ยื้อแก้ รธน. เสี่ยงนองเลือด


เพิ่มเพื่อน    

       การเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกรัฐสภาที่ร้อนแรงเวลานี้ หนึ่งในประเด็นข้อเรียกร้องที่กลุ่มคณะราษฎร 63 เคลื่อนไหวมาพร้อมๆ กับพรรคการเมือง-นักวิชาการลายภาคส่วน ก็คือ การเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐบาลและสมาชิกวุฒิสภา ถูกมองว่า ดึงเกมยื้อ เช่น การที่ทางที่ประชุมร่วมรัฐสภาไม่ยอมลงมติว่าจะรับหรือไม่รับร่างแก้ไข รธน.ทั้ง 6 ฉบับ เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา และมีการตั้งกรรมาธิการฯ ขึ้นมาศึกษาเรื่องดังกล่าว จนเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทำให้การเมืองนอกรัฐสภาร้อนแรงขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน

            ความคืบหน้าของเรื่องดังกล่าว ในส่วนของการทำงานของ คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก่อนรับหลักการ ทาง ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการฯ เปิดเผยไว้ว่า คณะ กมธ.จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ญัตติให้เสร็จภายในวันที่ 22 ต.ค.นี้ และจะส่งให้รัฐสภาได้ในวันที่ 26-27 ต.ค. เพื่อให้ประธานรัฐสภาบรรจุระเบียบวาระการประชุม และคาดว่าจะพิจารณาได้สัปดาห์หน้าหรือต้นเดือน พ.ย.

ชัยวุฒิ บอกว่า ในส่วนของความเห็นเรื่องการให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ความเห็นยังเป็น 2 แนวทาง คือ

1.สามารถทำได้โดยการตั้ง ส.ส.ร. และมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2.ยังทำไม่ได้ เพราะขัดต่อคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญในอดีตเมื่อปี 2555 ว่าการจะยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องทำประชามติก่อนจะมีการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงต้องให้สมาชิกรัฐสภาตัดสินใจในวันที่พิจารณารับหลักการอีกครั้ง

ทั้งนี้ ในช่วงการเปิดประชุมวิสามัญรัฐสภาในสัปดาห์หน้า การพิจารณาญัตติแก้ไข รธน.ของสมาชิกรัฐสภา จะไม่ถูกบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม แต่มีข่าวว่าวิปรัฐบาลจะเร่งให้เข้าสู่การพิจารณาอย่างเร่งด่วนหลังเปิดประชุมรัฐสภาอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 พ.ย.

ขณะที่ มุมมอง-ทัศนะจากนักวิชาการต่อเรื่องการแก้ไข รธน. ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล-รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2534-2535 ช่วงยุค รสช.-พฤษภา 35 ให้สัมภาษณ์กับ “ไทยโพสต์” ว่า สุดท้ายเชื่อว่า รธน.ปี 2560 ยังไงก็ต้องมีการแก้ไข เพราะผู้คนก็ไม่พอใจกับกติกาที่สร้างปัญหามากกว่าเดิม จะอ้างว่าผ่านประชามติอย่างเดียวฟังไม่ขึ้น เพราะตอนที่คนลงประชามติรับร่าง รธน. ซึ่งมี 60 เปอร์เซ็นต์นั้น ผมถามว่าใน 60 เปอร์เซ็นต์นั้นมีเกิน 10 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ ที่รับร่าง รธน.โดยไม่เปิดดู แต่ลงมติรับร่าง รธน.เพราะว่า อยากให้มีการเลือกตั้ง ต้องการให้บ้านเมืองเดินหน้าก่อน คือ รับไปก่อนแล้วค่อยมาแก้ทีหลัง ตอนนี้ผ่านมาสามปีเห็นปัญหาเยอะแล้ว ก็ถึงเวลาต้องแก้ไข รธน.2560

            ...อยากบอกรัฐบาลเวลานี้ว่า ในอดีตเราเคยเกิดเรื่องมาแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรม รัฐธรรมนูญที่เจ้าของประเทศเขารู้สึกว่าเลือกตั้งไปก็เท่านั้น เพราะสุดท้ายพวกท่านก็สืบทอดอำนาจอยู่ดี ความรู้สึกแบบนี้มันความรู้สึกแบบเดียวกันกับตอนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์พฤษภา 2535 กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

“หากไม่มีการแก้ไข รธน. มันมีโอกาสจะเดินไปสู่การเกิดเหตุการณ์ที่เราจะขัดแย้งกันจนถึงขั้นต้องมาสูญเสียเลือดเนื้อกันอีก ดังนั้นเราต้องหลีกเลี่ยง”

ดร.ปริญญา ย้ำว่ารัฐธรรมนูญ ปี 2560 หากไม่เขียนให้มีการสืบทอดอำนาจ ก็ไม่มีการประท้วงหรือต่อให้รัฐธรรมนูญเขียนออกมาอย่างที่เห็น แต่ คสช.ไม่เป็นรัฐบาลต่อหลังเลือกตั้ง ก็ไม่มีการประท้วงหรือถ้าปล่อยให้มีการสู้กันไปตามกระบวนการในรัฐสภาไม่ไปยุบพรรคการเมืองที่มีคนเขาเลือก การประท้วงอย่างตอนนี้ก็คงไม่เกิด เหตุในการยุบพรรคที่เป็นเรื่องการกู้เงินก็ฟังไม่ค่อยขึ้นทำให้เกิดแฟลชม็อบไปแทบทุกมหาวิทยาลัยแล้วก็กลายเป็นม็อบที่ตอนนี้ไม่แฟลชแล้ว คือเริ่มม็อบยาวๆ กันแล้ว

...หากถอยหลังกลับไปดูจะเห็นว่า คสช.ตัดสินใจผิดพลาดหลายครั้ง ตอนนี้ทางแก้ก็ยังไม่สายเกินไป แต่จะยืดเยื้อไปเรื่อยไม่ได้ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยื้อด้วยการตั้ง กมธฯ มาศึกษา คนเขาก็เห็นกันว่าเป็นการซื้อเวลา แต่เวลาไม่มีให้ซื้อแล้วครับ รัฐธรรมนูญต้องแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องอำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ เรื่องนี้ยอมตัดทิ้งไปเถอะ เรื่องการยกร่าง รธน.ฉบับใหม่ ยังไงก็หนีไม่พ้น สิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นคือปล่อยให้นองเลือดก่อนแล้วค่อยมาร่างใหม่ เรารู้อยู่แล้วว่าหากเหตุการณ์มันเขม็งตรึงไปเรื่อยๆ มันจะเกิดอะไรขึ้น เราก็ควรถอดชนวนออกไป เราน่าจะฉลาดพอที่จะไม่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบอดีตเกิดขึ้นอีก

“การแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือต้องไปแก้ที่ต้นเหตุคือการสืบทอดอำนาจของ คสช. และรัฐธรรมนูญ 2560 ดังนั้นอย่าไปยื้อ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังไงก็ต้องมีการร่าง รธน.ใหม่ขึ้นมาแทน อย่าปล่อยให้ต้องมีการนองเลือดกันก่อน ควรทำเสียก่อนจะได้ไม่ต้องนองเลือดเป็นเสียงเตือนทิ้งท้ายจากอดีตแกนนำนักศึกษาช่วงพฤษภา 35. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"