ครั้งแรก MOU วิจัย DNA - เก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชป่าชายเลนในระยะยาว


เพิ่มเพื่อน    

 

 

         วันนี้ - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การวิจัย พัฒนา และวิชาการ เกี่ยวกับป่าชายเลน โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และนายโสภณ ทองดี อธิบดี ทช. ร่วมลงนาม ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานสมาคมป่าชายเลนนานาชาติ ประธานในพิธีลงนาม พร้อมด้วย นายอภิชัย เอกวนากูล รักษาการรองอธิบดี ทช. และ ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ร่วมเป็นสักขีพยาน ที่โรงแรมเซนทราฯ บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ 

                ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานสมาคมป่าชายเลนนานาชาติ กล่าวว่า ป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญ อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็มมีพันธุ์พืช มากกว่า 80 ชนิดเจริญอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นพืชที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ทำให้ป่าชายเลนกลายเป็น “ซูเปอร์มาร์เก็ต” ที่สำคัญของประมงชายฝั่ง สร้างอาชีพ และรายได้ให้ชุมชน ในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการที่สำคัญในระดับโลก คือ โครงการสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.๙” ซึ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนแห่งแรกของโลกที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บ้านเสม็ดงาม จ. จันทบุรี จะเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าชายเลนจากทั่วโลกมาไว้ที่นี่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และการวิจัยป่าชายเลนในระดับนานาชาติ ความร่วมมือระหว่าง ทช. และ สวทช. จะนำเอาจุดเด่นความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานมาบูรณางานวิจัยป่าชายเลนสู่การเปิดบทบาทการวิจัยแนวหน้าด้านป่าชายเลนในไทยให้รองรับการดำเนินงานของสวนพฤษศาสตร์นานาชาติ ร.9 แห่งนี้

 

 

     ประธานสมาคมป่าชายเลนนานาชาติ  กล่าวว่า ทรัพยากรที่ใช้อยู่วันนี้ เรายืมลูกหลานมาใช้ เมื่อต้องส่งคืนก็ควรเป็นทรัพยากรที่มีค่า อุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่ใช้จนหมด ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศเชื่อมน้ำจืดกับน้ำเค็ม เป็นแหล่งอาหารที่อยู่ของสัตว์น้ำ ซึ่งสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำกร่อยวางไข่ในป่าชายเลนแล้วออกไป ส่วนสัตว์น้ำเค็มวางไข่ในทะเลแล้วมาหาอาหารที่ป่าชายเลน บ้านหลังใหญ่สุดของสัตว์น้ำ คือ ป่าชายเลน รองลงมา แหล่งปะการัง และแหล่งหญ้าทะเล

      “ ป่าชายเลนเป็นโรงครัวที่สำคัญ ใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมจำนวนมาก มีข้อมูล 1 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตรต่อปี นี่คือ ปุ๋ยธรรมชาติและธาตุอาหารสู่ระบบนิเวศป่าชายเลน หากต้องลงทุนซื้อปุ๋ยคิดเป็นเงินมหาศาล ปัจจุบันมีชุมชน  900 แห่ง พึ่งพาอาศัยป่าชายเลน กิน อยู่ สร้างรายได้ นี่คือต้นทางสำคัญของประมงชายฝั่ง ป่าชายเลนสำคัญตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับโลก ที่สำคัญในสถานการณ์สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ป่าชายเลนมีบทบาทอย่างมากดูดซับคาร์บอนให้ถูกดึงลงไปในผืนดินใต้ทะเลหรือดินเลนชายฝั่ง เรียกว่า คาร์บอนซิงค์ สูงกว่าป่าทั่วไป 5 เท่า หากรวมคาร์บอนซิงค์ทางทะเล ทั้งแพลงตอนพืช หญ้าทะเล ปะการัง ดูดซับสูงกว่า 10 เท่างานวิจัยเป็นเรื่องสำคัญในระดับนานาชาติ  ปัจจุบัน 120 ประเทศทั่วโลกมีพื้นที่ป่าชายเลน รวม  9,500 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ที่อินโดนีเซีย องค์ความรู้และข้อมูลที่ได้จากการลงนามจะเป็นประโยชน์กับไทยและสากล .ดร.สนิท กล่าว

 

 

           นายโสภณ ทองดี อธิบดี ทช. กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดและยกระดับงานวิจัยด้านป่าชายเลน และสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านป่าชายเลนของโลกโดยมีสวนพฤษศาสตร์นานาชาติ ร.9 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ทช. เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ โดยการใช้งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนของประเทศไทย ให้เกิดการสร้างความรู้ความเข้าใจในระดับจีโนม พันธุกรรม และความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ ตลอดจนวิธีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในระยะยาว ให้เกิดการบริหารจัดการและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูในถิ่นกำเนิด ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยในระยะแรกมุ่งเป้าศึกษาพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่หายากใกล้สูญพันธุ์ตามบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (สิ้นสุดในปี 2565) โดยมีส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งมีศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 1-6 ของ ทช. เป็นหน่วยงานภาคสนาม ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนในฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน 24 จังหวัด ร่วมดำเนินการ ส่วนตัวเลขพื้นที่ป่าชายเลนของไทยจากการแปลภาพถ่ายอากาศของ GISDA พบว่า มี  1.7 ล้านไร่ และแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่าจะมีพื้นที่ 2 ล้านไร่ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า 

 

 

       ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สำหรับความสําคัญของงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน สวทช. ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน มุ่งเน้นการสร้างขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีในศูนย์แห่งชาติต่างๆ ทั้งด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ด้านโลหะและวัสดุศาสตร์ ด้านพลังงาน รวมทั้งด้านนาโนเทคโนโลยี นอกจากนั้น สวทช. ยังมีโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติ ได้แก่ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ และธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ซึ่งมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยการวิจัยแนวหน้าในระดับจีโนมและพันธุกรรม โปรตีนและการแสดงออกของยีน วิธีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมและชีววัสดุในระยะยาว

          “ ความร่วมมือของ ทช. และ สวทช. ครั้งนี้ สวทช. ยินดีที่มีโอกาสสร้างความร่วมมือกันศึกษาวิจัยพันธุ์ไม้ป่าชายเลน โดยเฉพาะชนิดที่มีการแพร่กระจายน้อย หายาก ใกล้สูญพันธุ์ ผลงานวิจัยมุ่งเป้าให้เกิดฐานข้อมูลจีโนมอ้างอิงของพืชป่าชายเลนเป็นครั้งแรกของประเทศไทย วิธีการอนุรักษ์พันธุกรรมในสภาพปลอดเชื้อระยะยาว ซึ่งจะนำไปสู่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ป่าชายเลน เกิดการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต สร้างความมั่นคงทางอาหารและทางระบบนิเวศให้กับป่าชายเลนในประเทศไทยคงความอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีรายได้ และเกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน “ ดร.ณรงค์ กล่าว

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"