มะเร็งเต้านม รู้ไว หายทัน กำลังใจยิ่งใหญ่ช่วยผู้ป่วย


เพิ่มเพื่อน    

    "มะเร็งเต้านม” เป็นโรคร้ายที่มีอุบัติการณ์สูงและคร่าชีวิตหญิงทั่วโลกเป็นอันดับหนึ่ง เฉลี่ย 1 ใน 8 คนของประชากรเพศหญิง ปีละ 1.6 ล้านคน เสียชีวิต 500,000 คน ดังนั้นในเดือนตุลาคมของทุกปี ทั่วโลกจึงยกให้เป็นเดือนแห่งการต่อต้านมะเร็งเต้านม และด้วยเหตุนี้ทางสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยจึงจัดงาน “มะเร็งเต้านม รู้ไว หายทัน : Pink Alert - Check & Share Project 2020" เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ "มะเร็งเต้านม 
    พล.ท.รศ.นพ.วิชัย วาสนสิริ นายกสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย หัวหน้าศูนย์มะเร็งเต้านม รพ.จุฬาภรณ์ และที่ปรึกษาหน่วยศัลยศาสตร์มะเร็ง รพ.พระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า ทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันมะเร็งเต้านม แม้สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมจะยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมีด้วยกันหลายประการ เช่น อายุ เมื่ออายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ก็ยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะพบมะเร็งเต้านม, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันสัตว์สูงและเนื้อแดง ซึ่งเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งเต้านม, ระยะเวลาที่ร่างกายสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน กล่าวคือ ในผู้หญิงที่เริ่มมีรอบเดือนตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้, ผู้หญิงที่ไม่มีบุตร, มารดาที่มีบุตรคนแรกหลังอายุได้ 30 ปี, มารดาที่ไม่ได้ให้นมบุตรด้วยตนเอง, ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ญาติสายตรง เช่น แม่ หรือพี่น้อง มีประวัติเต้านมก่อนอายุ 40 ปี ความเสี่ยงที่จะพบมะเร็งเต้านมก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย


    นอกจากนี้ ผู้ชายเองก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ โดยในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 100 คน จะเป็นผู้ชายประมาณ 1 คน หรือเทียบเท่ากับประมาณ 1% สำหรับสาเหตุและอาการของโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายก็จะคล้ายกับมะเร็งเต้านมในผู้หญิง กล่าวคือ จะพบก้อนแข็งหรือนูนบริเวณหน้าอก อาจมีอาการบวมปวดหรือกดเจ็บร่วมด้วย อาการในผู้ชายสังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจนกว่าในผู้หญิง เพราะเต้านมของผู้ชายมีลักษณะแบนราบกว่าและไขมันน้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตาม การที่เนื้อหน้าอกผู้ชายมีชั้นไขมันบาง มะเร็งเต้านมในผู้ชายจึงลุกลามไปยังผนังหน้าอกได้รวดเร็วและอันตรายกว่ามะเร็งเต้านมที่พบในผู้หญิง กล่าวโดยสรุปก็คือ ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ด้วยเหตุนี้สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยจึงเชิญชวนให้ผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    ภายในงาน “มะเร็งเต้านม รู้ไว หายทัน : Pink Alert - Check & Share Project 2020” ยังมีศิลปิน ดารา และคนดัง ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อสร้างกำลังใจดีๆ ให้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล คุณธัญญ่า-ธัญญาเรศ เองตระกูล กล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนของผู้หญิงวัยที่ต้องดูแลสุขภาพและครอบครัว โดยส่วนตัวเชื่อว่าพอเริ่มโต วัยประมาณ 25 ปีขึ้นไป ควรดูแลสุขภาพและเริ่มตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพราะโรคร้ายไม่มีใครรู้ว่าจะมาเยือนเมื่อไหร่ จึงอยากแนะนำผู้หญิงทุกคนและผู้ชายตรวจมะเร็ง ดิฉันเองก็มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม ได้แก่ คุณย่าและคุณยาย เลยทำให้รู้สึกว่าโรคมะเร็งเต้านมไม่ใช่เรื่องไกลตัว ธัญญ่าได้มีโอกาสพูดคุยกับอดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มาร่วมงาน Pink Alert - Check & Share Project ทำให้เห็นว่าโรคนี้เมื่อเป็นแล้ว รักษาให้หายแล้ว ยอมรับว่าทุกคนเก่งมากและกำลังใจจากคนรอบข้างถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด”
    คุณเจี๊ยบ-นงลักษณ์ ชัยฤทธิไชย อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อสู้กับโรคมะเร็งเต้านมนานกว่า 2 ปีจนหายขาด เพื่อส่งต่อกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและญาติผู้ดูแล “โดยส่วนตัวมองว่าทุกอย่างถ้าเราได้เริ่มลงมือทำแล้ว ย่อมไม่มีคำว่ายาก ไม่ว่าเรื่องดังกล่าวจะหมายถึงการรักษาโรคมะเร็งหรือการเล่นสเกตบอร์ดก็ตาม ในกรณีของโรคมะเร็ง พอตรวจพบว่าเป็นแล้ว เราก็เดินหน้ารักษาด้วยความเชื่อมั่นในตัวคุณหมอ คุณหมอแนะนำให้ปฏิบัติตัวอย่างไรก็ทำตามหมดเลย ตอนนั้นคิดอยู่เพียงอย่างเดียวว่าต้องไม่ตาย ต้องหาย เราวางเป้าหมายไว้ชัดเจนมากๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่ว่าจะหนักหนาสาหัสแค่ไหน เราจะต้องผ่านมันไปให้ได้ ทั้งผ่าตัด เคมีบำบัด ฉายแสง เพราะถ้าตัวเรายอมแพ้ยกธงขาวตั้งแต่แรกเริ่ม ก็คงไม่มีตัวเราอย่างในทุกวันนี้ การเล่นสเกตบอร์ดก็เหมือนกัน ทุกวันนี้เราเล่นมันมาเกือบ 8 ปีแล้ว อยู่กับสเกตบอร์ดจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันไปแล้ว ในที่สุดยังได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในนักกีฬาลองบอร์ดดาวน์ฮิลล์ทีมชาติไทยอีกด้วย”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"