ไพรินทร์ดัน“โครงการสะพานไทย” ติดเครื่องยนต์ลงทุนฟื้นเศรษฐกิจ


เพิ่มเพื่อน    

ตอนนี้การจะไปมุ่งพัฒนาโซนพื้นที่อีอีซีเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เพราะการพัฒนาไม่จำเป็นและไม่ได้จำกัดแค่อีอีซีเท่านั้น แต่การพัฒนาด้วยการกระจายความเจริญจากฝั่งตะวันออกไป ทั้งสินค้า คน พลังงาน ไปจนถึงการท่องเที่ยวที่เคยกระจุกตัวอยู่แค่ฝั่งพัทยาไปยังฝั่งหัวหินก็เป็นอีกแนวทางที่สามารถดำเนินการได้ ถือเป็นอีกโครงการที่จะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนให้ประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟู หลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทุกส่วนหยุดชะงัก

 

 

      ก่อนหน้านี้มีความกังวลมากมายเกี่ยวกับความคืบหน้าของ “โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)” สืบเนื่องจากการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลที่หลายฝ่ายวิตกว่าจะส่งผลกระทบกับการพัฒนาโครงการดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้วาดภาพชัดเจนว่า โครงการอีอีซี จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์ใหม่ในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

      จนในที่สุดรัฐบาลได้ออกมายืนยันชัดเจนว่า โครงการอีอีซี จะไม่มีหยุด หรือชะงักอย่างแน่นอน โดยการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในอีอีซีมีความคืบหน้าไปอย่างมาก เรื่องนี้มี “สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)” เป็นผู้รับผิดชอบติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน โดยหลายโครงการสำคัญได้มีการลงนามในสัญญาก่อสร้างไปเรียบร้อยแล้ว และทุกอย่างเดินหน้าได้ โดยไม่มีประเด็นอะไรต้องวิตกกังวล โดยหลายโครงการสำคัญๆ อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3, โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีความคืบหน้าไปอย่างมาก

      ในด้านการลงทุนนั้น ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ มูลค่าสูงถึง 1.58 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ จำนวน 9.87 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนของภาคเอกชนทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันดีว่า การเดินหน้าโครงการลงทุนสำคัญๆ ของประเทศไทยขณะนี้ จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว เป็นการเพิ่มศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทยในอนาคต

      แต่ไม่เพียงเท่านี้! ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้พิจารณาโครงการร่วมทุนก่อสร้าง “โครงการสะพานไทย” ซึ่งจะเป็นการเชื่อมการขนส่งคน สินค้า และพลังงาน คล้ายแลนด์บริดจ์เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งสินค้า และประชาชนข้ามอ่าวไทย โดยเบื้องต้นมีกำหนดทางเลือก 2 เส้นทาง คือ 1.ระหว่างแหลมฉบัง-เพชรบุรี และ 2.เส้นทางแหลมฉบัง-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 80-100 กิโลเมตร

      ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ในฐานะประธานกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) ระบุว่า ตอนนี้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญๆ หลายตัวหยุดชะงักเกือบหมด ที่เหลืออยู่ตัวเดียว คือ “การลงทุนภาครัฐ” ฉะนั้นเราจะให้เครื่องยนต์ตัวนี้หยุดไม่ได้

      และในขณะเดียวกันเราก็จะต้องไปจุดเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวอื่นๆ ให้กลับติดให้ได้ คือ “การลงทุนภาคเอกชน” และ “การท่องเที่ยว” จึงมีการเสนอให้อนุมัติโครงการลงทุนเร่งด่วนหลายโครงการ รวมแล้วประมาณ 20-30 โครงการ ซึ่งมีทั้งโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว และโครงการใหม่ๆ เช่น โครงการรถไฟรางคู่สายอีสาน จากเดิมที่จะสร้างถึงขอนแก่น แต่ได้มองเห็นถึงความสำคัญมากกว่าจะต้องเร่งก่อสร้างไปให้ถึงหนองคายโดยเร็ว

      “ที่ สปป.ลาว อีกหน่อยเราจะเจอคนจีนมากขึ้น ไม่ใช่แค่คนพื้นที่เท่านั้น ฉะนั้นตรงนี้จึงเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์ รถไฟรางคู่ของไทยจึงจำเป็นจะต้องไปเชื่อมกับรถไฟของจีนให้ได้ เพื่อเอาประโยชน์จากการขนส่งที่ในอนาคตจะทะลุผ่าน สปป. ลาวไปยังจีนให้ได้  ก็ได้บอกหน่วยงานที่รับผิดชอบไปว่าให้เร่งโครงการเหล่านี้ ติดขัดตรงไหน หรือติดอะไรให้บอก เพราะจะมีคณะกรรมการที่รับผิดชอบ ซึ่งมีสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ดูแลอยู่ ซึ่งผมได้สั่งการไปแล้วว่า โครงการลงทุนอะไรที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว และยังติดปัญหา ให้เร่งดำเนินการผ่านไปให้ได้โดยเร็วที่สุด”

