณีต สวยงาม และมีความเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผ้าทอไท-ยวนของ จ.ราชบุรี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และยังได้มีการจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่เสริมสร้างรายได้ อย่างต๋าหลาดไท-ยวน วัดนาหนอง มีสินค้าพื้นเมือง สินค้าการเกษตร และการจัดงานวัฒนธรรมและประเพณีเป็นประจำทุกปี เช่น ประเพณีบุญเดือน 3 ตักบาตรข้าวต้มมัด ประเพณีที่ 1 ปีมีครั้งเดียว ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษมากว่า 82 ปี ประเพณีตักบาตรเทโว สงกรานต์ ถวายสลากภัตแด่พระสงฆ์ พอมีคนรู้จักและเข้ามาเที่ยในชุมชน นอกจากจะสร้างรายได้แล้ว ก็ยังทำให้ไม่เกิดการย้ายถิ่นฐานไปทำงานต่างถิ่น วัยรุ่นหันมาสนใจในการทำงาน ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ในอนาคตก็อยากจะพัฒนาชุมชนต่อเนื่องให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

รมว.วธ. มอบโล่เพื่อเชิดชูเกียรติ


สำหรับ100 สุดยอดชุมชนคุณธรรม และ 150 หน่วยงานหรือบุคคล ที่ได้รับโล่รางวัล อาทิ ชุมชนคุณธรรมฯ เทศบาลเมืองไร่ขิง (เกาะลัดอีแท่น) จังหวัดนครปฐม, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านทุ่ง จังหวัดน่าน, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเก่าริมน้ำประแส จังหวัดระยอง, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเกาะเรียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านคลองอารางจังหวัดสระแก้ว, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 จังหวัดนราธิวาส, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านชายทะเลรางจันทร์ จังหวัดสมุทรสาคร, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านดงยาง จังหวัดสิงห์บุรี,ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านดงห้วยหลวง จังหวัดเพชรบุรี, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู, ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านท่าเรือจังหวัดนครพนม เป็นต้น และ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พระพรหมบัณฑิตรักษาการเจ้าคณะหนกลางกรุงเทพมหานครพระพรหมโมลีรักษาการเจ้าคณะภาค 5 กรุงเทพมหานครพระพรหมเสนาบดีรักษาการเจ้าคณะภาค 7 เป็นต้น

สมบูรณ์ หมั่นค้า มุ่งมั่นสืบทอดภูมิปัญญาการทำเรือหัวโทง

 

 

อีกหนึ่งชุมชนในดินแดนใต้ ที่มีภูมิปัญญาโด่นเด่นในการทำเรือหัวโทงจำลอง นายสมบูรณ์ หมั่นค้า ประธานกลุ่มเรือหัวโทงจำลองบ้านเกาะกลาง จ.กระบี่ เล่าให้ฟังว่า จากภูมิปัญญาการทำเรือหัวโทงจำลอง มีที่มาจากการอพยพมาอยู่ของชาวมาเลเซียในอดีตด้วยเรือหัวโทง และมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ มีทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ทำให้เราคนรุ่นต่อมาอยากอนุรักษ์จึงได้มีการส่งเสริมอนุรักษ์การทำเรือหัวโทงทั้งขนาดจริง และจำลอง หรือกะลามะพร้าวทำเป็นของที่ระลึก ข้างสังข์หยดจากพัทลุง มาปลูกที่บ้านเกาะกลางที่ได้ผลดี หรือผ้าปาเต๊ะ ที่มีลวดลายเฉพาะ และความอเมซิ่งของการมาเที่ยวคือ จะได้นั่งรถซาเล้งเที่ยว ไม่มีรถยนต์เพราะเป็นเกาะขนาดเล็ก ทะเลล้อมรอบ และนั่งเรือหัวโทงชมป่าชายเลน แม้ว่าในช่วงโควิด-19 จะปิดการรับนักท่องเที่ยว แต่เมื่อเปิดให้เที่ยวก็มีนักท่องเที่ยวมาเยือน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวไทย ทำให้เขาได้เห็นวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของเรา พร้อมกับการต้อนรับของชาวบ้านด้วยรอยยิ้ม และทำให้คนไทยได้เห็นความสวยงามของกระบี่ในมุมของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่ยังอนุรักษ์มาจนถึงปัจจุบัน

เรือหัวโทงจำลอง ของฝากจากบ้านเกาะกลาง จ.กระบี่

ผ้าจก ภูมิปัญญาการทอผ้าชาวไท-ยวน จ.ราชบุรี

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"