        นั่นคือการเร่งรัดโครงการลงทุนสำคัญที่ได้มีการดำเนินการไว้อยู่แล้ว ส่วน โครงการสะพานไทย นั้นเป็นโครงการลงทุนใหม่ที่สำคัญ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 900,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ประชุม ศบศ. และที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ดอีอีซี ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธาน ได้มีการพิจารณาเห็นชอบในหลักการของโครงการแล้ว เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เนื่องจากเห็นว่าหากโครงการลงทุนนี้เกิดขึ้นได้จริง จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นการลงทุน เพราะจะเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างเอเชียตะวันออกและอาเซียน เป็นการเพิ่มทางเลือกในการขนส่งและเดินทาง ไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา

      “ไพรินทร์” ระบุว่า ยังไม่ได้มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าจะทำหรือไม่ทำโครงการนี้ เพราะต้องไปศึกษาอย่างละเอียดก่อน  แต่หากท้ายที่สุดรัฐบาลได้ข้อสรุปและตัดสินใจที่จะเดินหน้าโครงการสะพานไทยนี้ จะเป็นเรื่องที่ดีกับหลายส่วน ด้วยเพราะเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ และเป็นการก่อสร้างระยะยาว จำเป็นต้องใช้แรงงาน อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็ก จำนวนมาก ก็จะดึงวัตถุดิบจากในประเทศมาใช้ ก็จะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจได้ในระดับอีก

        อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้กับประเทศไทย เพราะจากข้อมูลของปี 2562 ที่ผ่านมา พบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวไทย โดยเฉพาะที่พัทยา จ.ชลบุรี 10 คน ตัดสินใจจะมาเที่ยวหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพียง 1 คนเท่านั้น แม้ว่าหัวหินจะมีศักยภาพทั้งด้านการเดินทาง เพราะมีสนามบินที่บินมาลงได้ มีธรรมชาติที่สวยงาม แต่นักท่องเที่ยวน้อยมากที่จะตัดสินใจมา โดยส่วนใหญ่ติดใจแสงสีและความบันเทิงที่พัทยามากกว่า ดังนั้นหากเราชูจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวแต่ละที่ที่มี และอำนวยความสะดวกในการเดินทางเพื่อให้นักท่องเที่ยวไปทั้งหัวหินและพัทยา ก็จะเป็นประโยชน์กับภาคการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในที่สุด

        โครงการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1 ปี เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญ และคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี

        ตอนนี้การจะไปมุ่งพัฒนาโซนพื้นที่อีอีซีเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เพราะการพัฒนาไม่จำเป็นและไม่ได้จำกัดแค่อีอีซีเท่านั้น แต่การพัฒนาด้วยการกระจายความเจริญจากฝั่งตะวันออกไป ทั้งสินค้า คน พลังงาน ไปจนถึงการท่องเที่ยวที่เคยกระจุกตัวอยู่แค่ฝั่งพัทยาไปยังฝั่งหัวหินก็เป็นอีกแนวทางที่สามารถดำเนินการได้ ถือเป็นอีกโครงการที่จะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนให้ประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟู หลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทุกส่วนหยุดชะงัก

        สำหรับหลักการของโครงการสะพานไทย ซึ่งเบื้องต้นกำหนดทางเลือก 2 เส้น คือ ระหว่างแหลมฉบัง-เพชรบุรี หรือเส้นทางแหลมฉบัง-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีระยะทาง ประมาณ 80-100 กิโลเมตร เพื่อที่จะเชื่อมโยงอีอีซีไปสู่เอสอีซี โดยการก่อสร้างทางรถยนต์มาตรฐาน 4 ช่องจราจร พร้อมไหล่ทางเชื่อมฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยตอนบน (เชื่อม จ.ชลบุรี และ จ.เพชรบุรี) ซึ่งจะช่วยให้สามารถประหยัดระยะเวลาเดินทางได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง  โดยจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และยังช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างภาคใต้และท่าเหลือแหลมฉบังอีกด้วย

        โดยในหลักการก่อสร้างคร่าวๆ มองว่าไม่ได้มีอะไรยาก เพราะตามข้อมูลพบว่า บริเวณดินปากแม่น้ำมีความลึกเพียง 20-30 เมตรเท่านั้น ไม่ใช่ 80-100 เมตร เหมาะมากในการทำทางให้รถยนต์วิ่งไปมา อีกทั้งไทยไม่ได้อยู่ในพื้นที่เขตแผ่นดินไหว จึงไม่น่าเป็นห่วงในเรื่องนี้ เป็นการลงทุนทำสะพานที่มีช่องทางจราจร โดยมีเกาะเทียมตรงกลางที่จะห่างจากฝั่งไปประมาณ 30 กิโลเมตรเชื่อมลงอุโมงค์ทั้งสองฝั่ง โดยช่วงที่เป็นอุโมงค์ก็จะเป็นร่องน้ำไว้ให้สำหรับเรือสัญจรผ่านไปมา และจะทำให้ไม่กระทบต่อประชาชนบริเวณปลายสะพานสองข้าง และไม่กระทบกับแนวปะการัง หรือธรรมชาติใกล้เคียงด้วย

        ไม่เพียงภารกิจในการขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ  เพื่อต่อยอดการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต แต่การเร่งแผนการลงทุนในปัจจุบันเพื่อช่วยขับเคลื่อนและแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ได้รับผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน “ไพรินทร์” ได้กำชับไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ใน 2 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.ให้รัฐวิสาหกิจทั้งหมดกลับมาใช้แผนการลงทุนเดิมเหมือนต้นปี  ก่อนที่จะมีคำสั่งให้มีการปรับลดงบลงทุนเพื่อมาช่วยแก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19 และ 2.ให้กลับมาใช้แผนงบประมาณในการจ้างแรงงานเหมือนช่วงต้นปีเช่นเดียวกัน

        ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้มีการปรับลดแผนการลงทุนลงเพื่อโยกเงินมาช่วยประเทศแก้วิกฤติดังกล่าว ซึ่งทุกหน่วยงานก็เร่งดำเนินการตามนโยบายนั้นทั้งหมด แต่ตอนนี้ประเทศมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุน เพื่อสร้างบรรยากาศของเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้า หลังประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี หลายประเทศทั่วโลกมองว่า ไทยรบชนะ (โควิด-19) ขณะที่เราเองกังวลว่าไทยจะแพ้สงคราม (วิกฤติเศรษฐกิจ) จากปัญหาการว่างงานเป็นจำนวนมาก หลังรัฐบาลออกมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดขึ้นเด็ดขาด ซึ่งก็ทำได้ดีในเรื่องนั้น แต่ในมุมของเศรษฐกิจกลับตรงกันข้าม

        “เราอาจจะเป็นต้องหันกลับมามองในมุมของเศรษฐกิจด้วยว่ามันคุ้มค่าหรือไม่กับมูลค่าเศรษฐกิจที่เสียไปจากมาตรการล็อกดาวน์ โดยในมุมของการควบคุมการแพร่ระบาดไทยทำได้ดี แต่ก็ลืมในมุมของเศรษฐกิจที่แลกมากับความสำเร็จนั้นไม่ได้ อย่างเรื่องการว่างงาน ปีนี้จะมีนักศึกษาจบใหม่กว่า 4 แสนคน รัฐบาลจะปล่อยให้เด็กเหล่านี้อยู่ในยุคของคนที่สิ้นหวังว่าทุกคนตกงานหมดเลยไม่ได้  เพราะนั่นจะทำให้เขาเกลียดสังคม และต่อต้านรัฐบาลในที่สุด ดังนั้นไม่เพียงการให้รัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการเรื่องการจ้างงานเท่านั้น แต่ที่ผ่านมารัฐบาลก็ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน” ไพรินทร์ ระบุ

        อย่างไรก็ดี คงมีคำถามที่ตามมาแน่นอนว่า “แล้วคุ้มค่าหรือไม่ที่รัฐบาลไทยจะทุ่มเม็ดเงินลงทุนมหาศาลถึง 900,000 ล้านบาท ไปกับโครงการสะพานไทย เพราะเชื่อว่าหลายฝ่ายคงพุ่งประเด็นไปที่เรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก  ดังนั้นจุดนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องตอบคำถามให้ชัดเจนว่า การลงทุนมูลค่ามหาศาลครั้งนี้ จะได้อะไรกลับมาอย่างเป็นรูปธรรม และจะก่อให้เกิดผลกับระบบเศรษฐกิจของประเทศในทิศทางไหน อย่างไร และประเทศไทยจะต้องใช้ระยะเวลาขนาดไหนถึงจุดคุ้มทุนจากเม็ดเงินลงทุนในโครงการนี้!


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"